RE100 Thailand Club ส.อ.ท. ผนึกกำลัง 19 พันธมิตร ขับเคลื่อนแผนพลังงานชาติสู่ Carbon Neutrality ในปี 2050
RE100 Thailand Club ส.อ.ท. ผนึกกำลัง 19 องค์กรพันธมิตร ร่วมขับเคลื่อนแผนพลังงานชาติไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality ลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050
เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ก่อตั้ง RE100 Thailand Club มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน และ สมาชิกร่วมก่อตั้งจำนวน 19 องค์กร ได้แก่ สอวช. วิทยาลัยพลังงานทดแทนและสมาร์ตกริดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บมจ.ซุปเปอร์เอนเนอร์ยี่ คอร์เปอเรชั่น บมจ.ปตท บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บจ.โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) บจ.กลุ่มเซ็นทรัล บมจ.เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา บมจ.โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา บจ.เด็นโซ่ (ประเทศไทย) บจ.อัลฟ่าคอม สภาสถาปนิก บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี Bank of China และกฟผ. ได้จัดงานประชุมและสัมมนา “RE100 Thailand Club ร่วมขับเคลื่อนแผนพลังงานชาติไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality” ณ ห้อง สุรศักดิ์ 1 ชั้น 11 โรงแรมอีสติน แกรนด์ สาทร โดยได้รับเกียรติจากคุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนาฯและปาฐกถาพิเศษ
- “ลดคาร์บอน” คลื่นลูกใหม่ ท้าทายธุรกิจโลก
- ลดปล่อยก๊าซคาร์บอน วาระสำคัญ โตโยต้าตั้งเป้า ซัพพลายเออร์เสียงแตก
- ยุค Electrification กับการดิ้นรนของภาคอุตสาหกรรม
คุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมตระหนักรู้ถึงความสำคัญของความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในปี 2564 และที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการหลายอย่างเพื่อรองรับสถานการณ์ดังล่าวและเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และสมาชิกของ ส.อ.ท. ให้ช่วยกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม อาทิเช่น การแต่งตั้ง “คณะทำงานส่งเสริมและสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม”การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์กับสำนักงานโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) การจัดตั้งคณะทำงานย่อยการจัดทำข้อมูลการใช้พลังงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคอุตสาหกรรม (Big Data Climate Change) การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายคาร์บอนเครดิตของประเทศไทย (Thailand Carbon Credit Exchange Platform) ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เป็นต้น
คุณวีระเดช เตชะไพบูลย์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน ส.อ.ท. และประธาน RE100 Thailand Club ได้แจ้งว่า RE100 Thailand Club มีการกำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของภาคอุปสงค์และอุปทานของพลังงานหมุนเวียนและคาร์บอนเครดิต ในช่วงการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานหมุนเวียน 100% ในระดับองค์กร อีกทั้งส่งเสริมให้พลังงานหมุนเวียน (RE) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (EE) เป็นเครื่องมือหลักในการ Decarbonization ผ่านการดำเนินงานของภาครัฐในด้าน Deregulation, Decentralization และ Digitalization มุ่งไปสู่การแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและรักษาระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย และมีพันธกิจ : เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทยและการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 ในรูปแบบสมัครใจในระดับองค์กร โดยมีเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนและความเป็นกลางทางคาร์บอน ดังนี้
การกำหนดเป้าหมายดังกล่าวของ RE100 Thailand Club ได้สอดคล้องกับนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ของประเทศไทยตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แถลงไว้ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ณ เมืองกลาสโกลว์ ประเทศสก๊อตแลนด์
ปัจจุบัน RE100 Thailand Club มีสมาชิกประมาณ 500 บริษัทรวมบริษัทในเครือของสมาชิก ซึ่งบริษัทสมาชิกร่วมก่อตั้ง อย่างเช่น บริษัท โตโยต้ามอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้มีการกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ.2035 บริษัทเด็นโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียน (RE100) ในสัดส่วน 100% ภายในปีค.ศ.2025 และกำหนดหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนหรือการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ.2035 และ กฟผ. มีนโยบายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (EGAT Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH