Additive Manufacturing ใบเบิกทางสู่ธุรกิจใหม่ของ SMEs ญี่ปุ่น
แม้ญี่ปุ่นจะมีความล่าช้าในการใช้เทคโนโลยี Additive Manufacturing (AM) หากเทียบกับฟากตะวันตก แต่วันนี้ AM กำลังแพร่หลาย โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ในอุตสาหกรรมแปรรูปโลหะที่กำลังนำมาใช้เป็นใบเบิกทางสำหรับเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ๆ
- 3D Printing: เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล
- Machine Tools ญี่ปุ่น จับเทรนด์ Green Transformation อย่างไร
Advertisement | |
เมื่อ Additive Manufacturing คือใบเบิกทางสู่ธุรกิจใหม่ของ SMEs
Ifuku Seimitsu ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีความแม่นยำสูง เป็นหนึ่งในบริษัทที่เลือกใช้เทคโนโลยี Additive Manufacturing โดยเปิดห้องประชุมเพื่อให้พนักงานและผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวของ เช่น 3D CAD สามารถแลกเปลี่ยนความเห็นได้อย่างเปิดกว้าง
ห้องประชุมบริษัท Ifuku Seimitsu ที่เปิดให้ผู้เชี่ยวชาญได้สนทนากัน
ในปี 2016 บริษัทตัดสินใจจัดหาโซลูชันด้าน AM จาก Sodick มาติดตั้งในโรงงานเพื่อเข้าสู่ธุรกิจด้านการพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งปัจจุบัน Ifuku Seimitsu ติดตั้งเครื่องจักรสำหรับงาน AM ทั้งหมด 3 ตัว เพื่อผลิตสินค้าต่าง ๆ เช่น ชามข้าวโลหะ ไม้กอล์ฟ และบริการผลิตชิ้นส่วนโลหะอื่น ๆ โดยบริษัทมีพนักงาน 50 คน และกว่า 75% ของพนักงานได้รับ “ใบรับรองวิศวกร 3D CAD” และ “ใบรับรองวิศวกร 3D Printer” แล้ว
นาย Motohiko Ifuku ประธานบริษัท แสดงความเห็นว่า หลังจากนี้ บริษัทจะมุ่งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านวัสดุ รวมทั้งการร่วมมือกับบริษัทอื่นเพื่อให้เทคโนโลยี AM มีความน่าเชื่อถือและใช้งานง่ายยิ่งขึ้น
DAIMARU Steel Industry บริษัท SME ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลักคือชิ้นส่วนโลหะขนาดใหญ่สำหรับเครื่องจักรก่อสร้าง ชิ้นส่วนสะพาน และชิ้นส่วนปั๊มอื่น ๆ เป็นอีกรายที่นำเทคโนโลยี Additive Manufacturing มาใช้งาน โดยเลือกใช้ DED AM System จาก Nidec ซึ่งนาย Yoshihiko Ota กรรมการผู้จัดการเผยว่า การผลิตแบบที่ผ่าน ๆ มาไม่อาจทำให้บริษัทเติบโตได้อีกต่อไป จึงต้องนำเทคโนโลยี AM มาใช้
ชิ้นงานที่ DAIMARU Steel Industry ทดลองผลิต เช่น แก้วน้ำจากไทเทเนียมอัลลอย
นาย Yoshihiko Ota อธิบายว่าปัจจุบันบริษัทอยู่ระหว่างการทดลองพิมพ์อะลูมิเนียมเพื่อตอบรับออเดอร์จากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ต้นแบบอื่น ๆ เช่น ถ้วยที่ผลิตจากโลหะผสมไทเทเนียม ซึ่งเป็นวัสดุที่ผลิตด้วยเครื่องเพรสได้ยาก ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้จากการผลิตชิ้นงานเหล่านี้จะถูกนำไปต่อยอดให้บริษัทสามารถก้าวเข้าสู่ตลาดชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าได้
สำนักวิเคราะห์ KBV Research รายงานมูลค่าตลาด Additive Manufacturing ซึ่งครอบคลุมทั้งเครื่องจักร ซอฟต์แวร์ และบริการที่เกี่ยวข้องทั่วโลกในปี 2021 อยู่ที่ 3,529.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ 11,626.50 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2028 เติบโตเฉลี่ยปีละ 19.5% ในช่วงปี 2022 - 2028 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการที่เทคโนโลยี Additive Manufacturing สามารถช่วยลดเวลาที่ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงต้นทุนการผลิต และยังมีการผลักดันเทคโนโลยีนี้ในอุตสาหกรรมโลหะการอีกด้วย
ผู้ผลิตเครื่องจักรมีแนวทางอย่างไร?
ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตเครื่องจักรหลายรายจึงเล็งเห็นถึงโอกาสของตลาด Additive Manufacturing และได้ทุ่มเทให้กับการพัฒนาเทคโนโลยีนี้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น OKUMA ซึ่งพัฒนา Multitasking Machine “MU-6300V LASER EX” ที่รองรับการพิมพ์วัสดุหลายชนิดไปจนถึงวัสดุต่างชนิด ซึ่งแผนกเทคโนโลยีเผยว่า การพิมพ์ชิ้นงานจากวัสดุต่างชนิดกันจะช่วยให้เทคโนโลยีนี้สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น จึงใช้สิ่งนี้เป็นจุดขาย พร้อมยกตัวอย่างการนำไปใช้ เช่น การผลิตแม่พิมพ์ Die casting จากเบริลเลียมคอปเปอร์ (Beryllium Copper) ที่มีความแข็งแรงสูง นำความร้อนได้ดี ส่วนผื้นผิวแม่พิมพ์ผลิตจาก High Speed Steel (HSS) เพื่อให้ได้แม่พิมพ์ที่ทนความร้อนได้ดี เนื่องจากคุณสมบัติการนำความร้อนของเบริลเลียมคอปเปอร์ช่วยให้แม่พิมพ์ระบายความร้อนได้ดี ป้องกันไม่ให้อุณหภูมิของแม่พิมพ์สูงขึ้นทุกครั้งที่เพรสชิ้นงาน ในขณะที่ HSS ซึ่งแข็งแรงกว่าช่วยให้แม่พิมพ์ทนทานยิ่งขึ้น
Mitsubishi Electric เป็นอีกรายที่ตั้งใจส่งเสริมตลาด AM ด้วย "AZ600" เทคโนโลยี wire-laser metal 3D printer ซึ่งใช้เลเซอร์ในการหลอมวัสดุที่เป็นเส้นลวด ช่วยลดต้นทุนค่าวัสดุ ลดพื้นที่จัดเก็บ และช่วยให้การผลิตมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น
แผนกเทคโนโลยีการผลิตด้วยเลเซอร์เผยว่า เทคโนโลยีนี้มีความแม่นยำต่ำกว่าการพิมพ์ด้วยวัสดุแบบผง แต่มีความคงทนสูง ช่วยลดความบกพร่องของชิ้นงาน อีกทั้งเพิ่มความเร็วในการพิมพ์ซ้อนกันได้มากกว่า 5 เท่า จึงสามารถนำไปใช้พิมพ์รูปทรงที่มีความซับซ้อน เช่น ใบพัด โดยพิมพ์แบบ Near net shape ก่อนจะนำไปกัดจนได้รูปทรงที่แม่นยำ ช่วยประหยัดเวลากว่าการกัดวัสดุทั้งชิ้น และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง
เพิ่มคุณภาพด้วยซอฟต์แวร์
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี Additive manufacturing ยังเป็นเทคโนโลยีใหม่เมื่อเทียบกับการผลิตชิ้นงานที่แล้วมา ซึ่งความใหม่ของเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดอุปสรรคว่า จะต้องตั้งค่าการพิมพ์อย่างไร ผู้ใช้จึงจะสามารถผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพสูงได้ตามต้องการ ทำให้ผู้ผลิตหลายรายเลือกมุ่งไปที่การพัฒนาซอฟต์แวร์เช่นกัน
ตัวอย่างเช่น DMG MORI ซึ่งนาย Yoko Hirono ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนาเทคโนโลยี AM อธิบายว่า บริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่จะตั้งค่าอัตโนมัติได้ตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้ต้องการ และคาดการณ์ว่าจะสามารถเข้าสู่ตลาดได้ภายในปี 2024
ทางด้าน Nidec Machine Tool ได้เลือกพัฒนาระบบการตั้งค่าการพิมพ์โดยกรอกข้อมูลวัสดุ รูปทรง เวลาที่ใช้ จากนั้นระบบจะตั้งค่าการพิมพ์อัตโนมัติโดยใช้กล้องในการตรวจสอบสถานะการพิมพ์ ซึ่งนาย Haruhiko Niitani ประธานบริษัท อธิบายว่า การใช้ AI ในการตั้งค่าเป็นฟังก์ชันใหม่ที่เป็นนวัตกรรมเป็นอย่างมาก
Mitsubishi Corporation Technos ได้เปิด “Tokyo Customer Experience Center (Tokyo CEC)” โชว์รูมและศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AM ขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2019 ปัจจุบันมีผู้เยี่ยมชม 3 - 4 บริษัทต่อสัปดาห์ และรับออเดอร์พิมพ์ชิ้นงานราว 12 - 13 รายการต่อเดือน ซึ่งนาย Issei Hirose หัวหน้าแผนก AMS แสดงความเห็นว่า ในช่วงหลังมานี้ ผู้เข้าเยี่ยมชมหลายรายไม่มีความรู้ด้าน AM มาก่อน แต่มีความคิดว่า จะผลิตชิ้นงานด้วยเทคโนโลยีนี้อย่างไร ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น
“Tokyo CEC” โดย Mitsubishi Corporation Technos ที่เปิดให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม
อย่างไรก็ตาม อีกกำแพงหนึ่งของ Additive Manufacturing คือ ราคาเครื่องจักรและผงวัสดุที่ยังมีราคาสูง ซึ่งผู้ผลิต Machine Tools รายใหญ่รายหนึ่ง อธิบายว่า สาเหตุที่เครื่องจักรเหล่านี้มีราคาแพง คือเครื่อง Laser Oscillator อย่างไรก็ตาม หากส่วนประกอบนี้มีราคาลดลง ก็จะทำให้การพิมพ์ 3 มิติแพร่หลายยิ่งขึ้น
ส่วนฝ่ายบริหารผู้ผลิตเครื่องจักรอีกราย แสดงความเห็นว่า ปัจจุบันหลายอุตสาหกรรมมีการพิมพ์ชิ้นงานมากขึ้น และคาดการณ์ว่าในอนาคตที่ผงวัสดุมีราคาถูกลง เทคโนโลยีนี้ก็จะเป็นที่แพร่หลายทั้งในโรงงานและครัวเรือน
#AdditiveManufacturing #greentransformation #3Dprinting #Mreport #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม
ที่มา: Nikkan Kogyo Shimbun
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH