สภาอุตสาหกรรม ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป้าผลิตยานยนต์ไทย ปี 2567 ไทยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ ปรับเป้าผลิตรถยนต์ ประมาณการผลิตรถยนต์ 2567

ไทยตั้งเป้าปี 2567 ผลิตรถยนต์ 1.9 ล้านคัน

อัปเดตล่าสุด 29 ม.ค. 2567
  • Share :
  • 16,471 Reads   

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า ทางสมาชิกกลุ่มฯ ได้ตั้งเป้าประมาณการตัวเลขการผลิตรถยนต์ตลอดทั้งปี 2567 ที่จำนวน 1,900,000 คัน เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเล็กน้อย 

Advertisement

รถยนต์

ปี 2567 ไทยประมาณการการผลิตรถยนต์ จำนวน 1,900,000 คัน มากกว่าปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 1,841,663 คัน เพิ่มขึ้น 3.17% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,150,000 คัน เท่ากับ 65% ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 750,000 คัน เท่ากับ 35% ของยอดการผลิตทั้งหมด

เป้าผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก จำนวน 1,150,000 คัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,156,035 คัน ลดลง 0.52% 

ปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้ 

  • ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะซึ่งขนส่งสินค้าและคนเพื่อส่งออกไปทั่วโลกกว่าหนึ่งร้อยประเทศจึงอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากจากเศรษฐกิจชะลอตัว
  • ประเทศจีนเปิดประเทศซึ่งอาจส่งผลให้การค้าโลกและการท่องเที่ยวเติบโตเป็นผลดีต่อการส่งออกของหลายประเทศดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศไทย
  • การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลงมากส่งผลให้การผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น
  • การลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอาจมีการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้า
  • คำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้า สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC
  • อัตราดอกเบี้ยอาจอยู่ในช่วงขาลงทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้น

ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้

  • การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและการเพิ่มขึ้นใหม่ซึ่งจะ ส่งผลต่อการส่งออกลดลงและเงินเฟ้ออาจสูงขึ้น
  • ตลาดทั้งในและต่างประเทศเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในสินค้าประเภทเดียวกัน และคู่แข่งเกิดขึ้นในภูมิภาคเพิ่มขึ้น 
  • นโยบายของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เช่น การขึ้นภาษีสรรพสามิตในรถยนต์บางประเภทในลาว

เป้าผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 685,628 คัน เพิ่มขึ้น 9.39% โดยมีปัจจัย ดังนี้ต่อไปนี้

ปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้ 

  • การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาไทย ทำให้เกิดการเชื่อมโยง Supply Chain ของอุตสาหกรรม 
  • ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกจากกฎระเบียบและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
  • เริ่มมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้

  • หนี้ครัวเรือน​สูง​ หนี้​สาธารณะ​สูง ค่าครองชีพ​สูง​ อัตราดอกเบี้ย​สูง​ ส่งผล​กระทบ​ต่อ​อำนาจ​ซื้อ​ของ​ประชาชน​ลดลง ทำให้​ยอด​ขาย​อุตสาหกรรม​อสังหาริมทรัพย์​ อุตสาหกรรม​ยานยนต์​ซึ่ง​มีsupply chain ​หลาย​อุตสาหกรรม​ชะลอ​ตัวลง ส่งผล​ต่อ​การ​จ้างงาน​ ทำให้รายได้​คนงาน​ก่อสร้าง​และ​โรงงาน​ลดลง
  • งบประมาณ​รายจ่าย​ประจำปี​2567 ล่าช้า​ออก​ไป​ราวแปดเดือนทำให้​การลงทุนและ​การ​กระตุ้น​เศรษฐกิจ​ล่า​ช้าออกไปด้วย​ ส่งผล​ให้การลงทุน​การจ้างงานของเอกชน​ล่าช้าออกไป เศรษฐกิจ​จึงเติบโต​ใน​ระดับต่ำ
  • ภัยธรรมชาติ​ที่​คาด​ไม่ถึง อาจ​จะ​กระทบ​ต่อ​ผลผลิต​และ​รายได้เกษตรกร
  • ความ​ขัดแยัง​ระหว่าง​ประเทศ​อาจ​ขยาย​ตัว​และ​เพิ่มขึ้น​หลาย​พื้นที่​จะ​ส่ง​ผล​ให้​ราคาพลังงาน​ ​สินค้า​ และ​วัตถุ​ดิบสูงขึ้น
  • การ​ส่งออก​สินค้า​ต่าง​ๆ​ ใน​ปี​นี่​อาจ​ลดลง​จาก​เศรษฐกิจ​โลก​ชะลอตัว​ลง​ส่งผล​การ​ผลิต​การ​ลงทุนการจ้างงาน​ลดลง อำนาจ​ซื้อ​ลดลง

รถจักรยานยนต์

ปี 2567 ไทยประมาณการการผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 2,120,000 คัน น้อยกว่าปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 738 คัน ลดลง 0.03% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 420,000 คัน เท่ากับ 19.81% ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 1,700,000 คัน เท่ากับ 80.19% ของยอดการผลิตทั้งหมด

  • ผลิตเพื่อการส่งออก จำนวน 420,000 คัน ลดลง 10.73% จากปีที่แล้ว
  • ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 1,700,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.01% จากปีที่แล้วที่

 

สภาอุตสาหกรรม ตั้งเป้าผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เป้าผลิตยานยนต์ไทย ปี 2567 ไทยตั้งเป้าผลิตรถยนต์ ปรับเป้าผลิตรถยนต์ ประมาณการผลิตรถยนต์ 2567

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH