เปิดตัว “แพ็คแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนได้ สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า"
สวทช. โดยศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ ENTEC เผยต้นแบบ “แพ็คแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนได้ สำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า” ที่ผ่านมาตรฐานระดับสากลแล้ว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิ ตรหลายภาคส่วนวิจัยและพั ฒนาเทคโนโลยี “แพลตฟอร์มแพ็คแบตเตอรี่ มาตรฐานแบบสับเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า” เพื่อเร่งยกระดับอุ ตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ าในประเทศไทยและขับเคลื่อนไปสู่ การเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิ ภาคอาเซียนตามเป้าหมายนโยบายส่ งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์สมั ยใหม่ของรัฐบาล
- รถยนต์ไฟฟ้า xEV จดทะเบียนใหม่ 2566 เดือน มี.ค. รวม 16,490 คัน BEV โตต่อเนื่อง 892%
- เจาะแผนฮอนด้า 2023 การเปลี่ยนแปลงองค์กรและการใช้พลังงานไฟฟ้า
- นโยบาย EV ในมุมมองของ O.E.I. Group ผู้ผลิตชิ้นส่วนชั้นนำของไทย | กระดุมเม็ดบน
- ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกปี 2023 คาดโตแตะ 14 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 35%
วันที่ 15 มิถุนายน 2566 ดร.พิมพา ลิ้มทองกุล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวั ตกรรมพลังงานสะอาด ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (เอ็นเทค) หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้ าแห่งชาติ มีแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้ าในประเทศด้วยนโยบาย 30@30 คือตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030
ซึ่งรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่ งในประเภทของยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้ รับความสนใจในการพัฒนาเพื่อให้ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ไฟฟ้าแห่งชาติ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้สนใจใช้ งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในไทยเพิ่ มมากขึ้น โดยในปี 2565 ตลาดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าเติบโตถึง 100% โดยมียอดจดทะเบียนใหม่ประมาณ 7,300 คัน แต่ยังถือเป็นสัดส่วนน้อยมากเมื่ อเทียบกับจำนวนรถจักรยานยนต์ทั้ งหมดที่ผลิตได้ในประเทศกว่า 2 ล้านคันต่อปี เนื่องจากมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ายังมี ราคาสูงและยังไม่ตอบสนองความต้ องการการใช้งานได้เต็มรูปแบบ
“ในประเทศไทยและอาเซียนมีการใช้ งานมอเตอร์ไซค์เป็นจำนวนมาก เฉพาะประเทศไทยมีผู้ใช้ งานมอเตอร์ไซค์มากถึง 21 ล้านคัน และมีการใช้งานที่หลากหลายทั้ งบริการส่งอาหาร ส่งพัสดุ และบริการส่งผู้โดยสาร ในขณะที่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าก็มี ความหลากหลายเช่นกัน อีกทั้งพลังงานของแบตเตอรี่ในปั จจุบันไม่สามารถตอบสนองการใช้ งานได้ในระยะการขับขี่แต่ ละรอบเวลาการบริการ โดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน และยังมีข้อจำกัดด้านเวลาที่ใช้ ในการเติมพลังงาน โดยอาจใช้เวลาอย่างต่ำ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง ทำให้ไม่สะดวกต่อผู้ใช้งาน จึงเกิดแนวคิดการสับเปลี่ยนแพ็คแบตเตอรี่ หรือ battery swapping โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ซึ่งใกล้เคียงกับการเติมน้ำมัน”
“อย่างไรก็ตาม การสับเปลี่ยนแพ็คแบตเตอรี่ ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าในปัจจุบั นยังจำกัดอยู่เพียงการสับเปลี่ ยนภายในมอเตอร์ไซค์จากผู้ ประกอบการรายเดียวเท่านั้น เนื่องจากไม่มีข้อกำหนดกลางด้ านรูปแบบผลิตภัณฑ์แพ็กแบตเตอรี่ และสถานีประจุไฟฟ้า เราจึงเริ่มทำโครงการวิจัยพั ฒนารูปแบบแพ็กแบตเตอรี่แบบสั บเปลี่ยนได้สำหรับมอเตอร์ไซค์ ไฟฟ้า ที่สลับเปลี่ยนใช้งานได้เมื่ อแบตเตอรี่หมดและอยู่ระหว่ างการชาร์จ เพื่อสร้างมาตรฐานของแพ็คแบตเตอรี่และสถานีชาร์จ ให้ใช้ได้กับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ าหลายรุ่น หลายผู้ผลิต รวมถึงสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ข้ ามสถานีกันได้”
ทั้งนี้ โครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์ มแพ็คแบตเตอรี่มาตรฐานแบบสั บเปลี่ยนสำหรับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ าเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ สมัยใหม่ในประเทศไทย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนั กงานคณะกรรมการส่งเสริมวิ ทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้ านการเพิ่มความสามารถในการแข่ งขันของประเทศ (บพข.) ร่วมกับบริษัทเบต้า เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่น จำกัด, บริษัทจีพี มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทบางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, บริษัทไอ-มอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด, บริษัทกริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด และสวทช. โดยวิจัยและพัฒนาร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้ าธนบุรีและมหาวิทยาลัยขอนแก่น
“ในประเทศไทยและอาเซียนมีการใช้
“อย่างไรก็ตาม การสับเปลี่ยนแพ็คแบตเตอรี่
ทั้งนี้ โครงการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์
ปัจจุบันทีมวิจัยได้ต้นแบบแพ็คแบตเตอรี่แบบสับเปลี่ยนสำหรั บมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ผ่ านมาตรฐานระดับสากลแล้ว 1 รุ่น ต้นแบบมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2 รุ่น 2 ยี่ห้อ รวม 15 คัน และต้นแบบตู้สับเปลี่ยนแบตเตอรี่ 3 รุ่น รวม 3 ตู้ สำหรับติดตั้งที่สถานีชาร์จ 3 แห่ง ได้แก่ บริเวณหน้าศูนย์ประชุมอุทยานวิ ทยาศาสตร์ประเทศไทย สวทช. จ.ปทุมธานี ปั๊มน้ำมันบางจาก เอกมัย-รามอินทรา คู่ขนาน 4 กรุงเทพมหานคร และศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จ.นนทบุรี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนิ นการทดสอบการใช้งานภาคสนาม เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับจัดทำข้ อเสนอแนะความเป็นไปได้ในการพั ฒนาแพลตฟอร์มสำหรับประเทศไทยต่ อไป
ดร.พิมพา บอกถึงข้อดีของการมีแพลตฟอร์ มแพ็คแบตเตอรี่มาตรฐานว่ าจะทำให้เราสามารถผลิตแพ็คแบตเตอรี่รูปแบบเดียวที่ใช้ได้ กับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าหลายรุ่ นหลายผู้ผลิต รวมถึงใช้งานสถานีสับเปลี่ ยนแบตเตอรี่ได้หลากหลายผู้ให้ บริการ เกิดการร่วมใช้โครงสร้างพื้ นฐานของสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ลดราคาการติดตั้งสถานีหลายรุ่ นหลายแห่ง เพิ่มความสะดวกในการสับเปลี่ ยนแบตเตอรี่ให้แก่ผู้ใช้ งานมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และผู้ขับขี่ยังเข้าถึ งเทคโนโลยีแบตเตอรี่ล่าสุดที่ สถานีสับเปลี่ยนได้ และที่สำคัญคือช่วยให้ราคาต้นทุ นของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าและแพ็คแบตเตอรี่ลดลง
“เมื่อเรามีมาตรฐานทางเทคนิ คกลางระหว่างแบตเตอรี่ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ตู้ประจุไฟฟ้า รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสับเปลี่ ยนแบตเตอรี่ของมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ าในประเทศไทย จะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ให้บริ การด้านแบตเตอรี่ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า และตู้ประจุไฟฟ้าในแต่ละราย ดำเนินการระหว่างกันได้ผ่ านมาตรฐานกลางที่กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมอเตอร์ ไซค์ไฟฟ้าสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการผลิต การถือครองมอเตอร์ไซค์ แพ็ค แบตเตอรี่และสถานีประจุไฟฟ้ า และจะส่งผลให้เกิดการใช้ งานยานยนต์ไฟฟ้าแพร่หลายมากขึ้น
“เมื่อเรามีมาตรฐานทางเทคนิ
มีผลิตภัณฑ์ที่ได้ มาตรฐานในราคาที่ถูกลง แบตเตอรี่ที่สิ้นสุดการใช้ งานจากมอเตอร์ไซค์อาจจะมี การนำไปใช้ต่อได้หรือจะถูกจั ดการได้ง่ายขึ้น ลดการปล่อยมลพิษ และที่สำคัญคือเราได้องค์ความรู้ ที่จะช่วยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ อยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์สมั ยใหม่ของประเทศ เกิดการสร้างตลาดของผลิตภัณฑ์ที่ ได้มาตรฐาน สามารถต่อยอดให้เกิดอุ ตสาหกรรมและบริการรูปแบบใหม่ ตามมาอีกมากมาย”
ความร่วมมือในครั้งนี้ไม่เพี ยงวิจัยพัฒนาเพื่อตอบโจทย์อุ ตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างคนสร้างองค์ ความรู้ที่จะเป็นรากฐานสำคั ญของการสร้างความมั่นคงทางด้ านเศรษฐกิจ และสร้างความยั่งยืนทางสั งคมและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศ
ความร่วมมือในครั้งนี้ไม่เพี
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH