ความก้าวหน้าเทคโนโลยีอวกาศของจีน, Space, CASC, CCSHQ, China

ความก้าวหน้าเทคโนโลยีอวกาศของจีน

อัปเดตล่าสุด 17 ส.ค. 2566
  • Share :
  • 5,477 Reads   

นับตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนศตวรรษ จีนได้กลายเป็นมหาอำนาจด้านอวกาศจนกลายเป็นคู่แข่งกับโครงการสำรวจอวกาศของมนุษย์จาก NASA ในการพัฒนายานอวกาศไร้คนขับที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้เพื่อแข่งขันกับ X-37B Orbital Test Vehicle (OTV)

วันที่ 8 พฤษภาคม 2023 - รอยเตอร์รายงานยานอวกาศทดลองของจีนกลับสู่โลกหลังจากอยู่ในวงโคจรนาน 276 วัน สื่อทางการของจีนรายงานว่า เสร็จสิ้นภารกิจหลักในการทดสอบเทคโนโลยีอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ของประเทศ 

Advertisement

Shenlong ("มังกรศักดิ์สิทธิ์") เป็นชื่อที่เรียกขานของยานอวกาศจีนที่นำกลับมาทดลองใหม่ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า Chongfu Shiyong Shiyan Hangtian Qi (CSSHQ) ระหว่างการบินทดสอบในครั้งก่อน (CSSHQ-1) ขึ้นบินเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2020 และใช้เวลาในการบินระยะเวลาสั้น ๆ เพียงแค่สองวันในวงโคจร และเที่ยวบินที่สอง (CSSHQ-2) บินขึ้นจากศูนย์ปล่อยดาวเทียม Jiuquan ในทะเลทรายโกบีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2022 และมีรายงานว่าลงจอดอีกครั้งที่ Juiquan ในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม 2023 .

สำนักข่าว Xinhua ของทางการจีนออกแถลงการณ์ไม่นานหลังจากยานลงจอด โดย China Aerospace Science and Technology Corp (CASC) ผู้ผลิตเครื่องบินอวกาศ ได้ให้ถ้อยแถลงผ่าน Xinhua บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของจีนอย่าง Wechat

ยานอวกาศที่นำกลับมาทดสอบใหม่ประสบความสำเร็จในการปล่อยบินที่ศูนย์ส่งดาวเทียมจิ่วฉวนและกลับลงจอดตามกำหนดในวันที่ 8 พฤษภาคม หลังจากขึ้นบินในวงโคจรเป็นเวลา 276 วัน ความสำเร็จทั้งหมดของการทดสอบนี้ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการวิจัยเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยียานอวกาศกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสะดวกและประหยัดต้นทุนมากขึ้นในการใช้เทคโนโลยีอวกาศอย่างสันติในอนาคต

ไม่มีการให้รายละเอียดเกี่ยวกับภารกิจ ยานอวกาศ หรือการดำเนินการใด ๆ ในวงโคจร อย่างไรก็ตาม แอนดรูว์ โจนส์ ผู้สื่อข่าวของ SpaceNews ได้สรุปกิจกรรมของ CCSHQ ตลอดเที่ยวบินในระหว่างทำการทดสอบว่า ยานอวกาศได้ทำการบินซ้อมวนรอบในวงโคจรขนาดเล็ก และค่อย ๆ เพิ่มวงโคจรในระหว่างทำการบิน โดยมีการปรับเปลี่ยนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการลงจอด ซึ่งการลงจอดน่าจะเกิดขึ้นที่ฐานทัพ Lop Nur ในซินเจียง เมื่อเวลาประมาณ 0020 UTC 

ตามรายงานของโจนส์ในเดือนสิงหาคม 2022 ยานอวกาศยังปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่วงโคจรเป็นเวลา 90 วันหลังจากขึ้นบิน แม้จะไม่ทราบวัตถุประสงค์และลักษณะของดาวเทียมดวงนี้ แต่ข้อมูลที่ได้รับจาก US Space Force (USSF) เผยให้เห็นว่า ดาวเทียมขนาดเล็กยังคงอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับยานอวกาศ แม้ว่าเที่ยวบินนี้จะเป็นก้าวสำคัญสำหรับการวิจัยของจีนเกี่ยวกับเทคโนโลยียานอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ แต่ก็เทียบไม่ได้กับความสำเร็จของ X-37B ซึ่งทำการบินทดสอบไปแล้ว 6 เที่ยวบินตั้งแต่เดือนเมษายน 2010

ในระหว่างการบินครั้งสุดท้าย (OTV-6) OTV ใช้เวลากว่าเก้าร้อยวันในอวกาศ และแม้แต่ทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์หลายชุดขณะอยู่ในวงโคจร เช่นเดียวกับกิจกรรมของ CCSHQ รายละเอียดเกี่ยวกับเที่ยวบินของ OTV ยังคงเป็นความลับ อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวหลายแห่งยืนยันว่าวัตถุประสงค์การทดลองดังกล่าวรวมถึงการพัฒนายานสำรวจวงโคจร ทางการจีนอาจจะนำไปใช้งานทางทหาร และการทดสอบเทคโนโลยียานอวกาศที่นำกลับมาใช้ใหม่ของเครื่องยนต์ไฮเปอร์โซนิก และระบบนำทางอัตโนมัติ

การพัฒนาล่าสุดนี้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของเทคโนโลยีสถานีอวกาศ หุ่นยนต์สำรวจดวงจันทร์ (โปรแกรมฉางเอ๋อ) และดาวอังคาร (ยานสำรวจอวกาศเทียนเหวิน-1 และยานสำรวจจู่หรง) รวมถึงการบินอวกาศด้วยลูกเรือ ทำให้จีนกลายเป็นมหาอำนาจระดับโลก

ปลายทศวรรษนี้ จีนวางแผนที่จะส่งไทโคนอตชุดแรกไปยังดวงจันทร์ และสร้างสถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์ (International Lunar Research Station-ILRS) แข่งขันโดยตรงกับโครงการอาร์ทิมิสของนาซา โดยจีนปักธงที่จะส่งภารกิจแรกไปยังดาวอังคารในปี 2033 ซึ่งเป็นเวลาที่ NASA หวังจะทำเช่นเดียวกัน

 

#Space #CASC #CCSHQ #China #ยานอวกาศ #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH