วิเคราะห์ทิศทาง 15 อุตสาหกรรมไทยปี 2020

อัปเดตล่าสุด 1 ม.ค. 2563
  • Share :
  • 3,888 Reads   

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เผยผลวิเคราะห์ทิศทาง 15 อุตสาหกรรมไทยในปี 2563 อุตสาหกรรมใดฟื้นตัว อุตสาหกรรมใดทรงตัว และอุตสาหกรรมใดยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรับทราบสถานการณ์ ประเมินการตั้งรับและวางแผนเชิงรุกสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมต่อไป


อุตสาหกรรมฟื้นตัว

  • ยานยนต์ ตลาดรถยนต์น่าจะฟื้นตัวได้ในปี 2563 จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แต่ยังคงต้องติดตามสถานการณ์สงครามการค้าและค่าเงินบาท
  • ปิโตรเคมี ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากปี 2562 โดยคาดว่า จีนและสหรัฐฯ จะบรรลุข้อตกลงในการเจรจาการค้าระยะที่ 1 และมาตรการควบคุมปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปก จะรักษาระดับราคาน้ำมันให้ไม่ต่ำลงมากนัก
  • อัญมณีและเครื่องประดับ มีแนวโน้มดี โดยเฉพาะสินค้าอัญมณีในตลาดอินเดียและสหรัฐฯ รวมถึงทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปในตลาดสวิตเซอร์แลนด์ สิงคโปร์ และออสเตรเลีย
  • อาหาร การส่งออกอาหารจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 2 แต่ยังคงมีความเสี่ยงเรื่องการแข่งขันของตลาดน้ำตาลที่มีสูง เงินบาทแข็งค่า โรคปศุสัตว์
  • เครื่องสำอาง ยังเติบโตจากแนวโน้มที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและความงาม ประกอบกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
  • เฟอร์นิเจอร์ มีโอกาสในการส่งออกไปตลาด CLMV และขยายตัวตามโครงการอสังหาริมทรัพย์ในเขต EEC อีกทั้งการปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในจังหวัดรองมากขึ้น
  • ปูนซีเมนต์ มีแนวโน้มที่ดี จากการเร่งดำเนินโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการพัฒนาพื้นที่ EEC ประกอบกับความต้องการของตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มเติม

 


 

อุตสาหกรรมทรงตัว

  • ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม ยังเผชิญกับความไม่แน่นอนของภาวะสงครามการค้า เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการแข็งค่าของเงินบาท
  • ผลิตภัณฑ์พลาสติก แนวโน้มทรงตัวจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ปัญหาส่งครามการค้า ความผันผวนของราคาน้ำมัน การแข็งค่าของเงินบาท และกระแสการรณรงค์ให้ลดการใช้พลาสติก
  • ชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ มีความกังวลต่อการเปลี่ยนจากการใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในไปเป็นรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้การใช้ชิ้นส่วนยานยนต์ลดลงกว่า 3,000 ชิ้น
  • สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม น่าจะยังคงทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2562 จากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจคู่ค้า และการแข็งค่าของเงินบาท
  • ผลิตภัณฑ์ยาง ยังเผชิญกับภาวะสงครามการค้า และปริมาณความต้องการให้ยางโลกชะลอตัว การแข็งค่าของเงินบาท ราคายางที่มีความผันผวนและเปราะบางสูง

 

อุตสาหกรรมชะลอตัว

  • เหล็ก จะชะลอลงตามความต้องการใช้เหล็กของโลก การแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมจากต่างประเทศ และการชะลอตัวของอุตสหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • เคมีภัณฑ์ ชะลอตัวต่อเนื่องจากความไม่แน่นอนของสงครามการค้า เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง
  • ผลิตภัณฑ์หนัง เผชิญความท้าทายของสงครามการค้า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว ความผันผวนของค่าเงินบาท กำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลง แต่ผู้ประกอบการได้ประโยชน์จากต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง

ขอบคุณข้อมูลจาก : ฝ่ายเศรษฐกิจและวิชาการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย