มิตซูบิชิ มอเตอร์ส รายงานผลการดำเนินงาน 3 ไตรมาส ปีงบประมาณ 2561
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ประกาศผลการดำเนินงานในระยะเวลา 3 ไตรมาสของปีงบประมาณ 2561 (1 เมษายน– 31 ธันวาคม 2561) ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานที่สำคัญในระยะเวลา 3 ไตรมาสของปีงบประมาณ 2561
ยอดจำหน่ายสุทธิของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในระยะเวลา 9 เดือน ปีงบประมาณ 2561 คิดเป็นมูลค่า 1,794,100 ล้านเยน (ประมาณ 5.11 แสนล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ผลกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก 64,600 ล้านเยน (ประมาณ 18,400 ล้านบาท) ขึ้นมาอยู่ที่ 85,000 ล้านเยน (ประมาณ 24,200 ล้านบาท) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2560 และมีรายได้สุทธิ 69,200 ล้านเยน (ประมาณ 19,700 ล้านบาท)
(พันล้านเยน) | ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 1-3 ปีงบประมาณ 2561 (เม.ย.– ธ.ค. 2561) | ||
ปีงบประมาณ 2560 | ปีงบประมาณ 2561 | เติบโต | |
ยอดจำหน่ายปลีก (หน่วย ‘000 คัน) | 777 | 894 | +117 |
ยอดจำหน่ายสุทธิ | 1,518.1 | 1,794.1 | +276.0 |
กำไรจากการดำเนินงาน (อัตราผลกำไร) | 64.6(4.3%) | 85.0(4.7%) | +20.4(+0.4) |
กำไรจากกิจกรรมปกติ | 81.1 | 92.4 | +11.3 |
รายได้สุทธิ | 70.1 | 69.2 | 0.9 |
2. ยอดจำหน่ายรวมของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ทั่วโลก
ยอดจำหน่ายรวมทั่วโลกของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในระยะเวลา 9 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขึ้นมาอยู่ที่จำนวน 894,000 คัน
ทั้งนี้ยอดจำหน่ายของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 27 ที่จำนวน 235,000 คัน นำโดยยอดจำหน่ายที่แข็งแกร่งของ มิตซูบิชิ เอ็กซ์แพนเดอร์ ใหม่
ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส มียอดจำหน่ายในยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ที่จำนวน 168,000 คัน ยอดจำหน่ายที่แข็งแกร่งนี้ขับเคลื่อนโดย
มิตซูบิชิ อีคลิปส์ ครอสส์ และ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก และ ยอดจำหน่ายของ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ ที่ประกอบในประเทศรัสเซีย
นอกจากนี้ ยอดจำหน่ายของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ยังคงเติบโตขึ้นในทุกภูมิภาค ครอบคลุมทั้งตลาดพื้นฐานอย่างภูมิภาคโอเชียเนีย และตลาดที่มีความสำคัญอย่างภูมิภาคอเมริกาเหนือและประเทศจีน เป็นต้น ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คาดการณ์ว่าจะสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานได้เป็นไปตามที่ประกาศไว้ในช่วงเริ่มต้นปีงบประมาณ 2561
3. แนวโน้มการดำเนินธุรกิจตลอดปีงบประมาณ 2561
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คาดการณ์การผลดำเนินงานในปีงบประมาณ 2561 ว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินการ ซึ่งได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์โตเกียวไปก่อนหน้านี้เมื่อเดือนพฤษภาคม 2561
(พันล้านเยน) | ผลการดำเนินงานตลอดทั้งปีงบประมาณ (เม.ย. 61 – มี.ค. 62) | ||
ปีงบประมาณ 2560 (ผลการดำเนินงาน) | ปีงบประมาณ 2561 (คาดการณ์) | เติบโต | |
ยอดจำหน่ายปลีก (หน่วย ‘000 คัน) | 1,101 | 1,250 | +149 |
ยอดจำหน่ายสุทธิ | 2,192.4 | 2,400.0 | +207.6 |
กำไรจากการดำเนินงาน (อัตราผลกำไร) | 98.2(4.5%) | 110.0(4.6%) | +11.8(+0.1) |
กำไรจากกิจกรรมปกติ | 110.1 | 125.0 | +14.9 |
รายได้สุทธิ | 107.6 | 110.0 | +2.4 |
มร. โอซามุ มาสุโกะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “การดำเนินงานตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมา เราได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ อัตราแลกเปลี่ยน รวมไปถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นซ้ำซ้อนในประเทศญี่ปุ่น แม้จะตกอยู่ภายใต้ความท้าทายดังกล่าว
มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ก็ยังสามารถบรรลุเป้าหมายการเติบโตได้ในระดับใกล้เคียงกับแผนงานที่วางไว้ ทั้งด้านยอดจำหน่าย ยอดจำหน่ายสุทธิ และผลกำไร
แม้ว่าเราต้องเผชิญกับอุปสงค์ที่ลดลงในตลาดที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง เราจะยังคงดำเนินการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องและมุ่งมั่นสู่การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ในปีงบประมาณนี้
เราจะไม่ประเมินว่าปัจจัยท้าทายดังกล่าวเป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเอาชนะปัจจัยที่ท้าทายต่างๆ และสร้างผลประกอบการที่ดีได้อย่างยั่งยืนผ่านความร่วมมือด้านต่างๆ ในฐานะสมาชิกของกลุ่มพันธมิตร เรโนลต์-นิสสัน-มิตซูบิชิ มอเตอร์ส”
เกี่ยวกับการคาดการณ์อนาคต
เนื้อหาจากข่าวประชาสัมพันธ์นี้ นอกเหนือจากข้อเท็จจริงในอดีตแล้วยังครอบคลุมไปถึงการคาดการณ์ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบัน รวมถึงเป้าหมาย แผนงาน และการประเมินการ ตัวเลขและการคาดการณ์ทั้งหมดผ่านการคำนวณและการใช้สมมติฐาน ทั้งนี้ผลการคาดการณ์ดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนจากปัจจัยในด้านต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้ผลการดำเนินธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างไปจากเนื้อหาการคาดการณ์ของบริษัทฯ โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีนัยยะสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ แนวโน้มของตลาด ความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมาย ข้อบังคับ และนโยบายของรัฐบาล เป็นต้น
ปัจจัยความเสี่ยงและความไม่แน่นอนไม่จำกัดเฉพาะปัจจัยที่อ้างถึงนี้ ทั้งนี้ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ไม่มีภาระผูกพันต่อการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลในข่าวประชาสัมพันธ์นี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
การลงทุนใน มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น มีความเสี่ยง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น หรือบุคคลใด ๆ ไม่มีภาระผูกพันต่อความรับผิดชอบต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจาการลงทุนที่อ้างอิงจากข้อมูลทีแสดงในข่าวประชาสัมพันธ์นี้