เอปสัน เปิดตัว “หุ่นยนต์ไฮเทค” รับหมากกระดานใหม่ของไทย สู่อุตสาหกรรมศักยภาพสูง
เปิดตัวหุ่นยนต์ไฮเทค Epson “T-B Series” SCARA Robot ไฮไลต์จากงาน METALEX March 2022 ส่งสัญญาณรับหมากกระดานใหม่ของไทย สู่อุตสาหกรรมศักยภาพสูง
นายยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด ให้สัมภาษณ์แบบกะเทาะเปลือก ในฐานะผู้เล่นหลักของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยที่กำลังมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศสู่ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมศักยภาพสูง
“เอปสัน” และ “แขนกลหุ่นยนต์” เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
หากเอ่ยถึง Epson เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงเครื่องปริ้นเตอร์เป็นส่วนใหญ่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว Epson เป็นหนึ่งในผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงระดับแนวหน้า ซึ่งอยู่ในวงการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาแล้วเป็นเวลากว่า 39 ปี และได้รับการยอมรับในฐานะหุ่นยนต์ที่แม่นยำและเสถียรสูง ทำให้ Epson ขึ้นเป็นผู้นำด้าน SCARA Robot อันดับ 1 ของโลกมาตั้งแต่ปี 2011
ในช่วงเริ่มแรก เอปสันผลิต SCARA Robot ขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบนาฬิกาข้อมือของ Seiko Epson ซึ่งกระบวนการผลิตนาฬิกานั้นต้องการความแม่นยำเป็นอย่างมาก และจากประสบการณ์ที่ยาวนานในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำสูง กะทัดรัด ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ หุ่นยนต์เอปสันจึงได้ต่อยอดสู่หุ่นยนต์สำหรับภาคอุตสาหกรรม ที่มีรูปทรงเพียวบาง น้ำหนักเบา ในหลากหลายรุ่น มีการใช้หุ่นยนต์เอปสันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในสายการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กรอนิกส์ซึ่งเป็นลูกค้ากลุ่มหลัก ไปจนถึงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องมือแพทย์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ต้องการความแม่นยำ ซึ่งหุ่นยนต์ของเอปสันมีความแม่นยำมากถึง 10 ไมครอนด้วยกัน
นอกเหนือจากความโดดเด่นด้านเทคโนโลยีประมวลผลด้วยภาพ (Vision technology) เทคโนโลยีตรวจจับแรงกระทำ (Sensing technology) และเทคโนโลยีควบคุมการสั่นสะเทือน (Vibration control technology) ของหุ่นยนต์เอปสันที่ได้รับการยอมรับแล้ว Epson Robot ยังได้รับความน่าเชื่อถือขึ้นไปอีกขั้น ในด้านความเร็ว ความแม่นยำ และประสิทธิผลในกระบวนการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งสายการผลิตอัตโนมัติที่มีผลผลิตสูงในโรงงานต่าง ๆ ทั่วโลกได้มีแรงงานหุ่นยนต์เอปสันร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จเหล่านี้
โดยสายการผลิตแบบอัตโนมัติขั้นสูงสุดนั้น การมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายระยะยาว หรือ TCO ต่ำ ในขณะที่ความน่าเชื่อถือสูงนั้นเป็นสองปัจจัยสำคัญที่มีอยู่ใน Epson Robots ซึ่งให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพสูง และการทำงานที่ง่ายจากซอฟต์แวร์ที่บูรณาการการทำงานร่วมกัน
เอปสัน เปิดตัว หุ่นยนต์ไฮเทค “T-B Series” SCARA Robot ไฮไลต์จากงาน METALEX March 2022
สำหรับงาน METALEX March 2022 เอปสันนำทัพหุ่นยนต์และโซลูชันระบบอัตโนมัติมาจัดแสดงแบบจัดเต็ม ซึ่งไฮไลท์สำคัญคือ “T-B Series” SCARA Robot รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ SCARA แบบ 4 แกนที่ใช้งานง่าย ขนาดกะทัดรัด มาพร้อมคอนโทรลเลอร์แบบบิลท์อิน ราคาประหยัดจึงสามารถซื้อได้ในงบประมาณที่จำกัด ใช้พลังงานต่ำ และมีต้นทุนดำเนินงานต่ำ เหมาะสำหรับทั้งผู้ใช้โรบอทมือใหม่และผู้ใช้ที่มีความชำนาญ
Epson T-3B SCARA Robot
Epson T-B Series SCARA Robot ติดตั้งคอนโทรลเลอร์แบบบิลท์อิน ลดพื้นที่ในการติดตั้งและไม่ต้องเดินสายไฟให้ยุ่งยาก ช่วยให้การติดตั้งโรบอททำได้ง่าย โดย T-B Series มีประสิทธิภาพในด้านความเร็วและการเข้าถึงตำแหน่งที่มีความเสถียรภาพมากขึ้นกว่าเดิมถึง 7% เมื่อเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์ SCARA ของเอปสันในรุ่นดั้งเดิม
สำหรับมอเตอร์นั้นเป็นแบบไร้แบตเตอรี่ซึ่งจะเก็บข้อมูลตำแหน่งของจุดเริ่มต้นไว้ในหน่วยความจำ ไม่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ ลดต้นทุนการทำงาน และลดดาวน์ไทม์ของสายการผลิต ช่วยให้ต้นทุนการทำงานของหุ่นยนต์โดยรวมต่ำลง T-B Series จึงเป็นหุ่นยนต์ราคาประหยัดและคุ้มค่า เหมาะสำหรับการทำงานอัตโนมัติแบบแมนนวล รวมถึงนำไปทดแทนการติดตั้งไลน์อัตโนมัติที่ใช้หุ่นยนต์แกนเดียวหรือหลายแกนจำนวนมากที่มีความยุ่งยากในการติดตั้งและบำรุงรักษา
หุ่นยนต์ SCARA รุ่น T-B Series จาก Epson นับเป็นตัวเลือกแรกที่จะต้องพิจารณาสำหรับงานประเภท Pick-and-Place ทำให้การทำงานแมนนวลแบบอัตโนมัติเป็นเรื่องง่ายในราคาประหยัดอย่างแท้จริง การติดตั้งและบำรุงรักษาทำได้ง่าย และให้ประสิทธิภาพการทำงานสูง ซึ่งช่วยประหยัดเงินในทุกครั้งที่ใช้งาน
ปัจจุบัน T-B Series มีสองรุ่น คือ T-3B รองรับน้ำหนัก 3 กิโลกรัม สำหรับชิ้นงานขนาดเล็ก และ T-6B รองรับน้ำหนัก 6 กิโลกรัม สำหรับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากขึ้น
Epson SCARA Robot อันดับ 1 พร้อมเคียงข้างผู้ประกอบการไทย สู่อุตสาหกรรมศักยภาพสูง
นายยรรยง เปิดเผยว่า ตลาดหุ่นยนต์แขนกลในไทยและทั่วโลกเติบโตดีมาโดยตลอด เนื่องจากหุ่นยนต์แขนกลสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงาน มีความแม่นยำสูง ทำให้สามารถควบคุณภาพได้ อีกทั้งใช้ทำงานทดแทนกับแรงงานซึ่งมีค่าแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 ปีมานี้ การระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้โรงงานที่มีพนักงานจำนวนมากมีการแพร่กระจายของเชื้อโรค จนเกิดการระบาดแบบเป็นคลัสเตอร์ ทำให้การผลิตต้องหยุดชะงักลง ด้วยเหตุนี้เอง หุ่นยนต์แขนกลจึงถูกนำมาใช้งานเพื่อลดความเสี่ยง ใช้แรงงานลดลง แต่ยังได้ประสิทธิภาพในการทำงานที่เท่าเดิม ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เองที่ทำให้ตลาดหุ่นยนต์แขนกลเติบโตอย่างแข็งแรงในช่วงปีที่ผ่านมา และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียนแล้ว บริษัทข้ามชาติจำนวนมากที่เข้ามาลงทุนในไทยส่วนใหญ่แล้วเป็นโรงงานที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในสายการผลิต ทำให้ตลาดหุ่นยนต์แขนกลในไทยเติบโตมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
นอกจากนี้ นโยบายสนับสนุนของรัฐบาลไทยทั้งด้านการส่งเสริมลงทุน สิทธิประโยชน์ด้านภาษี และส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร ล้วนมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยเติบโตอย่างมาก สิ่งที่จะเป็นโอกาสในระยะถัดไป คือการผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพสูง หรือ New S-Curve ที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งในบางเซกเตอร์ก็เห็นความคืบหน้าที่เป็นรูปเป็นร่างชัดเจนอย่างเช่น รถยนต์ไฟฟ้า และอีกอุตสาหกรรมที่เชื่อว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาเพิ่มคือ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการสูงจากการเติบโตของอุปกรณ์ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ยานยนต์ สมาร์ทโฟน เครื่องจักร และอุปกรณ์อื่นมากมาย
เทรนด์เหล่านี้จะทำให้ตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเติบโตอย่างมั่นคง โดยเฉพาะหุ่นยนต์ที่มีความแม่นยำสูง และแน่นอนว่าในโอกาสทางธุรกิจที่ดีแบบนี้จะทำให้ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้นในการคัดสรรเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในสายการผลิต เพื่อให้ธุรกิจยืนอยู่ในจุดที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าได้ ซึ่ง Epson Robot เองก็มั่นใจว่า จะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับสายการผลิตอัตโนมัติในทุกระดับ เพราะนอกจากความแข็งแกร่งของหุ่นยนต์เอปสันเองแล้ว ในด้านการให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงบริการและการดูแลหลังการขายก็เป็นสิ่งสำคัญที่เอปสันทำมาอย่างต่อเนื่อง โดยมี Epson Roboics Lab ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำแบบจำลองของโซลูชันอัตโนมัติที่ออกแบบเสนอให้กับลูกค้าได้เห็นจริงก่อนจะตัดสินใจลงทุน นอกจากนี้ เอปสันมีการทำงานร่วมกับ System Integrator (SI) ที่จะทำให้การออกแบบระบบการผลิตอัตโนมัติทำงานได้โดยสมบูรณ์ มีดาวน์ไทม์ต่ำ TCO ต่ำ
อย่างไรก็ตาม แม้หุ่นยนต์จะสามารถทำงานทดแทนคนได้ แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด การลงทุนหุ่นยนต์และการพัฒนาบุคลากรควรจะเดินหน้าควบคู่ไปด้วยกันจึงจะได้ผลดีกว่า โดยใช้หุ่นยนต์ในการทำงานซ้ำ ๆ หรืองานที่มีอันตราย และใช้คนในการทำงานที่ต้องการทักษะสูงกว่า
สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่แน่ใจว่าจะปรับเปลี่ยนการผลิตสู่ระบบอัตโนมัติหรือไม่ และทำอย่างไรนั้น มีคำแนะนำว่า ต้องเริ่มจากการมองเห็นปัญหาเสียก่อน เนื่องจากแต่ละโรงงานมีปัญหาต่างกัน และไม่มีสูตรตายตัวว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ดังนั้น เมื่อเล็งเห็นปัญหาแล้วก็จะสามารถนำมาสู่การออกแบบระบบอัตโนมัติและเลือกใช้หุ่นยนต์ที่เหมาะสมกับโรงงานของตนได้ดีกว่า เนื่องจากการลงทุนหุ่นยนต์มีค่าใช้จ่ายและเป็นการลงทุนระยะยาว ทำให้ขั้นตอนการตัดสินใจลงทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถรับชมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของหุ่นยนต์เอปสันได้ที่ Epson Virtual Solution Center
ชมคลิป Epson Robotics Innovation คลิก