CATL เปิดตัว "ฉีหลิน" แบตเตอรี่ CTP 3.0 บรรลุระดับการเชื่อมต่อสูงสุดในโลก
CATL เปิดตัว ฉีหลิน (Qilin) เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTP รุ่นที่ 3 ประสิทธิภาพการใช้ความจุทำลายสถิติที่ 72% และความหนาแน่นของพลังงานสูงสุดถึง 255 Wh/kg
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ซีเอทีแอล (CATL) เปิดตัว ฉีหลิน (Qilin) เทคโนโลยีแบตเตอรี่ CTP (cell-to-pack) รุ่นที่ 3 ของบริษัท ที่มาพร้อมประสิทธิภาพการใช้ความจุทำลายสถิติที่ 72% และความหนาแน่นของพลังงานสูงสุดถึง 255 Wh/kg ทำให้แบตเตอรี่รุ่นนี้บรรลุระดับการเชื่อมต่อสูงที่สุดในโลกในปัจจุบัน และสามารถส่งกำลังเป็นระยะทางไกลกว่า 1,000 กม. ได้อย่างง่ายดาย
ซีเอทีแอลมุ่งเน้นไปที่ธรรมชาติของไฟฟ้าเคมี และยังคงเดินหน้าผลักดันนวัตกรรมในโครงสร้างระบบให้ทะลุขีดจำกัดอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ซีเอทีแอลเปิดตัวแบตเตอรี่ CTP แบบไม่ใช้โมดูลรุ่นแรกของโลก พร้อมทั้งเป็นผู้นำในการบรรลุประสิทธิภาพการใช้ความจุที่มากกว่า 50% ทั้งนี้ ด้วยความก้าวหน้าโดยรวมในกระบวนการหลัก ตลอดจนอัลกอริทึม และวัสดุ ซีเอทีแอลจึงกลายเป็นผู้กำหนดนิยามใหม่ในการออกแบบโครงสร้างแบตเตอรี่ ด้วย "ฉีหลิน" ซึ่งตั้งชื่อตาม “กิเลน” สัตว์ในเทพนิยายปรัมปราของจีน
การรวมฟังก์ชัน - ในแบตเตอรี่ CTP 3.0 มีส่วนประกอบต่าง ๆ ได้แก่ คานแนวขวาง แผ่นระบายความร้อนด้วยน้ำ และแผ่นนำความร้อน ซึ่งถูกรวมเข้ากับอินเตอร์เลเยอร์ที่ยืดหยุ่นแบบมัลติฟังก์ชั่น นอกจากนี้ยังมีไมครอนบริดจ์ภายในอินเตอร์เลเยอร์ ซึ่งรองรับการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ได้อย่างยืดหยุ่น อันเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของแบตเตอรี่ตลอดอายุการใช้งาน หน่วยพลังงานแบบบูรณาการ ซึ่งประกอบด้วยเซลล์และอินเตอร์เลเยอร์ที่ยืดหยุ่นแบบมัลติฟังก์ชั่นนี้ สร้างโครงสร้างรับน้ำหนักที่เสถียรมากขึ้นในแนวตั้งฉากกับทิศทางการขับ ซึ่งช่วยเพิ่มความต้านทานการกระแทกและการสั่นสะเทือนของแบตเตอรี่
- CATL เปิดตัว "แบตเตอรี่โซเดียมไอออนรุ่นแรก" สู่การใช้งานระบบแบตเตอรี่ลิเธียม-โซเดียมที่หลากหลายยิ่งขึ้น
- แบตเตอรี่โซลิดสเตต สำคัญไฉน?
- CATL เปิดตัวโซลูชันสลับแบตเตอรี่ EVOGO พร้อมฟีเจอร์สลับแบตเตอรี่แบบโมดูลาร์
การปรับโครงสร้างระบบ - ซีเอทีแอลขับเคลื่อนด้วยการประมวลผลที่แม่นยำและความสามารถในการจำลอง AI ซึ่งช่วยขยายขอบเขตของการออกแบบแบตเตอรี่ให้รองรับสถานการณ์การใช้งานต่าง ๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ การออกแบบพื้นที่ที่ชาญฉลาดช่วยให้สามารถจัดเรียงส่วนประกอบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการปกป้องโครงสร้าง การเชื่อมต่อไฟฟ้าแรงสูง และช่องระบายอากาศสำหรับการป้องกันความร้อน ซึ่งเพิ่มความจุของแบตเตอรี่ได้ 6% ในขณะเดียวกัน แบตเตอรี่ CTP 3.0 ยังผ่านเกณฑ์การทดสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ที่กำหนดโดยมาตรฐานระดับประเทศ เช่น การทดสอบเสากั้นทนแรงชน เป็นต้น
การออกแบบระบบระบายความร้อนที่ก้าวล้ำ - เทคโนโลยีการระบายความร้อนของเซลล์บนพื้นผิวขนาดใหญ่ด้วยการวางชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนระหว่างเซลล์ที่อยู่ติดกัน จะเพิ่มพื้นที่การถ่ายเทความร้อนได้ถึงสี่เท่า ลดเวลาการควบคุมความร้อนลงครึ่งหนึ่ง และรองรับการเชื่อมไฟฟ้าภายใน 5 นาที และการชาร์จเร็วใน 10 นาที ช่วยให้เซลล์เย็นลงอย่างรวดเร็วในสถานการณ์ที่รุนแรง ป้องกันการนำความร้อนผิดปกติระหว่างเซลล์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมอบความเสถียรทางความร้อนและความปลอดภัยจากความร้อนสำหรับระบบเคมีทั้งหมด ทำให้สามารถใช้แบตเตอรี่รุ่นนี้กับวัสดุที่มีความหนาแน่นของพลังงานสูงขึ้นได้
ซีเอทีแอลวางแนวคิดทางวิศวกรรมเชิงระบบไว้ในทุกขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่วัสดุ เซลล์ ไปจนถึงโครงสร้างระบบ แบตเตอรี่ CTP 3.0 ซึ่งใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่กล่าวถึงข้างต้น สามารถเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานเป็น 255Wh/kg สำหรับระบบแบตเตอรี่ Ternary และ 160Wh/kg สำหรับระบบแบตเตอรี่ LFP ทั้งนี้ แม้มีระบบเคมีที่เหมือนกันและขนาดที่เท่ากัน แต่แบตเตอรี่รุ่นนี้ให้พลังงานมากกว่าแบตเตอรี่ 4680 ถึง 13% ส่งผลให้บรรลุการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างรอบด้าน รวมถึงการชาร์จเร็ว ความปลอดภัย อายุการใช้งาน สมรรถนะ และประสิทธิภาพที่อุณหภูมิต่ำ
ทั้งนี้ คาดว่าแบตเตอรี่ CTP 3.0 หรือ ฉีหลิน จะถูกผลิตจำนวนมากและออกสู่ตลาดในปี 2566 โดยซีเอทีแอลยังคงมุ่งเน้นไปที่ความเฉลียวฉลาดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอิสระ ตั้งแต่การประมวลผลจำลองไปจนถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพภายในโครงสร้างแบตเตอรี่ ด้วยเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าให้แซงหน้ารถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH