KKC Bearing แนะนำใช้ CAM ROLLER จาก McGill ตลับลูกปืนที่แหวนนอกหนาพิเศษ ทนทานทุกการใช้งาน
CAM ROLLER โดย McGill ตลับลูกปืน (BEARING) ที่มีลักษณะแหวนนอกหนาเป็นพิเศษ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงโดยตรง และหมุนไปตามแนวแรงที่มากระทบ โดยแกนในจะอยู่กับที่
ตลับลูกปืน CAM ROLLER สามารถจำแนกได้เป็น 2 แบบหลัก คือ
1. CAM FOLLOWER แบบมีแกนเป็นแขน (INTEGRAL STUD)
2. CAM YOKE ROLLER แบบไม่มีแกน
ทั้งสองแบบนี้สามารถใช้แทนกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะงานของเครื่องจักรและเพลา CAM
FOLLOWER มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีแขนและสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า ในขณะที่ CAM YOKE ROLLER มักจะมีแกนยื่น 2 ข้าง นิยมใช้ในงานที่รับงานหนักเพราะไม่มีปัญหาเรื่องมุมเห หรือการโค้งงอของแกน
CAM ROLLER ถูกออกแบบมาครั้งแรกเพื่อใช้ในงานรับแรงเพลาลูกเบี้ยว (CAM) ด้วยคุณสมบัติที่ต่างจากตลับลูกปืนแบบอื่น ๆ คือ แหวนนอกหนา มีแกนในตัว ใช้เม็ดลูกปืนเป็นส่วนประกอบรับแรงกระแทก (SHOCK LOAD) CAM ROLLER จึงถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพราะสะดวกต่อการติดตั้ง การใช้งานและการบำรุงรักษา เช่น เป็นตัวรับแรงโดยตรงบนราง (TABLE SUPPORT) และเป็นลูกกลิ้งในการส่งลำเลียง (CONVEYOR SYSTEM) เป็นต้น
การนำ CAM ROLLER ไปใช้งาน มี4 ลักษณะ คือ
- INTERNAL CAM รับแรงกระแทกภายใน
- EXTERNAL CAM รับแรงกระแทกภายนอก
- GUIDE ROLLER เป็นตัวกำหนดทิศทางการวิ่ง
- TRACK ROLLER เป็นตัวรับน้ำหนักและการวิ่ง
คุณสมบัติเด่นของ CAM ROLLER
1.แกนใน (STUD) เป็นชิ้นเดียวตลอด ผลิตจากเหล็กลูกปืนอัลลอย (BEARING QUALITY ALLOY STEEL) ชุบแข็งในส่วนที่เม็ดลูกปืนวิ่งอยู่ ส่วนแกนที่ยื่นออกมาสามารถดัดแปลงได้ ในระบบนิ้ว มีให้เลือกทั้งแกนเล็ก (CF) และ แกนใหญ่ (CFH) เพื่อให้เหมาะสมกับงาน
2. ระบบเม็ดลูกปืน (ROLLING ELEMENT) McGill ได้ทำระบบเม็ดลูกปืนไว้ 3 แบบ คือ
2.1 ระบบเม็ดลูกปืนเข็มเรียงติดกัน (FULL COMPLEMENT NEEDLE ROLLER) จะมีอยู่ใน แบบ CF / CFH / CYR / MCF / MCYR
2.2 ระบบมีรังบังคับเม็ด (CAGED NEEDLE ROLLER) โดยแต่ละช่องของรังที่แบ่งไว้ จะมีเม็ดลูกปืนอยู่ 2 เม็ด ซึ่งจะได้ประสิทธิภาพในการรับแรงดี และการหมุนที่ดีกว่าช่องละ 1 เม็ด จะมีใช้อยู่ในระบบมิล MCFR และ MCYRR
2.3 ระบบเม็ดลูกปืนทรงกระบอก 2 แถว เรียงติดกันหมด (DOUBLE ROW CYLINDRICAL ROLLER BEARING) เป็นระบบที่ใช้รับน้ำหนักมาก ๆ โดยเฉพาะ มีอยู่ในรุ่น CFD / MCYRD
3. แหวนวงนอก (OUTER – RING) มีความหนามากกว่า เนื่องจากใช้เม็ดลูกปืนเข็มทำให้สามารถรับแรงกระแทกได้ เช่นในงาน CAM ซึ่งในตลับลูกปืนแบบอื่น ๆ ไม่สามารถให้ได้ วัสดุที่ใช้ทำแบบเดียวกับแกนในแต่ละชุบแข็งตลอดตัว
4. แหวนประกบ (END PLATE) ประกบให้ส่วนประกอบทำงานอยู่ด้วยกัน แหวนนี้ยังสามารถรับแรงในแนวแกนเพลาได้ (THRUST LOAD)
5. ซีลแบบ LUBRI – DISC SEAL วัสดุทำด้วย MOLY – DISULFIDE – FILLED NYLON ทนอุณหภูมิได้ –54 องศา ถึง 121 องศา สามารถป้องกันสิ่งสกปรกเข้าไปภายใน และกันจาระบีที่กักขังอยู่ ไม่ให้ไหลออกมา ทำให้ลดการเปลี่ยนถ่ายจาระบีลงเหลือเพียง 1 ใน 3 ของแบบอื่น ขณะเดียวกันยังสามารถลดแรงเสียดทานที่เกิดระหว่างหน้าสัมผัสของแกนใน และแหวนนอกได้ เมื่อเกิดแรงกระทำในแนวแกนเพลา (THRUST LOAD)
6. มีร่องเก็บจาระบี (RESERVOIR) ด้านในของแหวนนอกเพื่อเสริมจาระบีที่ขาดไปใน ROLLER
7. หัวขัน (DRIVE HOLE) มีให้เลือกทั้งแบบใช้ไขควง และใช้ประแจหกเหลี่ยมขันเพื่อการตั้งแรงที่ละเอียดและมั่นคงกว่า
8. การหล่อลื่น (LUBRICATION) ในรุ่น CAMROL มีทางเดินจาระบีถึง 3 ทาง ที่ปลาย 2 ข้าง และที่แกนซึ่งอัดจากเสื้อ
9. ผิวหน้า (SURFACE) ทั้งหมดเป็นเหล็กชุบดำเพื่อป้องกันสนิม
สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่
บริษัท เค เค ซี แบริ่ง เซอร์วิส จำกัด
Tel.: 02-752-8462 Fax: 02-752-8464
Email: [email protected]
Website: http://www.kkcbearing.com