Mygrowtech, Pick and Place Robot, หุ่นยนต์หยิบวาง, หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นงาน, หุ่นยนต์หยิบของ, หุ่นยนต์หยิบสินค้า, หุ่นยนต์โลจิสติกส์, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, Industrial Robot, Scara Robot, Delta Robot, Cubebox ระบบหุ่นยนต์หยิบวางสำเร็จรูป Tezmaksan

CUBEBOX โซลูชันหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน สำหรับ Automated Line และ Mass Production

อัปเดตล่าสุด 9 ส.ค. 2567
  • Share :
  • 4,563 Reads   

เปิดโซลูชัน CUBEBOX ระบบหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน (Pick and Place Robot) แบบสำเร็จรูป เปิดกล่องพร้อมใช้งานได้ทันที เหมาะสำหรับการผลิตแบบ Mass production และไลน์ผลิตอัตโนมัติที่ต้องการความรวดเร็ว สามารถทำงานต่อเนื่อง 24 ชม. 7 วัน จาก Mygrowtech

 

Pick and Place Robot หรือ หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน คือ หุ่นยนต์แขนกลที่มีหลากหลายรูปแบบซึ่งถูกนำมาใช้ทำงานซ้ำ ๆ ที่ต้องทำต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นการหยิบชิ้นงานเข้าออกเครื่องจักร CNC robot load unload หรือ Machine tending, การหยิบสิ่งของบนสายพานที่วิ่งอยู่อย่างรวดเร็ว, การหยิบวางชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากและชิ้นงานขนาดใหญ่ซึ่งต้องทำซ้ำ ๆ และต้องการความรวดเร็ว” 

 

Mygrowtech, Pick and Place Robot, หุ่นยนต์หยิบวาง, หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นงาน, หุ่นยนต์หยิบของ, หุ่นยนต์หยิบสินค้า, หุ่นยนต์โลจิสติกส์, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, Industrial Robot, Scara Robot, Delta Robot, Cubebox

หุ่นยนต์หยิบวาง Pick and Place Robot เหมาะสำหรับธุรกิจแบบไหนบ้าง?

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมไทยประสบปัญหาด้านแรงงาน โดยเฉพาะงานที่ทำให้คนทำงานรู้สึกไม่มีคุณค่าในตัวเอง ตัวอย่างกรณีโรงงานขนมทองม้วนที่ใช้คนงานยืนหยิบขนมใส่ถาด 8 ชม. ต่อวัน โดยยืนอยู่แบบนั้น ทำท่าทางซ้ำ ๆ แบบนั้น พนักงานได้คุยกับบริษัทว่าช่วยเอาหุ่นยนต์มายืนหยิบแทนพวกเขา และเปลี่ยนให้เขาได้ทำงานอย่างอื่น

ในมุมของโรงงานผลิตชิ้นส่วนก็เช่นกัน การหาคนงานเพียงเพื่อมาหยิบชิ้นงานใส่เครื่องจักร CNC และนำชิ้นงานออกก็เช่นกัน ในหลายประเทศโดยเฉพาะยุโรป โรงงานไม่สามารถหาแรงงานที่จะมาทำงานนี้ได้ จึงต้องหันมาใช้ robot load unload หรือ machine tending แทนแรงงาน 

นอกจากการขาดแคลนแรงงานแล้ว จะพบว่ายังมีปัญหารูปแบบอื่นอีกไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยในการทำงาน ผลผลิตที่ได้ ของเสียที่เกิดขึ้น ไปจนถึงระยะเวลาในการผลิต

ความปลอดภัย: เนื่องจากการทำงานซ้ำ ๆ ทุกวัน วันละ 8-16 ชม. อาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รวมถึงงานที่เป็นรูปแบบเดิม ๆ และต้องทำต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความประมาทและพลาดพลั้งบาดเจ็บได้ 

ผลผลิต: เนื่องจากคนไม่สามารถทำงานต่อเนื่องซ้ำ ๆ ยาวนานได้เหมือนหุ่นยนต์แขนกล ซึ่งโดยปกติจะมีเวลาในการหยุดพัก พักดื่มน้ำ พักเข้าห้องน้ำ หยุดพูดคุยกับหัวหน้างานหรือลูกน้อง เดินไปหยิบชิ้นงานมาเตรียมเข้าเครื่อง หรือเดินไปทำงานอื่นที่บริษัทต้องการในเวลานั้น ทำให้ได้ผลผลิตน้อยกว่าที่วางแผนไว้

ของเสีย: ชิ้นงานอาจจะมีของเสียจากการหยิบงานมาผิดด้าน วางผิดตำแหน่ง หรือวางผิดกระบวนการ ซึ่งเป็นผลจากความเหนื่อยล้าของคนงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน

เวลา: เมื่อเราใช้เวลาเท่ากัน แต่ได้ชิ้นงานน้อยกว่า นั่นคือตุ้นทุนที่สูงขึ้น และเมื่อชิ้นงานไม่ครบ เราส่งงานไม่ทันก็ต้องเพิ่มชั่วโมงการทำงาน จ่าย OT เพิ่มขึ้นก็คือ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จาก 1 เท่าเป็น 1.5 เท่าของค่าแรงทันทีเช่นกัน

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ล้วนเป็น “ต้นทุนในการผลิต” ซึ่งเมื่อมีการผิดพลาด มีของเสีย หรือได้ผลผลิตน้อยลง ย่อมทำให้ต้นทุนสูงขึ้นเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตไม่ต้องการอย่างแน่นอนในยุคที่มีการแข่งขันสูงขณะนี้

“เมื่อคุณนำหุ่นยนต์แขนกล Robot Load Unload หรือ Machine Tending มาใช้” ทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานที่เพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ คุณยังได้รับประโยชน์ในเรื่องเหล่านี้อีกด้วย

ความปลอดภัยในโรงงาน: ให้เครื่องจักรทำงานกับเครื่องจักร จึงไม่มีการบาดเจ็บ 

ผลผลิตสูงขึ้น: หุ่นยนต์แขนกลทำงานโดยไม่มีการหยุดพัก ยืนอยู่ที่เดิมไม่ไปไหน ไม่เคยขาด ลา มาสาย และทำงานได้ต่อเนื่อง 24 ชม. 7 วัน

ของเสียลดลง: หุ่นยนต์แขนกลหยิบงานจากที่เดิม ไปวางที่เดิมไม่เคยเปลี่ยน ไม่เคยเหม่อลอยจากงานซ้ำ ๆ ไม่เคยพลาดในการหยิบวาง

เวลาที่ควบคุมได้: เมื่อหุ่นยนต์แขนกลไม่เคยหยุดพัก จึงทำงานได้มากกว่า ทำงานได้ตามแผนการผลิตจริง และไม่เคยคิด OT จากผู้ผลิต

อย่างไรก็ตาม พนักงานไม่มีความรู้เรื่องเทคโนโลยีการควบคุมหุ่นยนต์แขนกล โมเดลงานมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ใช้เวลาในการโปรแกรม (teaching robot) นาน และเปลี่ยนบ่อย ทำให้เกิดความสูญเสียจากเครื่องจอดมากกว่าเครื่องจักรทำงาน

“ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ถ้าคุณใช้ Cubebox ระบบหุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงานแบบสำเร็จรูป” เปิดกล่องพร้อมใช้งานได้ทันที เหมาะสำหรับไลน์ผลิตอัตโนมัติ และการผลิตแบบ จำนวนมาก ที่ต้องการความรวดเร็ว ทำงานต่อเนื่อง

 

Mygrowtech, Pick and Place Robot, หุ่นยนต์หยิบวาง, หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นงาน, หุ่นยนต์หยิบของ, หุ่นยนต์หยิบสินค้า, หุ่นยนต์โลจิสติกส์, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, Industrial Robot, Scara Robot, Delta Robot, Cubebox

บริษัท มายโกรว์เทค (ประเทศไทย) จำกัด เข้าใจถึงปัญหาของลูกค้าเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการออกแบบให้เหมาะกับลูกค้า ความคุ้มค่าในการซื้อ Robot หุ่นยนต์แขนกล และการนำไปใช้ได้อย่างง่ายดาย สะดวกในการเคลื่อนย้ายไปใช้กับไลน์การผลิตอื่นที่เร่งด่วน

บริษัทจึงได้นำ Cubebox ระบบหุ่นยนต์หยิบวางสำเร็จรูป Pick and Place Robot จากยุโรป Tezmaksan ประเทศตุรกี พร้อมกับ program Robocam ไม่ต้อง teching robot อีกต่อไป เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจที่มีการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงสูงในปัจจุบันนี้

ไม่ต้องรอผลิต ไม่ต้องรอออกแบบ: Cubebox เป็นสินค้าสำเร็จรูป เป็น Product ไม่ใช่ Project (เป็นสินค้า ไม่ใช่งานโครงการ) in a box เปิดกล่องมาใช้งานได้เลย ใช้เวลาติดตั้งเพียงครึ่งวัน เสียบสายลม ต่อไฟ ทำงานได้ทันที

ไม่ต้อง Teaching Robot อีกต่อไป: ทำโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์แขนกลด้วยเวลาเพียงแค่ 5 นาที ด้วยโปรแกรม RoboCAM เพียงแค่นำแบบงานไฟล์ dxf dwg จากโปรแกรมเขียนแบบทั่วไป ใส่เข้ามาในโปรแกรม RoboCAM โปรแกรมจะทำการบอกตำแหน่งจุดงานที่ต้องการได้ทันที โดยพนักงานไม่ต้องมีความรู้และใช้หุ่นยนต์เป็น

โมเดลชิ้นงานมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย: หากต้องการเปลี่ยนชิ้นงานในการผลิตใหม่ เพียงแค่นำไฟล์ dxf dwg ชิ้นใหม่เข้ามา ก็จะได้โปรแกรมทันที ในเวลาไม่ถึง 5 นาที จากปกติ ชิ้นงานในถาด 50 ชิ้นใช้เวลาโปรแกรม หุ่นยนต์แขนกล 2-3 ชั่วโมง จะเหลือเพียง 5 นาที ลดเวลาไป 30 กว่าเท่าตัว

เหมาะกับงานหลายขนาดหลายรูปแบบ: สามารถปรับเปลี่ยนถาดวางชิ้นงาน รูปแบบการวาง ความสูงระหว่างชั้นได้ด้วยตัวเอง โดยใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที สามารถวางถาดได้ถึง 5-6 ชั้น และวางชิ้นงานได้สูงสุดถึง 300 ชิ้น

เคลื่อนย้ายได้อย่างง่ายดาย: เนื่องจากเป็นชุดสำเร็จรูป ใช้ได้ทั้งงานกลึงและงานมิลลิ่ง สามารถถอดออกจากเครื่องที่ 1 ไปเครื่องที่ 2 และติดตั้งใหม่โดยใช้เวลาไม่ถึงครึ่งวัน สะดวกในการวางแผนการผลิต เพิ่มผลการผลิตได้อย่างง่ายดาย

ปลอดภัยในการใช้งาน: แบ่งส่วนการทำงานแยกชัดเจน มีเซนเซอร์ม่านความปลอดภัย 3 ระดับ เพื่อให้หุ่นยนต์แขนกลหยุดทำงาน เมื่อมีคนเดินเข้ามาใกล้หุ่นยนต์

คุ่มค่าในการลงทุน: ปรับเปลี่ยนและเคลื่อนย้ายได้ตลอดเวลา เหมาะกับงานหลากหลายรูปแบบ ซื้อครั้งเดียวใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน เพราะด้วยความเป็นสินค้าสำเร็จรูป จึงเคลื่อนย้ายไปตามงานที่ต้องการเร่งการผลิตได้โดยไม่ต้องออกแบบผลิตใหม่ให้เข้ากับเครื่องจักรเครื่องใหม่ที่จะนำไปติดตั้งใหม่

รู้จักกับ “หุ่นยนต์หยิบจับและวางชิ้นงาน” ใช้งานแบบไหน?

Scara robot เหมาะกับงานที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง ระยะแขนไม่ยาวมาก รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ เหมาะกับงานชิ้นเล็กๆส่วนใหญ่จะพบมากในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็คโทรนิคชิ้นเล็กๆ ที่ต้องใช้ความเที่ยงตรงสูงในการหยิบวาง (Pick and Place Robot) เพื่อประกอบ

Delta robot เหมาะกับงานที่ลำเลียงมาบนสายพานแบบไร้ทิศทางและไร้รูปแบบ ใช้เซนเซอร์กล้องจับภาพและทิศทางของชิ้นงานเพื่อส่งสัญญาณให้หุ่นยนต์หยิบชิ้นงานเพื่อไปเก็บใส่ถาดหรือกล่องให้ถูกตำแหน่งและทิศทางตามที่ต้องการ เหมาะกับอุตสาหกรรมอาหาร เช่น แพ็ค ซอง กล่อง ถุง ขวด แก้ว หลอดที่มีน้ำหนักเบาแต่ต้องการความเร็วสูงในการหยิบวาง

Industrial Robot หุ่นยนต์อุตสาหกรรม 6 แกน เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ใหญ่ขึ้น ต้องการรับน้ำหนักได้มากขึ้น มีช่วงแขนเอื้อมหยิบได้ไกลขึ้น ส่วนใหญ่จะพบในงานหยิบชิ้นส่วนเพื่อประกอบจัดเก็บ หรือเป็น Robot palletizer จัดเรียงกล่องสินค้าใส่บนพาเลท ซึ่งน้ำหนักมากและมิติในการยกค่อนข้างสูง หรือนำไปใช้กับงาน robot load unload หรือ machine tending ซึ่งต้องหยิบผ่านเข้าในประตูเครื่องจักรซึ่งต้องหมุนได้หลายแกน เพื่อให้สามารถหยิบชิ้นงานเข้าออกได้

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเลือกใช้หุ่นยนต์หยิบวาง Pick and Place Robot

1. น้ำหนักที่จะต้องใช้หุ่นยนต์หยิบ (pay load) ในที่นี้ต้องรวมน้ำหนักทั้งหมด คือ น้ำหนักชิ้นงาน และมือจับ (Gripper) เนื่องจากบางงานจะมีลักษณะการหยิบวางที่พิเศษขึ้น เช่น มี 2 Gripper ใน robot ตัวเดียวกันเพื่อให้หยิบชิ้นงานและส่วนประกอบอื่น ๆ ได้ในคราวเดียว โดยมือจับ (Gripper) มีน้ำหนักค่อนข้างมาก อาจจะมากถึง 10-20 kg สำหรับงานที่มีขนาดใหญ่ เมื่อรวมกับน้ำหนักชิ้นงานแล้ว เราจึงมาระบุ pay load เพื่อเลือกโรบอทหุ่นยนต์แขนกลที่จะเลือกใช้ โดยปกติไม่ควรใช้เต็ม 100% ของ pay load

2. ระยะที่จะให้หุ่นยนต์หยิบ ต้องพิจารณาจากตำแหน่งที่เราต้องการหยิบชิ้นงานจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 ว่ามีระยะห่างกันเท่าไร ซึ่งไม่ควรหยิบแบบสุดปลายแขน เนื่องจากยิ่งเอื้อมไปยาวมากเท่าไร ความแข็งแรงก็จะน้อยลง หากเปรียบเทียบกับแขนของคนในการยกของหนักในระยะใกล้ ๆ ด้วยแขนที่งอข้อศอกอยู่ จะทำให้การยกของนั้นใช้กำลังน้อยกว่าการยกแบบเอื้อมสุดปลายแขน นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณาวิธีการออกแบบจัดวางตำแหน่งการหยิบด้วย เช่น ในงานกลุ่ม robot load unload หรือ machine tending จะนำเครื่องจักร CNC มาตั้งไว้รอบ Robot หุ่นยนต์แขนกล เช่น วางไว้ด้านซ้ายและขวาของ Robot หุ่นยนต์แขนกล ทำให้สามารถหยิบได้ทั้งซ้ายและขวาโดยใช้ Robot หุ่นยนต์แขนกลเพียงตัวเดียว

3. จำนวนแกน หรือประเภทของ Robot หุ่นยนต์แขนกล พิจารณาจากลักษณะการเคลื่อนของชิ้นงานที่ต้องการหยิบ เช่น หยิบขึ้นมาหมุนจากซ้ายไปขวาแล้ววางลงแค่นั้น หรือต้องบิดข้ออื่นเพิ่มเพื่อให้ชิ้นงานเข้าไปอยู่ในตำแหน่งหรือมุมที่ต้องการได้

4. ความเร็วในการหยิบ พิจารณาจากปริมาณงานที่ต้องการหยิบเทียบกับเวลาที่ต้องการหยิบ โดยปกติจะคิดเป็นชิ้น/นาที เช่น ต้องการหยิบ 60 ชิ้นต่อนาที หมายถึง Robot หุ่นยนต์แขนกล ต้องหยิบ 1 ชิ้นจากจุดที่ 1 ไปจุดที่ 2 ในเวลา 1 วินาที ซึ่งการหยิบเร็ว ๆ แบบนี้จะเหมาะกับ Scara robot หรือ Delta robot ในบางกรณี Delta robot สามารถหยิบของบนสายพาน 3 ชิ้นต่อการหยิบ 1 ครั้ง จากมือจับ gripper ที่เป็นแบบลมดูด รับสัญญาณจากกล้องให้หยิบชิ้นงานบนสายพาน 3 ครั้ง ก่อนจะไปเก็บในกล่องเท่ากับ 1 รอบการหยิบ หากหยิบ 3 ชิ้นต่อนาทีใน 1 นาที ก็จะหยิบได้ถึง 180 ชิ้นต่อนาที

ต้องการโซลูชันอัตโนมัติ Robot หุ่นยนต์แขนกล มาที่ “บริษัท มายโกรว์เทค (ประเทศไทย) จำกัด 

ตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์ แขนกล โปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ออกแบบ และผลิต ระบบออโตเมชัน ที่เข้าใจความต้องการลูกค้าอย่างแท้จริง พร้อมด้วยหุ่นยนต์หลากหลายแบรนด์ ABB, Atom delta robot, Epson, Fanuc, Nachi, Turin, Cubebox Tezmaksan และมือจับ Gripper Zimmer และ Ratary indexing Weiss จากเยอรมนี ครอบคลุมหุ่นยนต์ทุกประเภทการใช้งาน มีสินค้าให้เลือกทั้งจากเยอรมนี สวีเดน ญี่ปุ่น จีน เพื่อตอบโจทย์การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนคุ้มค่าและรวดเร็วที่สุด 

สอบถามเพิ่มเติม
Mygrowtech (Thailand) Co., Ltd. / บริษัท มายโกรว์ เทค ( ประเทศไทย ) จำกัด
คุณ ชูชาติ ศิวเวทกุล ผู้จัดการทั่วไป Tel. 094-939-1639
Email: [email protected]
LINE: @mygrowtechthailand Tel: 02-130-6542, 098-902-6542
www.mygrowtechthailand.com