นิสสัน เปิดตัว 'นิสสัน รี-ลีฟ' รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ สำหรับงานช่วยเหลือฉุกเฉิน ให้เป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่เมื่อเกิดภัยพิบัติ

Nissan เปิดตัว 'นิสสัน รี-ลีฟ' รถยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ สำหรับงานช่วยเหลือฉุกเฉิน แหล่งพลังงานเคลื่อนที่เมื่อเกิดภัยพิบัติ

อัปเดตล่าสุด 16 ต.ค. 2563
  • Share :
  • 1,411 Reads   

Nissan เปิดตัว นิสสัน รี-ลีฟ (RE-LEAF) รถยนต์ไฟฟ้า 100% สำหรับงานช่วยเหลือฉุกเฉิน ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อเป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่ ยามเมื่อเกิดภัยพิบัติ หรือสภาพอากาศร้ายแรง

นิสสัน รี-ลีฟ ถูกพัฒนามาจากรถยนต์นิสสัน ลีฟ รถยนต์ไฟฟ้าที่จำหน่ายสำหรับตลาดมวลชนรุ่นแรกของโลก โดยเพิ่มสมรรถนะให้สามารถลุยไปได้ทุกอุปสรรคเช่นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยซากปรักหักพัง ด้านนอกของรถติดตั้งชุดเชื่อมต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าขนาด 110 – 230 โวลต์ จากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน ประสิทธิภาพสูงของนิสสัน ลีฟ

รี-ลีฟ สามารถขับไปยังพื้นที่ศูนย์กลางของภัยพิบัติ และใช้เป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่สำหรับการกู้ภัย ด้วยการจัดการพลังงานแบบบูรณาการ ทำให้สามารถให้พลังงานไฟฟ้ากับอุปกรณ์ทางการแพทย์ ระบบสื่อสาร ไฟส่องสว่าง ระบบทำความร้อน และเครื่องมือช่วยชีวิตอื่น ๆ

การนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้จริงเมื่อเกิดภัยพิบัติ

ภัยพิบัติทางธรรมชาติคือสาเหตุหลักของไฟฟ้าดับ จากรายงานในปี 2019 ธนาคารโลกระบุว่าภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นสาเหตุของไฟฟ้าดับถึง 37% ในยุโรประหว่างปี 2000 ถึงปี 2017 และ 44% ในสหรัฐอเมริกาของช่วงเวลาเดียวกัน

เมื่อมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ไฟฟ้าจะกลับมาใช้งานได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความระดับความเสียหาย ในระหว่างนี้เราสามารถใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานแบบไร้มลพิษได้

นิสสันพัฒนา “รี-ลีฟ” ขึ้นมาเพื่อแสดงศักยภาพของรถยนต์ไฟฟ้าในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ แม้ว่ามันจะเป็นแค่รถยนต์ต้นแบบ แต่เทคโนโลยีนี้ก็ได้ถูกนำมาใช้จริงแล้ว เช่นในประเทศญี่ปุ่นที่นิสสันได้นำรถยนต์ ลีฟ มาใช้เป็นแหล่งพลังงานและพาหนะเมื่อเกิดภัยพิบัติตั้งแต่ปี 2011 อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นกว่า 60 แห่งในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ

รถยนต์ไฟฟ้าของนิสสันยังสามารถเป็นแหล่งพลังงานเคลื่อนที่สำหรับบ้านเรือนและชุมชนแม้ในเหตุการณ์ปกติ ผ่านโครงข่าย นิสสัน เอเนอจี้ แชร์ ที่สร้างโมเดลการแจกจ่ายพลังงานเพื่อรักษาเสถียรภาพของ อุปสงค์และอุปทานของการใช้พลังงาน

รี-ลีฟ ใช้ความสามารถในการชาร์จแบบสองทางของลีฟซึ่งเป็นคุณสมัติมาตรฐานที่มากับตัวรถตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี 2010 โดยไม่เพียงแต่ ลีฟ จะสามารถ “ดึง” พลังงานออกมาชาร์จแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง แต่ยังสามารถ “ป้อนพลังงาน” กลับไปยังระบบโครงข่าย หรือ grid ผ่านเทคโนโลยี V2G (Vehicle-to-Grid) หรือส่งไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยตรงผ่านระบบ V2X (Vehicle-to-everything)

 

อ่านต่อ: