Augmented Reality (AR) ซ่อมบำรุงเครื่องบิน, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม

การซ่อมบำรุงเครื่องบินสมัยใหม่ด้วย Augmented Reality (AR)

อัปเดตล่าสุด 27 ก.ย. 2566
  • Share :
  • 2,080 Reads   

นักวิจัยจาก Fraunhofer ได้พัฒนาโซลูชันสำหรับซ่อมบำรุง Airbus A400M ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม หรือ Augmented Reality (AR) ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางซ่อมบำรุงเครื่องบินสมัยใหม่ได้

วันที่ 3 กรกฎาคม 2023 สถาบัน Fraunhofer เพื่อการสื่อสาร การประมวลผลข้อมูล และการยศาสตร์ FKIE ประเทศเยอรมนี ได้เผยแพร่ข่าวงานวิจัยเรื่อง “การบำรุงรักษาและการบริการเครื่องบินด้วย Augmented Reality (AR)” มีรายละเอียดดังนี้

เครื่องบินสมัยใหม่มีการติดตั้งอุปกรณ์และส่วนประกอบทางกลและอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก เครื่องบินอย่าง Airbus A400M มีเครื่องยนต์ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากกว่า 10,000 ชิ้น ทำให้การซ่อมบำรุงเป็นงานที่มีความต้องการสูง แต่ด้วยคู่มือการใช้งานที่มีโครงสร้างเป็นระบบ มีความยุ่งยาก และอาจใช้งานได้ยากสำหรับช่างอากาศยาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจำเป็นต้องอ้างอิงคู่มือหลายเล่มพร้อมกัน

Advertisement

การซ่อมบำรุงเครื่องบินสมัยใหม่เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน การใช้แว่นตาอัจฉริยะ AR พร้อมการแสดงภาพข้อมูล 3 มิติ ช่วยให้ช่างซ่อมเครื่องบินทำงานง่ายขึ้น องค์ประกอบเสมือนจริง เช่น คำแนะนำ จอแสดงผล และเครื่องมือทางเทคนิคสามารถสั่งการได้ด้วยท่าทาง เสียง และการจ้องมอง ด้วยความช่วยเหลือของระบบความเป็นจริงเสริม (AR)

นักวิจัยที่ทำงานในโครงการ Ariel ในแผนก Human-Machine Systems ที่ Fraunhofer FKIE ได้ประเมินว่า AR สามารถช่วยช่างเครื่องในงานบำรุงรักษาเครื่องบินได้อย่างไร โดยศึกษาการใช้งานในสองกรณี คือ “การแสดงผลในห้องนักบิน” และ “การบำรุงรักษาแบตเตอรี่ในศูนย์บริการ”

แนวคิดต้นแบบสำหรับ Airbus A400M ได้รับการทดสอบด้วยแว่นตา AR สองประเภท ได้แก่ Microsoft HoloLens 2 และ Epson Moverio BT-300 โดยให้ความสำคัญกับการออกแบบการแสดงภาพข้อมูล 3 มิติที่เหมาะสมและเทคนิคการโต้ตอบ เช่น ท่าทาง การจ้องมอง และการควบคุมด้วยเสียง โดยคำนึงถึงปัญหาการใช้งาน ประสบการณ์ผู้ใช้ และความสะดวกสบาย มีผู้เข้าร่วมทดสอบ 5 คนซึ่งเป็นช่างเครื่องของเครื่องบิน 

Martin Mundt นักวิทยาศาสตร์ในแผนก Human-Machine Systems ได้พัฒนาแนวคิดในการนำแว่นตาอัจฉริยะ AR มาใช้งานในหลายแง่มุม และพัฒนาปฏิสัมพันธ์ที่เป็นเอกลักษณ์สำหรับแว่นตาแต่ละคู่ อ้างอิงตามข้อกำหนดต่าง ๆ ในหมวดหมู่ของการใช้งาน การจัดองค์กร และการออกแบบ

แนวคิดนี้ยังได้รับการปรับให้เข้ากับพื้นที่การใช้งานที่แตกต่างกัน เช่นในห้องนักบินที่มีพื้นที่จำกัดทำให้การโต้ตอบด้วยท่าทางถูกจำกัดท่าที่ไม่ใช้พื้นที่กว้างขวางนัก และเมื่อมีระดับเสียงเพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการจดจำเสียง โดยขยายกฎเกณฑ์ที่มีอยู่นำไปใช้ในรูปแบบ 3 มิติ และเสริมด้วยแอนิเมชันที่แสดงขั้นตอนบนส่วนประกอบแบบเสมือนจริง เช่น การวัดความต้านทานของแบตเตอรี่ หรือสัญลักษณ์พิเศษบนแบบจำลองของห้องนักบิน

ทีมงานอาศัยเทคนิคการป้อนข้อมูลหลายรูปแบบ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบได้อย่างอิสระ ทั้งการให้ผู้ใช้งานต้องดูองค์ประกอบนั้นนานเท่าใดจึงจะทริกเกอร์ได้ หรือผู้ใช้งานสามารถเปิดใช้งานองค์ประกอบการโต้ตอบได้โดยการกดด้วยนิ้วชี้

โดยรวมแล้ว แว่นตาอัจฉริยะนี้ได้รับการจัดอันดับว่าใช้งานง่ายจากผู้ทดสอบ ซึ่งทีมวิจัยได้จัดทำแอปพลิเคชันสาธิตการใช้งาน และยังได้พัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ใช้แอนิเมชันเพื่อสอนท่าทางพื้นฐานและเทคนิคการโต้ตอบให้กับผู้ใช้

ทีมวิจัยวางเป้าหมายในการพัฒนาขั้นถัดไปสำหรับการบำรุงรักษาระยะไกล ซึ่งต้องมีฟังก์ชันอื่นเพิ่มเติม เช่น การบันทึกและแปลงข้อมูลรวมถึงสถานะการทำงานเป็นดิจิทัล การโทรติดต่อผู้เชี่ยวชาญ หรือโต้ตอบระหว่างกัน ไปจนถึงการใช้งานในกรณีอื่นที่สามารถได้รับประโยชน์จากการใช้ AR ในงานซ่อมบำรุง ซึ่งรวมถึงการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานฝีมือในภาคส่วนต่าง ๆ ได้

 

#Aircraft #Aerospace #MRO #AR #technology #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH