10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง-ดาวร่วงปี 2564 (10 Rising Star Business in 2021)

10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2564

อัปเดตล่าสุด 25 ธ.ค. 2563
  • Share :
  • 1,880 Reads   

♦ ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม และธุรกิจ E-Commerce ครองแชมป์ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 1 แห่งปี 2564
♦ ธุรกิจแพลตฟอร์ม ธุรกิจทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า ขึ้นแท่นดาวรุ่งอันดับ 2
♦ ตามด้วยธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต ติดดาวรุ่งอันดับ 3

เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์ฯ ได้เผยผลวิจัยทางธุรกิจเกี่ยวกับแนวโน้ม 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2564

10 ธุรกิจเด่น หรือ ธุรกิจดาวรุ่งมาแรงในปี 2564 ได้แก่ 

  1. ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม และ ธุรกิจ E-Commerce

  2. ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์) และ ธุรกิจทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า
  3. ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
  4. ธุรกิจเครื่องมือแพทย์ และ ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์
  5. ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิเคราะห์และจัดการข้อมูล
  6. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และ ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ
  7. ธุรกิจบน Street Food
  8. ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์และ delivery และ ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินฝากระบบเทคโนโลยี
  9. ธุรกิจตู้หยอดเหรียญฯ เช่น ร้านสะดวกซัก เครื่องเติมเงิน เครื่องเติมน้ำ เป็นต้น  
  10. ธุรกิจทางด้านกฎหมายและบัญชี และ ธุรกิจออกแบบและผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง

 

โดยผลการวิจัยครั้งนี้ ได้อ้างอิงปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ รายละเอียดดังนี้

ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกันรวมทั้งความกังวลต่อโรคอุบัติใหม่อื่นๆ 2) การนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการแบบวิถีใหม่ เช่น การตรวจรักษาทางไกล การใช้ระบบจองคิวการบริการ 3) กระแสการให้ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพและการดูแลความงามยังมีอย่างต่อเนื่องมีการลงทุนพัฒนาและนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ 4) คุณภาพการรักษาของประเทศไทยมีราคาไม่แพง และได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ 5) การขยายธุรกิจสถานพยาบาลเป็นธุรกิจ wellness มากขึ้น และ 6) การดูแลและรักษาสุขภาพของประชาชนมากขึ้น

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) สถานการณ์ด้านรายได้ที่ลดลงของประชาชนทำให้กำลังซื้อลดลง 2) การแข่งขันที่รุนแรงของธุรกิจ 3) การแข่งขันทางด้านราคาเพิ่มมากขึ้น เช่น การแข่งขันการทำโปรโมชั่นด้านราคา และบริการแบบออนไลน์ 4) การเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยี 5) การปลอมแปลงเวชภัณฑ์ และการหลอกลวงในการให้บริการจนเป็นเหตุให้เกิดความไม่น่าเชื่อถือ และ 6) จำนวนผู้เชี่ยวชาญและความเพียงพอของบุคลากรในการรักษาโดยเฉพาะสาขาพยาบาล และแพทย์เฉพาะทางมีจำนวนจำกัด

ธุรกิจ E-Commerce​ 

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของประชาชน และสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ประชาชนหันมาใช้ซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากขึ้น 2) ผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจ E-commerce มากขึ้นจากสถานการณ์ COVID-19 3) ระบบการขนส่งที่ทันสมัยและรวดเร็ว และมีความสะดวกในจำนวนสาขาที่มากขึ้น 4) มีช่องทางการจำหน่ายจำนวนมากและต้นทุนต่ำ ไม่ต้องมีหน้าร้าน และสามารถซื้อขายสินค้าได้ 24 ชม. 5) ประชากรเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีราคาถูกลง 6) นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น มาตรการคนละครึ่ง นโยบายพร้อมเพย์ (PromptPay) และโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs Go Online เป็นต้น 7) ระบบการชำระเงินที่หลากหลาย สะดวกและรวดเร็ว เช่น เก็บเงินปลายทาง ชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ 8) การมีแอปพลิเคชั่นในการเลือกซื้อสินค้าและบริการโดยมีส่วนลด เงื่อนไข หรือราคาพิเศษให้กับลูกค้าเพิ่มมากขึ้น และ 9) การรีวิวสินค้าของ Net Idol หรือ Youtuber หรือบุคคลที่มีชื่อเสียงและลูกค้าที่เคยใช้สินค้า

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) นโยบายเก็บภาษีธุรกิจค้าขายออนไลน์ 2) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ โดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ที่หันมาทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมทั้งสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ประกอบการไทยเน้นการขายทางออนไลน์มากขึ้น 3) ปัญหาการหลอกขายสินค้า สินค้าไม่ได้คุณภาพ 4) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจขนาดใหญ่ 

ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์)

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) คู่แข่งในตลาดมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะทางด้านของผู้ให้บริการโครงข่าย 2) การพัฒนาอุปกรณ์การสื่อสารหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องมีมากขึ้น 3) การผลักดันให้เกิด 5G ในประเทศไทย 4) พฤติกรรมของคนยุคปัจจุบันเน้นการใช้เทคโนโลยี 5) การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในทุกปี 6) นโยบายภาครัฐที่ให้บริการประชาชนผ่านระบบออนไลน์หรือ Application มากขึ้น 7) สังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมืองมากขึ้น ส่งผลให้ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันที่มีการนำเทคโนโลยีมาช่วยอำนวยความสะดวกในการชีวิตประจำวัน 8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบโทรคมนาคมของไทยที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 9) ราคาอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ มีระดับราคาต่ำลง และมีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย และ 10) นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐในการส่งเสริมการศึกษาโดยผ่านระบบออนไลน์ หรือ Application

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่รวดเร็ว 2) โครงข่ายที่ไม่ครอบคลุมในพื้นที่ที่ห่างไกล 3) ธุรกิจมีการแข่งขันสูงในเรื่องของระดับราคาและคุณภาพ 4) ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จำหน่ายมีการแข่งขันสูง 5) ความปลอดภัยในด้านของข้อมูลส่วนบุคคล และความปลอดภัยในการขโมยข้อมูล และ 6) ต้นทุนการพัฒนาโครงข่าย และค่าสัมปทานการประมูลคลื่น

ธุรกิจทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber และการรีวิวสินค้า

มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมในการติดตามสื่อของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป 2) ในยุคดิจิทัล โซเชียลเป็นที่นิยมกันมากขึ้น เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วและง่ายมากขึ้น 3) เนื่องจากวิกฤต Covid-19 ทำให้คนหันมาใช้บริการผ่านช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น การเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดออนไลน์ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการตอกย้ำให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความสำคัญ 4) ต้นทุนในการประกอบธุรกิจต่ำ และ 5) การได้รับรายได้จากธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง

มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) กฎระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่ไม่เอื่อต่อการดำเนินธุรกิจ 2) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเสมอ ผู้ประกอบการต้องมีสิ่งใหม่ๆ มาอัพเดตและดำเนินการตลอดเวลาเพื่อให้เป็นที่รู้จักและมีผู้ติดตามมากขึ้น 3) เมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเป็นโทษต่อผู้บริโภค ธุรกิจอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ และ 4) ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเรื่องราคาหรือการให้โปรโมชั่น

ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) จากสถานการณ์ COVID-19 ความต้องการซื้อประกันเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและคนในครอบครัวมากขึ้น รวมทั้งมีความรู้และความเข้าใจมีมากขึ้น และลดภาระค่าใช้จ่ายหากมีภัยเกิดขึ้น 2) ค่าครองชีพที่สูงขึ้น โดยเฉพาะการรักษา หรือการซ่อมบำรุงต่างๆ 3) มาตรการลดหย่อนภาษีของภาครัฐที่ยังมีต่อเนื่อง 4) ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับประกันภัยมีจำนวนมากขึ้น และหลากหลาย 5) ประชาชนหันมาให้ความสำคัญการออมในระยะยาวมากขึ้น 6) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการวางแผนทางการเงินของคนยุคปัจจุบัน 7) รัฐบาลมีการส่งเสริมให้มีการทำการประกันภัยมากและประกันชีวิตมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การเกิดโรคอุบัติใหม่ และภัยอันตรายที่เกิดกับประชาชน 2) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งระหว่างบริษัทประกันชีวิตด้วยกันเอง บริษัทประกันสุขภาพ รวมถึงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน 3) การแข่งขันทางธุรกิจในเรื่องของผลิตภัณฑ์และราคาเพื่อจูงใจลูกค้า 4) การเปลี่ยนแปลงของค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น 5) อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 6) ภัยธรรมชาติ 7) ความเชื่อมั่นต่อธุรกิจ (การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนหรือเกินจริงของตัวแทน/การบังคับทำประกันของธนาคาร/ระบบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า) 

ธุรกิจเครื่องมือแพทย์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การเจ็บป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน รวมถึงจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 2) ความต้องการใช้เครื่องมือแพทย์ตรวจวินิจฉัยโรคที่ทันสมัยและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น 3) สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 4) สถานการณ์ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เกิดเพิ่มขึ้น 5) การลงทุนของธุรกิจโรงพยาบาลทั้งการสร้างใหม่และการขยายพื้นที่ให้บริการ จะทำให้ความต้องการอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์เพิ่มขึ้น 6) นโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ในการให้สิทธิพิเศษการลงทุนกับกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตเครื่องมือแพทย์และชิ้นส่วน การเข้ามาลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การลงทุนมีต้นทุนที่สูง 2) มาตรฐานและการรับรองต่างๆ ของเครื่องแพทย์ 3) การปลอมแปลงเและการหลอกลวง 4) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ 5) การขาดแคลนของผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่เป็นที่ต้องการทั่วโลก

ธุรกิจเวชภัณฑ์ยา ธุรกิจการขายส่งสินค้าทางเภสัชภัณฑ์และทางการแพทย์

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้ประชาชนมีพฤติกรรมการเรียนรู้และการศึกษาเกี่ยวกับการรักษา โดยการซื้อยา 2) การซื้อยาผ่านออนไลน์ต่างๆ ทำได้ง่ายขึ้น 3) มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับการรักษา และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุในการทำงาน การเล่นกีฬา และอื่นๆ มากขึ้น 4) ระดับราคาสินค้าไม่สูง 5) จำนวนผู้ป่วยมีมากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) คู่แข่งมาก และมีการตัดราคากัน 2) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจขนาดใหญ่ และร้านสะดวกซื้อ 3) การพัฒนาเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมที่รวดเร็ว 4) ต้นทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ

ธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีวิเคราะห์และจัดการข้อมูล

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) โลกยุคปัจจุบันให้ความส าคัญกับข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูล Bigdata 2) เป็นเทคโนโลยีที่ทั่วโลกก าลังให้ความสนใจ และธุรกิจต่างๆ พยายามพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีในมือให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3) ความชำนาญ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการวิเคราะห์ยังมีอยู่จำกัด ทำให้ไม่มีผู้แข่งขัน 4) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งวิเคราะห์ข้อมูลมีราคาที่สูง ส่งผลให้กำไรที่ธุรกิจได้ยังคงอยู่ในระดับที่สูง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจของธุรกิจ 2) กฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล 3) ความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูล และอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี 4) ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือน้อยส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลผิดพลาด 5) เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการวิเคราะห์และแปลผลมากขึ้น

ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) จากสถานการณ์ Covid-19 ทำให้ความต้องการอาหารปรุงสำเร็จมีมากขึ้น 2) รูปแบบการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว เช่น การสั่งอาหารผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ Application และบริการส่งถึงที่ หรือการรับจัดเลี้ยงในงานประชุม/งานสังสรรค์แบบปรุงสำเร็จ 3) การแปลรูปสินค้าอาหารด้วยนวัตกรรมต่างๆ 4) การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ด้านอาหารและเครื่องดื่มมีมากขึ้น เช่น เพื่อสุขภาพ อาหารฮาลาล อาหาร Fusion Food 5) การพัฒนาอาหารแช่แข็ง ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารได้นาน และเป็นที่นิยมมากขึ้น 6) พฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง 7) ระดับราคาอาหารของประเทศยังมีราคาไม่สูง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การลดเว้นเทศกาลต่าง ๆ 2) ปัญหาภัยธรรมชาติ ส่งผลให้สินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น 3) การเข้ามาแข่งขันของธุรกิจต่างชาติ 4) คู่แข่งทางธุรกิจสูง และแข่งขันกันตัดราคา 5) การเปลี่ยนแปลงการบริโภคตามกระแสนิยม 6) มาตรการกีดกันทางด้านการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษี

ธุรกิจอาหารเสริมและสุขภาพ

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของ covid-19 ทำให้ผู้คนวิตกเรื่องสุขภาพหลายคนหันมาใส่ใจดูแลตัวเองกันมากขึ้น 2) การป้องกันตนเองจากโรค ส่งผลให้สินค้ากลุ่มที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเป็นที่ต้องการมากขึ้น เช่น วิตามิน เครื่องดื่มผสมวิตามิน อาหารเสริมต่าง ๆ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยฟื้นฟูบำรุงร่างกาย 3) มีนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการสร้างผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น 4) เทรนด์สุขภาพขยายตัวได้ดี (Healthy Trend) ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและรวดเร็วผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย 5) ระดับราคาอาหารเสริม และสุขภาพมีราคาไม่สูง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ธุรกิจ 2) ความน่าเชื่อถือและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ 3) การแข่งขันทางด้านราคาเพิ่มมากขึ้น เช่น การแข่งขันการทำโปรโมชั่นด้านราคา

ธุรกิจบน Street Food

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐ “คนละครึ่ง” 2) การได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 3) มีนโยบายสนับสนุนให้เป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยว ด้วยการยกระดับมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย 4) ชื่อเสียงด้าน Street Food ของประเทศไทยที่เป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศ 5) เป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว นักชิมทั้งชาวไทยและต่างชาติ 6) มีการจัดระเบียบพื้นที่ค้าขายบนทางเท้าให้มีความเหมาะสม เพื่อคุ้มครอง ผู้บริโภคและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยวไทย 7) ในปัจจุบันมีช่องทางการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น เช่น โฆษณาผ่านโซเชียล การรีวิวบอกต่อของผู้บริโภค การส่งสินค้าผ่าน Application เช่น Lineman, Grap Food, GET , Foodpanda เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) สถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง 2) ความสะอาดและความปลอดภัยของอาหารความน่าเชื่อถือของธุรกิจ 3) คู่แข่งทางธุรกิจมีจำนวนมาก 4) กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 5) นโยบายการจัดระเบียบผู้ค้าบนทางเท้า 6) ผู้คนในสังคมเมืองเริ่มหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น 7) อัตรายจากการปรุงอาหาร และความสะอาดซึ่งอาจทำให้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นลดลงได้

ธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์และ Delivery

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) บริการส่งสินค้าจากการซื้อผ่านออนไลน์ท าให้ความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 2) การมีธุรกิจแพลตฟอร์มมากขึ้น ทั้งแพลตฟอร์มรับส่งเอกสาร เดินทาง สั่งอาหารส่งสินค้า เป็นต้น 3) การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเศรษฐกิจในภูมิภาค ทำให้มีการขนส่งที่กระจายพื้นที่มากขึ้น4) การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งสินค้า และบริการมีมากขึ้น อาทิ Kerry Grab LineMan 5) การขยายตัวของอีคอมเมิรซ์ทำให้ความต้องการบริการ E-Logistics เพิ่มขึ้น 6) รูปแบบ Delivery ที่พร้อมทั้งส่งตรงสินค้าถึงมือผู้บริโภคภายในวันเดียว (Same Day Delivery) ทำให้ความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้ามากขึ้น

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแข่งขันที่รุนแรง และมีจำนวนผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น จากการเติบโตของธุรกิจ E-commerce 2) ความล่าช้าของการขนส่งสินค้าในช่วงของการ Lockdown ของแต่ละประเทศ ทำให้เกิดความล่าช้าและต้นทุนที่สูงขึ้น 3) ข้อจำกัดด้านเงินทุน ทำให้มีความเสี่ยงของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก 4) ต้นทุนการประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น อาทิ ราคาพลังงาน ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น

ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินฝากระบบเทคโนโลยี

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 2) นโยบายการละเว้นค่าธรรมเนียมทางการเงิน ในการโอน การชำระเงิน และอื่น ๆ 3) การพัฒนาแหล่งการชำระเงินตามร้านค้า ผู้ประกอบการที่มีการชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น 4) การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์เพื่อเข้าสู่สังคมไร้เงินสดโดยการเพิ่มระบบการเงินดิจิตอลเพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินสะดวกยิ่งขึ้นโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปธนาคารสาขา 5) สังคมเมืองที่ต้องการความสะดวกสบาย และการใช้ระยะเวลารอคอยน้อย 6) ระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามีมากขึ้น 7) การสั่งซื้อสินค้า และการทำธุรกรรมผ่านออนไลน์มีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความปลอดภัยในการให้บริการผ่านแฟลตฟอร์ม 2) ความเชี่ยวชาญของบุคลากรในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า 3) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นตามพัฒนาการเทคโนโลยี 4) ข่าวเรื่องความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูล และอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี 5) ความต้องการใช้ผ่านระบบออนไลน์ยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรทั้งประเทศ

ธุรกิจพลังงาน

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความต้องการพลังงานยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้น 2) พลังงานถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นของประเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน 3) เทรนด์ของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ได้ปรับกลยุทธ์มาลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับพลังงานไฟฟ้าตลอด Value chain มากขึ้น 4) นโยบายส่งเสริมของภาครัฐ และกระแสรักษ์โลกที่ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ (low carbon) 5) การพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงาน

ปัจจัยเสี่ยงจาก  1) ปัญหาต้นทุนการผลิตต่อหน่วยโดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) ข้อกฎหมาย ประกาศ กฎ หรือระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานมีจำนวนมากและสร้างอุปสรรคต่อผู้ประกอบกิจการพลังงาน 3) ข้อจำกัดการพัฒนาพลังสะอาดที่ยังคงมีต้นทุนสูง และต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง 4) ความผันผวนของระดับราคาพลังงานของโลก 5) ปัญหาภัยธรรมชาติ 6) เทคโนโลยีในการรองรับการเปลี่ยนแปลงพลังงานยังคงมีจำนวนน้อย

ธุรกิจตู้หยอดเหรียญฯ เช่น ร้านสะดวกซัก เครื่องเติมเงิน เครื่องเติมน้ำ เป็นต้น

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความสะดวก ประหยัดเวลา ที่สอดคล้องกับไลฟสไตล์คนในปัจจุบัน 2) ธุรกิจของหนุ่มสาวยุคใหม่ที่อยากหารายได้เพิ่มจากงานประจำหรือธุรกิจเดิม เพราะไม่ต้องดูแลมาก สามารถทำกำไรให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 3) นอกจากทำธุรกิจร้านสะดวกซื้อแล้วนั้น ยังบริการอื่น ๆ เข้าไปในพื้นที่ได้ เนื่องจากลูกค้าต้องมารอ เช่น เพิ่มบริการขายกาแฟ เพื่อเสริมรายได้พิเศษได้มากขึ้น 4) ไม่จำเป็นต้องจ้างแรงงานเป็นจำนวนมากในการดำเนินธุรกิจ ลดต้นทุนในการจ้างงาน

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) มาตรฐานและการรับรองความสะอาดของธุรกิจ 2) ทำเลที่ตั้งของธุรกิจมีผลต่อความสำเร็จในธุรกิจ 3) แบรนด์ขนาดใหญ่เริ่มเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากทำให้ธุรกิจขนาดเล็กมีความเสี่ยง 4) การลงทุนค่อนข้างสูงขึ้นอยู่กับรูปแบบที่จะดำเนินการเปิดธุรกิจมีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่

ธุรกิจทางด้านกฎหมายและบัญชี

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมในการรักษาสิทธิส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้กฎหมายมีความสำคัญอย่างมาก 2) ภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อธุรกิจ อาทิเช่น การผิดนัดชำระ การจัดทำสัญญาและทวงถาม เป็นต้น 3) การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ ข้อกฏหมาย และมาตรการต่าง ๆ ของประเทศไทยมีมากขึ้นทำให้ต้องมีการติดตามและปรับเปลี่ยนข้อสัญญาต่าง ๆ 4) ปัจจุบันการติดต่อการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านหรือต่างประเทศมีมากขึ้น 5) กฏหมายเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คน 6) นโยบายของภาครัฐที่เข้มงวดขึ้นในการจัดทำบัญชีและภาษีของผู้ประกอบ

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การให้คำปรึกษาผ่านออนไลน์ และการหาความรู้จากสื่อออนไลน์ได้มากขึ้น 2) บุคคลทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจสามารถดำเนินการทางด้านกฎหมายและทางบัญชีเองได้ 3) เทคโนโลยีที่ทันสมัยและสามารถตอบสนองความต้องการผู้ประกอบการในหลากหลายด้าน เช่น บัญชี การให้คำแนะนำกฎหมายเบื้องต้น เป็นต้น 4) ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ 5) มีคู่แข่งทางธุรกิจเพิ่มมากขึ้นและมีความหลากหายมากขึ้น

ธุรกิจออกแบบและผลิตภัณฑ์ แพ็กเกจจิ้ง

ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมของผู้คนที่หันมาสนใจทำธุรกิจของตัวเอง ขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์กลายเป็นส่วนสำคัญในการสร้างแบรด์เพื่อสร้างเอกลักษณ์ให้จดจำได้ง่าย 2) การเพิ่มยอดขายให้กับสินค้า 3) ความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องของเทรนด์รักษ์โลก ยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์มีผลต่อการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าได้มากขึ้น 4) ราคาการให้บริการค่อนข้างสูง 5) มีการเปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ดูทันสมัยและตอบสนองพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความทันสมัย

ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) มีการแข่งขันทางธุรกิจค่อนข้างสูง 2) การปลอมแปลง ลอกเลียนแบบวัตถุดิบ 3) กฎหมายลิขสิทธิ์ และการใช้ตราหรือรูปต่าง ๆ 4) ความน่าเชื่อถือของบริษัทในการออกแบบผลิตภัณฑ์แพ็กเกจจิ้ง

 

อ่านต่อ: