FACTORY MAX เผยเคล็ดลับ… เลือกใช้ MIST COLLECTOR อย่างไรให้เหมาะสม ! การกำจัดละอองน้ำมัน แฟ็คทอรี่ แม๊กซ์

เผยเคล็ดลับ… เลือกใช้ MIST COLLECTOR อย่างไรให้เหมาะสม !

อัปเดตล่าสุด 2 ส.ค. 2565
  • Share :
  • 1,706 Reads   

FACTORY MAX เผยเคล็ดลับ...พิจารณา 3 ปัจจัยหลัก ก่อนเลือกเครื่องดักจับละอองน้ำมัน MIST COLLECTOR ที่เหมาะสมกับการใช้งาน พร้อมตัวเลือกประเภทเครื่องทั้งหมดในท้องตลาด

ละอองน้ำมันภัยร้ายใกล้ตัว ใครมีปัญหาละอองน้ำมันแต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน จะเลือกเครื่องดักจับละอองน้ำมันให้เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างไร หรือติดเครื่องดักจับละอองน้ำมันไปแล้วแต่ก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้ ก่อนจะหาโซลูชั่นตรงนั้น เราต้องเข้าใจ 3 ปัจจัยที่มีผลต่อการกำจัดละอองน้ำมันกันก่อนครับ

ปัจจัยที่ต้องรู้เพื่อเลือกใช้เครื่องดักจับละอองน้ำมัน (Mist collector) ให้เหมาะสม

ปัจจัยที่ 1 ปริมาณละอองน้ำมัน

คือปริมาณของของเหลวที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุในกระบวนการผลิต เช่น การตัดเฉือนโลหะ การล้างชิ้นงาน การฉีดพ่นของเหลวในการผลิต การขึ้นรูปด้วยไฟฟ้า (EDM) ฯลฯ มีหน่วยวัด mg/m3 หรือมิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถ้าปริมาณละอองน้ำมันมีปริมาณมาก การดักจับก็จะทำได้ยากเช่นกัน

***ตามมาตรฐาน OSHA กำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมควบคุมการปล่อยละอองน้ำมันไม่ให้เกิน 5 mg/m3***

ปัจจัยที่ 2 ขนาดของละอองน้ำมัน

คือขนาดของเหลวที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ ซึ่งขนาดจะแตกต่างกันตามรูปแบบของการผลิต เช่น การผลิตมีแรงดันสูง และใช้ความเร็วรอบในการตัดเฉือนที่สูง โอกาสที่จะเกิดละอองน้ำมันที่มีขนาดเล็กก็จะยิ่งสูงไปด้วย หรือการใช้สารหล่อเย็นแบบผสมน้ำมักจะมีละอองน้ำมันขนาดใหญ่กว่า 2.5 um แต่ถ้าใช้น้ำมันล้วนในการตัดเฉือนมักจะมีละอองน้ำมันขนาดเล็กกว่า 2.5 um เกิดขึ้น ละอองน้ำมันที่มีขนาดเล็กมักจะเป็นปัญหา เนื่องจากกำจัดได้ยาก และยังอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย

ทั้ง 2 ปัจจัยข้างต้น เราสามารถวัดละอองน้ำมันได้ด้วยเครื่องมือเฉพาะ เช่น เครื่อง TSI DustTrak™ II ที่สามารถวัดขนาดของละอองน้ำมัน รวมถึงแยกปริมาณของน้ำมันในแต่ละขนาด เช่น 10 um, 2.5um, 1 um ท่านใดต้องการรู้ว่าละอองน้ำมันในโรงงานของท่านมีปริมาณ และขนาดเท่าไร ติดต่อให้เราเข้าไปวัดได้เลยครับ

ปัจจัยที่ 3 รูปแบบการติดตั้ง

การติดตั้งโดยตรงกับเครื่องจักรแบบ 1 ต่อ 1  เป็นรูปแบบการติดตั้งที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากติดตั้งง่าย มีประสิทธิภาพสูง และค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด เราสามารถคำนวณขนาดของเครื่องกำจัดละอองน้ำมันได้จากสูตร

ขนาดเครื่องที่ต้องการ (Flow rate m3/hr) = (กว้าง X ยาว X สูง) X (% ที่ไม่รวมปริมาตรของอุปกรณ์ในเครื่องจักร) X (No.of air change 1-10 ) X (60 นาที)

การติดตั้งระบบรวม (Central system) เป็นรูปแบบการติดตั้งที่ใช้เครื่องดักจับละอองน้ำมัน 1 เครื่อง กับเครื่องจักรหลายเครื่อง การติดตั้งแบบนี้จะช่วยให้การบำรุงรักษาทำได้ง่ายเพียงจุดเดียว แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าติดตั้งระบบท่อที่เพิ่มขึ้น รวมถึงเครื่องดูดละอองน้ำมันที่ต้องคำนวณเผื่อความสูญเสียจากระบบท่อด้วย

เมื่อเรารู้แล้วว่าละอองน้ำมันในเครื่องจักรของเรามีปริมาณ และขนาดเท่าไร เราก็ต้องรู้ว่าเครื่องดักจับละอองน้ำมันในตลาดมีกี่ประเภท แล้วแต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานที่ปริมาณละอองน้ำมัน และขนาดเท่าไรกันบ้าง

เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบใช้ไส้กรองทั่วไป (Media filter)

'เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบใช้ไส้กรอง' เป็นเครื่องที่ใช้งานกันทั่วไปในอุตสาหกรรม มีหลักการทำงานง่าย ๆ คือ พัดลมในเครื่องจะดูดอากาศเข้าไปผ่านไส้กรอง ละอองน้ำมันที่ผสมอยู่ในอากาศจะถูกดักจับไว้ที่ไส้กรอง แล้วปล่อยอากาศที่เหลือออกมาทางด้านหลัง เหมาะกับการใช้งานที่ปริมาณละอองน้ำมันไม่เกิน 50 mg/m3 และละอองน้ำมันใหญ่กว่า 2.5 um

  • ข้อดี ราคาไม่สูง ใช้งานกับละอองน้ำมันขนาดใหญ่ (2.5-10 um) ได้ดี
  • ข้อเสีย ต้องเปลี่ยนไส้กรองเมื่ออุดตัน ถ้าใช้กับละอองน้ำมันขนาดเล็กกว่า 2.5 um ต้องมีไส้กรองละเอียดที่มีราคาสูง และต้องเปลี่ยนบ่อย

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีของไส้กรองชนิดพิเศษจาก Absolent ที่สามารถรองรับปริมาณละอองน้ำมันได้สูงถึง 150 mg/m3 ได้เป็นอย่างดี เพราะไส้กรองชนิดพิเศษนี้มีผิวที่ลื่น เมื่อน้ำมันมาเกาะจะไหลมารวมตัวกันเป็นหยด และหยดของเหลวที่หนักจะหยดลงสู่ด้านล่างทำให้ไส้กรองไม่อุดตันง่ายและสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยไม่ต้องบำรุงรักษาตลอดปี และยังมีการผสมผสานกันของเส้นใยหลายขนาด ทำให้สามารถใช้งานกับละอองน้ำมันตั้งแต่ขนาด 0.1 – 10 um อีกด้วย

Absolent จึงเหมาะกับการใช้งานที่มีละอองน้ำมันปริมาณมาก และละอองน้ำมันขนาดเล็ก รวมถึงลดการบำรุงรักษาระหว่างปี

  • ข้อดี ใช้งานกับละอองน้ำมันได้ทุกขนาด (2.5-10 um), ไม่ต้องบำรุงรักษา หรือถอดมาล้างตลอดทั้งปี
  • ข้อเสีย ราคาค่อนข้างสูง

เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal)

เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal) เป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ไส้กรองทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนและบำรุงรักษา เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ใช้หลักการเหวี่ยงของถังและใบพัดภายในดูดอาการเข้ามาและเหวี่ยงออกไปด้านนอก ละอองน้ำมันที่มีน้ำหนักมากกว่าอากาศจะถูกเหวี่ยงไปติดที่ผิวของเครื่อง แล้วไหลไปสู่ท่อระบาย ไม่จำเป็นต้องใช้ไส้กรองในการดักจับน้ำมัน

  • ข้อดี ราคาไม่สูง ใช้งานกับละอองน้ำมันขนาดใหญ่ (2.5-10 um) ได้ดี ไม่ต้องเปลี่ยนไส้กรอง
  • ข้อเสีย ถ้าใช้กับละอองน้ำมันขนาดเล็กกว่า 2.5 um ต้องมีไส้กรองละเอียดเพิ่ม

เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบไส้กรองไฟฟ้า (Electrostatic precipitator)

เครื่องดักจับละอองน้ำมันแบบไส้กรองไฟฟ้า (Electrostatic precipitator) เครื่องแบบนี้จะมีพัดลมดูดอากาศและละอองน้ำมันมาผ่านแผงปล่อยประจุลบให้ไปเกาะกับละอองน้ำมันในอากาศ แล้วผ่านแผงดักจับประจุลบให้กลับออกมา จากนั้นก็จะปล่อยอากาศดีออกทางด้านหลัง เมื่อใช้งานจนมีละอองน้ำมันมาเกาะที่แผงดักจับประจุมากขึ้น ประสิทธิภาพการดักจับจะลดลง เราสามารถนำเอาแผงดักจับประจุลบออกมาล้างได้ จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนไส้กรอง เครื่องประเภทนี้เหมาะกับเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันล้วน, ห้องครัว, เครื่องปั๊มขึ้นรูปที่ต้องพ่นน้ำมัน สามารถดักจับละอองน้ำมันขนาดเล็กได้ดี (0.1 – 10 um) ใช้กับปริมาณละอองน้ำมันน้อยถึงปานกลาง (0  – 50 mg/m3)

  • ข้อดี ใช้งานกับละอองน้ำมันได้ทุกขนาด (0.1 – 10 um), ไม่ต้องเปลี่ยนไส้กรองเพราะล้างได้
  • ข้อเสีย ราคาสูง, ถ้าปริมาณละอองน้ำมันสูงต้องถอดมาล้างบ่อย

เราทราบแล้วว่าเครื่องดักจับละอองน้ำมันแต่ละประเภทเหมาะกับการใช้งานอย่างไรบ้าง ถ้าเราเลือกได้เหมาะสมก็จะสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หลายท่านก็ยังคงประสบปัญหาทั้งที่ใช้เครื่องดักจับละอองน้ำมันอยู่แล้ว เช่น ติดเครื่องดักจับละอองน้ำมันแล้วแต่พ่นควันออกมา, แรงดูดไม่พอทำให้มีละอองน้ำออกมาหน้าเครื่อง, ยังคงมีน้ำมันเกาะที่พื้นหรือผนัง หรือหมอกควันในโรงงาน

ท่านสามารถติดต่อทีมวิศวกร FACTORY MAX Co., Ltd. ให้เราเข้าไปช่วยวิเคราะห์สาเหตุ วัดปริมาณและขนาดของละอองน้ำมัน เพื่อหาวิธีจัดการที่เหมาะสมได้ครับ

สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่
Factory Max Co., Ltd.
บริษัท แฟ็คทอรี่ แม๊กซ์ จำกัด

โทร. 02-333-8888
Website: www.factorymax.co.th  
Line: @Factorymax