"Sumitomo Bakelite" ปั้นเรซินเป็นดาวรุ่งชิ้นส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

“Sumitomo Bakelite” ปั้นเรซินเป็นดาวรุ่งชิ้นส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า

อัปเดตล่าสุด 25 เม.ย. 2567
  • Share :
  • 6,515 Reads   

Sumitomo Bakelite เสนอแนวคิดใหม่ในการใช้เรซินสำหรับชิ้นส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มระยะทางของรถอีวี เน้นความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งานในระยะยาว เล็งตลาดผู้ผลิตแบตเตอรี่และผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

ญี่ปุ่น 5 เม.ย. 67 บริษัท Sumitomo Bakelite เดินหน้าเสนอเรซินสำหรับชิ้นส่วนแบตเตอรี่รถยนต์ โดยได้พัฒนาสูตรเรซินเทอร์โมเซตติ้ง (thermosetting resin) สำหรับชิ้นส่วนโมดูล ฝาครอบ ถาด ฯลฯ วางแผนทำตลาดหลักกับผู้ผลิตแบตเตอรี่และผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตั้งเป้าหมายให้มีการนำไปใช้ในตลาดดังกล่าวภายในปีงบประมาณ 2567

ในส่วนของรถยนต์ไฟฟ้า เรซินเป็นวัสดุที่น่าสนใจเนื่องจากมีน้ำหนักเบา ขึ้นรูปง่าย ส่งผลต่อการเพิ่มระยะทางวิ่ง บริษัทฯ มุ่งหวังตอบสนองความต้องการด้านยานยนต์ไฟฟ้าด้วยการพัฒนาวัสดุขึ้นรูปที่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของเรซินเทอร์โมเซตติ้ง เช่น ทนความร้อนสูงและแข็งแรง

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท Sumitomo Bakelite ได้นำชิ้นส่วนบางอย่างจากผู้ผลิตจีนมาประยุกต์ใช้ ด้วยการใช้เรซินฟีนอล (phenol resin) และไดอัลลิล ฟทาเลท เรซิน (diallyl phthalate resin) สำหรับชิ้นส่วน ทำให้สามารถใช้งานแบตเตอรี่แรงดันไฟฟ้าสูง 800 โวลต์ภายในรถยนต์ ปลอดภัยด้วยการป้องกันการเสียรูปทรงกรณีเกิดการลุกไหม้หรือผิดปกติ นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ

ในโมดูลแบตเตอรี่ การรวมกันของบัสบาร์ เซนเซอร์ และช่องระบายความร้อนมีส่วนช่วยลดเวลาประกอบ นอกจากนี้เพื่อป้องกัน Thermal runaway ใน inter-cell units โดยบริษัทเสนอโครงสร้างใหม่เช่นการรวมเซลล์หลายเซลล์เข้าไปในโครงสร้างที่ทำด้วยแผ่นเรซินทนไฟ ชุดของโซลูชันที่ใช้วัสดุเรซินเทอร์โมเซตติ้งสามารถช่วยเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานและอายุการใช้งานที่ยาวนาน

สถาบันวิจัย Yano Research คาดการณ์ตลาดโลกแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์ จะขยายตัวเป็นประมาณ 1,000 กิกะวัตต์ชั่วโมง

ด้านสถาบันวิจัย Yano Research ในกรุงโตเกียว คาดการณ์ว่าตลาดแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสำหรับยานยนต์โลกจะขยายตัวเป็นประมาณ 1,000 กิกะวัตต์ชั่วโมง ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 622 กิกะวัตต์ชั่วโมงในปี 2565 นอกจากนี้ เนื่องจากความต้องการในด้านประสิทธิภาพการชาร์จไฟอย่างรวดเร็วและการประหยัดพื้นที่ คาดว่าในอนาคตแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจะเปลี่ยนจากระดับ 400 โวลต์ในปัจจุบันไปเป็น 800 โวลต์ การเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้เกิดความต้องการวัสดุที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับแรงดันไฟฟ้าสูงขึ้น

#SumitomoBakelite #InnovationInEVBatteries #แบตเตอรี่อีวี #ElectricVehicles #รถยนต์ไฟฟ้า #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม
 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH