10 อันดับธุรกิจดาวรุ่ง ปี 2566
♦ ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม ครองแชมป์ธุรกิจดาวรุ่งอันดับ 1 แห่งปี 2566
♦ ธุรกิจ E-Commerce ติดดาวรุ่งอันดับ 2
♦ ตามด้วย Social Media และ Online Entertainment , ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี , งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจ Event ติดดาวรุ่งอันดับ 3
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดย รศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์ฯ ได้เผยผลวิจัยทางธุรกิจเกี่ยวกับแนวโน้ม 10 อันดับธุรกิจดาวรุ่งในปี 2566
10 ธุรกิจเด่น หรือ ธุรกิจดาวรุ่งมาแรงในปี 2566 ได้แก่
- ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม
- ธุรกิจ e-Commerce (ธุรกิที่ทำการซื้อขายผ่านอิเล็กทรอนิกส์)
- Social Media และ Online Entertainment , ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินผ่านระบบเทคโนโลยี , งานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า ธุรกิจ Event
- ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber การรีวิวสินค้า และ Influencer , ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์
- ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางด้านอิเล็กทรอนิกส์) และธุรกิจ Matching เช่น Platform หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถอื่นๆ
- ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต , ธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ
- ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง , ธุรกิจ Modern Trade/ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
- ธุรกิจโลจิสติกส์ delivery และคลังสินค้า , ธุรกิจตู้ยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องซักผ้า อาหาร อื่นๆ
- ธุรกิจ e-Sport และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ,ธุรกิจอาหารเสริม , ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีแอลกอฮอลล์)
- ธุรกิจยานยนต์ ,ธุรกิจความเชื่อ (สายมู, หมอดู,ฮวงจุ้ย) , ธุรกิจบันเทิง เช่น ละครหนังซีรีย์ Y และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง , ธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา ใบกระท่อม
โดยผลการวิจัยครั้งนี้ ได้อ้างอิงปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละธุรกิจ รายละเอียดดังนี้
ธุรกิจบริการทางการแพทย์และความงาม
มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความต้องการใช้บริการด้านการแพทย์เพิ่มสูงขึ้น 2) การดูแลเรื่องของความสวยงาม และผิวพรรณของคนในปัจจุบันมีมากขึ้น 3) การกลับมาให้บริการเต็มรูปแบบของธุรกิจ Health & Wellness 4) ไทยมีสถานพยาบาลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน JCI มากถึง 59 แห่ง ซึ่งเมื่อรวมกับค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลที่ไม่สูงมากมื่อเทียบกับคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน จึงทำให้ไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ให้เติบโตต่อไปได้ 5) จากนโยบายการเปิดประเทศคาดว่าท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) จะเริ่มทยอยกลับมาเข้าใช้บริการได้ ในปี 2565 น่าจะอยู่ที่ประมาณ 130,000-180,000 ล้านคน หลักๆ จะเป็นชาวจีน ตะวันออกกลาง และยุโรป
มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) สถานการณ์ด้านรายได้ที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับหนี้สินภาคครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อลดลง 2) กำลังซื้อในประเทศที่ถูกกดดันมากขึ้นจากปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งอาจกระทบต่อการตัดสินใจใช้จ่ายด้านสุขภาพของผู้บริโภค 3) ภาวะการแข่งขันที่รุนแรง การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงมาตรการควบคุมราคายา เวชภัณฑ์ และบริการทางการแพทย์ ที่ยังคงเป็นข้อจำกัดส่งผลให้ธุรกิจเติบโตต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ได้
ธุรกิจ E-Commerce
มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ผู้บริโภคมีพฤติกรรมปรับลดการใช้จ่ายผ่านหน้าร้าน เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างซุปเปอร์ต่าง ๆ มาเป็นการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถซื้อขายได้ตลอด 24 ชม.มากขึ้น และมีระบบการชำระเงินที่หลากหลาย
2) ต้นทุนในการทำการซื้อขายผ่านออนไลน์มีต้นทุนที่ต่ำ ทำให้ระดับราคาสินค้าต่ำกว่าหน้าร้าน 3) ผู้ประกอบการหันมาทำธุรกิจ e-Commerce มากขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีแนวทางการเลือกสินค้าได้ และมีรูปแบบการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย
4) การขยายตัวของชุมชนเมืองและการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลาง หนุนความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค 5) การรีวิวสินค้าของบุคคล (ดารา, Youtuber และ Influencer) ที่มีชื่อเสียงและลูกค้าเคยใช้สินค้า
มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ภาวะเงินเฟ้อส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น ประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากกว่าเดิม 2) ปัญหาการหลอกขายสินค้า ไม่แสดงราคากำกับ และสินค้าไม่ได้คุณภาพ 3) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งจากคู่แข่งเดิมและคู่แข่งรายใหม่ และกำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว 4) การแข่งขันทางด้านราคา ทำให้กำไรของธุรกิจค่อนข้างต่ำสวนทางกับต้นทุนที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันและภาวะเงินเฟ้อที่ขยายตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน 5) ระบบโลจิสติกส์หรือการจัดส่งสินค้าที่อาจล่าช้าและมีต้นทุนที่สูงขึ้น
ธุรกิจ Social Media และ Online Entertainment
มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ประชาชนรับชมภาพยนตร์และรายการต่างๆ ผ่าน Streaming Platform มากขึ้น 2) การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่สามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชม. 3) การเพิ่มขึ้นของการโปรโมทโฆษณาผ่าน Social Influencer อาทิเช่น Net-Idol หรือ Youtuber 4) ธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ หันมาโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น 5) พฤติกรรมการรับชมสื่อผ่าน Application เพิ่มขึ้น 6) พฤติกรรมการเล่น Social Media เพิ่มขึ้น 7) กระแสเทคโนโลยีเมตาเวิร์สที่เริ่มเข้ามามีบทบาทกับวงการสื่อและสิ่งบันเทิง
มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ผู้บริโภคบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงสื่อผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์ไม่เป็น 2) การแข่งขันที่รุนแรงในช่องทีวีดิจิทัล 3) ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเตอร์ของผู้บริโภคบางส่วน 4) การเติบโตของรายจ่ายด้านโฆษณา อ้างอิงเศรษฐกิจในประเทศที่กำลังฟื้นตัว 5) การเปลี่ยนแปลงของการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 6) โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี และโครงข่ายต่างๆ ที่ยังไม่ครอบคลุม
ธุรกิจด้าน Fintech และการชำระเงินฝากระบบเทคโนโลยี
มีปัจจัยสนับสนุนจาก 1) มีความหลากหลายทางธุรกรรมการเงิน เช่น การชำระค่าสินค้า การใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตและเครดิต การให้สินเชื่อผ่านระบบโมบายแบงก์กิ้งสำหรับการช๊อปปิ้งออนไลน์ การให้กู้ยืมระหว่างกัน (peer-to-peer lending) หรือจะเป็นด้านการลงทุน 2) Mobile Technology : ซึ่งยังคงมีแนวโน้มการใช้งานเพิ่มขึ้น และจะยิ่งเชื่อมต่อทุกคนให้เข้าถึง Fintech 3) นโยบายการละเว้นค่าธรรมเนียมทางการเงิน การโอน การชำระเงิน ฯลฯ 4) การพัฒนาแหล่งการชำระเงินตามร้านค้าดั้งเดิม ร้านค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการที่มีการชาระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น 5) พฤติกรรมการชำระเงินด้วยอิเล็กทรอนิกส์มีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ 6) รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการทำธุรกรรมผ่านดิจิทัลมากขึ้น โดยเฉพาะการออกมาตรการช่วยเหลือจากการระบาดของโควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง“ และนโยบายกระตุ้นการบริโภคต่างๆ
มีปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อความปลอดภัยในการให้บริการผ่านแฟลตฟอร์มของธนาคาร 2) ภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Hacker) ที่เพิ่มสูงขึ้นตามพัฒนาการเทคโนโลยี 3) ข่าวเรื่องความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูล และอาชญากรรมทางด้านเทคโนโลยี เช่น มิจฉาชีพแอบอ้างเป็นธนาคารผู้ให้บริการเงินกู้แล้วหลอกลวงเงิน ผ่าน SMS ไลน์ เฟซบุ๊ก แอปเงินกู้ และโทรศัพท์ 4) การปลอมแปลงหน้าตา application ของสถาบันการเงินต่างๆ 5) การหลอกลวงนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในทางที่มิชอบ
ธุรกิจงานคอนเสิร์ต มหกรรมจัดแสดงสินค้า งาน Event
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) หลังการเปิดประเทศ ทำให้งานคอนเสิร์ตมหกรรมจัดแสดงสินค้า, Event สินค้า และช่วยฟื้นฟูธุรกิจ MICE กระเตื้องขึ้น โดยได้แรงหนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคัก 2) การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่สามารถรับชมได้ตลอด 24 ชม. 3) ภาครัฐสนับสนุนการจัดนิทรรศการและงานแสดงสินค้าสามารถดึงเม็ดเงินจากนักธุรกิจต่างชาติและเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่จะฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ 4) ผู้บริโภคมีความต้องการในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ หลังจากไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ได้มากในช่วงที่ผ่านมา
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การจัดประชุม (Meeting) แบบออนไลน์ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้หลายหน่วยงานหลายธุรกิจ งานนิทรรศการ รวมถึงงานแสดงสินค้าหันมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพราะต้นทุนต่ำและมีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง 2) ต้นทุนด้านพลังงานสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินงานด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น 3) ความไม่แน่นอนเรื่องของสถานการณ์โควิด-19 4) ภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ยังคงมีความเสี่ยงในหลายด้าน
ธุรกิจจัดทำคอนเทนต์ ธุรกิจ Youtuber การรีวิวสินค้า และ Influencer
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมในการติดตามสื่อของคนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไป 2) การเพิ่มขึ้นของช่องทางในการสื่อสาร โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์ ที่สามารถรับชมได้ตลอด 24 ชม. 3) พฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบันให้ความสนใจกับ Influencer 4) การเพิ่มขึ้นของการโปรโมทโฆษณาผ่าน Social Influencer อาทิเช่น Net-Idol หรือ Youtuber 5) กลยุทธ์การเพิ่มยอดขายของธุรกิจผ่าน Application มีเพิ่มขึ้น 6) ธุรกิจขนาดเล็ก-ใหญ่ หันมาโปรโมทสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น 7) การเข้าสู่ตลาดเกี่ยวกับ Youtuber ง่ายและมีต้นทุนการด าเนินการที่ต่ า
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) กฎระเบียบ กฎหมายต่างๆ ที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ 2) เมื่อเกิดความผิดพลาดหรือเป็นโทษต่อผู้บริโภค ธุรกิจอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการ 3) ข้อจำกัดในการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตของผู้บริโภคบางส่วน 4) ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเรื่องราคาหรือการให้โปรโมชั่น 5. ศิลปินดาราผันตัวมาเป็น Youtuber มากขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันในตลาด Influencer มีความรุนแรงมากขึ้น 6. AI Influencer หรือ Virtual Influencer เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มเข้ามามี
บทบาทในปัจจุบัน เพื่อทำการตลาดเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับแบรนด์ต่างๆ และยังเสียค่าใช้จ่ายในการทำงานน้อยกว่าคนจริงๆ
ธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการส่งออก การท่องเที่ยว และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์เติบโตได้ดีขึ้น 2) การปรับเปลี่ยนรูปแบบการโฆษณา ที่เป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะมากขึ้น 3) ประมาณการณ์อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 2565 จะเติบโต 5-8% จากเศรษฐกิจฟื้นตัวเร็ว โดยสื่อยอดนิยมยังคงเป็นสื่อออนไลน์ที่มีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น โดยผ่านทางแพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย อย่าง TikTok, Youtube, facebook, instragram ฯลฯ 4) สื่อโฆษณาที่กลับมามีอิทธิพลมากขึ้น คือสื่อนอกบ้านและสื่อเคลื่อนที่ตลอดจนสื่อในโรงภาพยนตร์
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) เงินเฟ้อยังคงเป็นปัจจัยต่อตลาดสื่อโฆษณาโดยรวม 2) ธุรกิจมีการแข่งขันในตลาดสูง โดยเฉพาะสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึง
ธุรกิจแพลตฟอร์ม (ธุรกิจตัวกลางหรือตลาดกลางทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ และ ธุรกิจ Matching เช่น platform หาคู่ สั่งอาหาร เรียกรถ อื่นๆ
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ท าให้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2) ตลาดอีคอมเมิร์ซไทยเติบโตเพิ่มขึ้นมา ทำให้ธุรกิจแพลตฟอร์มเติบโตด้วย เนื่องจากมีความพร้อมในด้าน Ecosystem เช่น ความพร้อมด้าน Logistics, Payment, ตัวเลขผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน ฯลฯ 3) กระแสของธุรกิจแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ทำให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงจุดกลายเป็นวิถีชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบัน 4) พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปสู่วิถีสังคมเมืองที่เร่งรีบ และต้องการความสะดวกสบาย ประกอบกับการเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตของสังคมเมือง (Urbanization) 5) พฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่เข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างมาก 6) (แพลตฟอร์มหาคู่) จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้โอกาสการพบปะผู้คนลดลงและต้องทำงานอยู่ในบ้าน (WFH) ทำให้แพลตฟอร์มหาคู่บนโลกออนไลน์เป็นทางออกสำหรับคนที่ไม่มีเวลาในการพบปะผู้คน 7) (ธุรกิจเรียกรถยนต์รับจ้าง) การผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศของรัฐบาล ทำให้เห็นนักท่องเที่ยวเริ่มกลับมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การให้บริการเรียกรถจึงเป็นทางเลือกของการเดินทางที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และยังตอบโจทย์ทั้งในด้านความสะดวกสบายและมาตรฐานความปลอดภัย
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ธุรกิจมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้เหนือกว่าคู่แข่ง 2) จำนวนบุคลากร/ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมีจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับความต้องการ 3) ความไม่ชัดเจนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4) ระบบการรักษาความปลอดภัยและการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล 5) การเปลี่ยนแปลงของระดับเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว 6) การก่ออาชญกรรมทางด้านเทคโนโลยี 7) (ธุรกิจจัดส่งอาหาร-เรียกรถ) ราคาพลังงานโลกที่ปรับตัวสูง 8) (ธุรกิจจัดส่งอาหาร-เรียกรถ) ภาระค่าครองชีพที่สูงขึ้น กำลังซื้อผู้บริโภคยังอ่อนแอ ทำให้ผู้คนระวังการใช้จ่ายและการใช้บริการ 9) (แพลตฟอร์มหาคู่) อัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น และแนวโน้มที่คนหนุ่มสาวแต่งงานเพื่อสร้างครอบครัวลดลง 10) การแข่งขันที่รุนแรง และสร้างผลกระทบไปยังธุรกิจดั้งเดิม (แท็กซี่)
ธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ผลิตภัณฑ์มีจ านวนมากขึ้น หลากหลาย และมีราคาถูก ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภค 2) ประกันสุขภาพยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ตื่นตัวในเรื่องการรักษาสุขภาพ 3) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและการวางแผนการเงินของคนยุคปัจจุบัน ทาให้ประกันชีวิตแบบบำนาญและประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked) มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น 4) ธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิตเริ่มปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยนำสินค้าและบริการแพลตฟอร์มสู่ดิจิทัลมากขึ้น 5) ความต้องการซื้อประกันสุขภาพยังมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ภายใต้ข้อจำกัดด้านบริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแข่งขันที่รุนแรงขึ้นทั้งระหว่างบริษัทประกันชีวิตด้วยกันเองบริษัทประกันสุขภาพ รวมถึงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน 2) อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน 3) ความไม่แน่นอนของภัยธรรมชาติ 4) ความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือต่อธุรกิจ (การให้ข้อมูลที่ไม่ชัดเจนหรือเกินจริงของตัวแทน/การบังคับทำประกันของธนาคาร/ระบบความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า) 5) ภาวะเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย อัตราเงินเฟ้อในปัจจุบันที่อยู่ในระดับสูงส่งผลให้ค่าครองชีพสูงขึ้น และหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มชะลอการใช้จ่ายมากขึ้น
ธุรกิจบันเทิงยามค่ำคืน ผับ บาร์ คาราโอเกะ
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) รัฐบาลประกาศให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น รวมถึงการเปิดประเทศแบบเต็มรูปแบบของไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 2) รัฐบาลอนุญาตให้เปิดกิจการสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะที่ได้รับรองมาตรฐาน อาทิเช่น SHA Plus หรือ Thai Stop COVID 2 Plus และสถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน 3) นักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยคาดว่าในช่วงปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนไทยกว่า 18 ล้านคน 4) ประเทศต่างๆ คลายกฎควบคุมที่เข้มงวดในการเดินทาง เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนครอบคลุมมากขึ้น 5) ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดท่องเที่ยวสำคัญที่สุดของไทย น่าจะเริ่มทยอยผ่อนคลายควบคุมการเดินทางประมาณช่วงกลางปี 2566 6) ภาครัฐดำเนินมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงอยู่ เป็นข้อจำกัดในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวบางประเทศ บางกลุ่ม 2) ความเสี่ยงจากสภาวะเศรษฐกิจโลกอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอย 3) แนวโน้มต้นทุนทางธุรกิจของผู้ประกอบการปรับตัวสูงขึ้น จากเงินเฟ้อ และปัจจัยอื่นๆ 4) นโยบาย zero covid เป็น 0 ของประเทศจีน ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวจีนน้อย
ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม ทัวร์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาด ปี 2566 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนไทย เป็นจำนวนกว่า 18 ล้านคน และจะสร้างรายได้ประมาณ 9.7 แสนล้านบาท เพิ่มจากปี 2565 ที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 10 กว่าล้านคน 2) ไทยมีความได้เปรียบด้านค่าครองชีพและราคาห้องพัก การคมนาคมที่สะดวกมากขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาเป็นลำดับ การขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ หนุนให้การท่องเที่ยวไทยสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 3) รัฐบาลได้ผลักดันแผนการกระจายแหล่งท่องเที่ยวสู่พื้นที่ต่างๆ มากขึ้น อาทิ การท่องเที่ยวเมืองรอง ในภูมิภาคหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการลงทุนขยายธุรกิจโรงแรมกระจายตัวเพิ่มมากขึ้น 4) ตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดท่องเที่ยวส าคัญที่สุดของไทย อาจจะเริ่มทยอยผ่อนคลายควบคุมการเดินทางประมาณช่วงต้นปี 2566 5) นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ต้องการให้คนไทยเที่ยวในประเทศ เช่น นโยบายเราเที่ยวด้วยกัน เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ข่าวความเสี่ยงเศรษฐกิจหลักของโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ประเด็นไต้หวัน และสถานการณ์รัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ 2) ธุรกิจโรงแรมยังคงแข่งขันรุนแรง และจำนวนของผู้แข่งขันที่มีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ความต้องการของตลาดฟื้นตัวอย่างช้าๆ ทำให้การปรับราคาห้องพักทำได้ยาก 3) แนวโน้มต้นทุนทางธุรกิจปรับตัวสูงขึ้น เช่น ต้นทุนราคาสินค้า พลังงาน รวมถึง ต้นทุนทางการเงินอย่างอัตราดอกเบี้ย ซึ่งยังมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น 4) การเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะจีน อาจน้อยหากรัฐบาลยังคงนโยบาย zero covid
ธุรกิจ Modern Trade / ร้านค้าปลีกสมัยใหม่
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มค่อย ๆ ฟื้นตัวดีขึ้น ตามความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายและกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ทยอยฟื้นตัว และการกลับมาใช้ชีวิตประจำวันตามปกติมากขึ้น 2) การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติขยายตัวดีขึ้น 3) กระแสความนิยมการซื้อสินค้าออนไลน์ ของห้างสรรพสินค้าเพราะมีความน่าเชื่อถือ 4) การปรับธุรกิจให้มีรูปแบบ delivery 5) ความต่อเนื่องของมาตรการของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ 6) พฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย อาทิ ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าหลายประเภทในที่แห่งเดียว ตั้งแต่อาหาร ของใช้ส่วนบุคคล และของใช้ในครัวเรือน 7) พฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ที่เน้นความเป็นระเบียบและความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าเอง
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง คือ ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนและการว่างงานที่จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภค 2) พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีความเคยชินกับการซื้อสินค้าออนไลน์ 3) การแข่งขันด้านการตลาดและราคาค่อนข้างรุนแรง 4) คู่แข่งจากร้านค้าออนไลน์ (E-commerce) มีเพิ่มอย่างรวดเร็ว 5) สินค้าฟุ่มเฟือยยังคงเผชิญกับความท้าทายจากกำลังซื้อที่ยังเปราะบางและปัญหาเงินเฟ้อที่อาจส่งผลให้การฟื้นตัวเป็นไปอย่างจำกัด
ธุรกิจโลจิสติกส์ Delivery คลังสินค้า
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) บริการส่งสินค้าจากการซื้อผ่านออนไลน์และการขยายตัวของอีคอมเมิรซ์ ทำให้ความต้องการใช้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 2) การมีธุรกิจแพลตฟอร์มมากขึ้น ทั้ง แพลตฟอร์มรับ-ส่งเอกสาร เดินทางสั่งอาหาร ส่งสินค้า เป็นต้น 3) การเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างเศรษฐกิจในภูมิภาค การเพิ่มจำนวนของสาขาทำให้มีการขนส่งที่กระจายพื้นที่มากขึ้น 4) การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งสินค้ามีมากขึ้น อาทิเช่น Kerry ,Grab , Line Man, Flash Express ฯลฯ 5) เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวจากการเปิดประเทศของคู่ค้าสำคัญทำให้ยอดส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง 6) การสนับสนุนภาครัฐ เช่น ผลักดันโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและวิสาหกิจ
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ภาพรวมการแข่งขันรุนแรง และการลงทุนขยายพื้นที่ให้เช่าต่อเนื่องของผู้ประกอบการรายใหญ่เพิ่มมากขึ้น และการขยายการลงทุนของผู้เล่นรายใหม่หรือผู้ประกอบการต่างชาติ และผู้ประกอบการร่วมทุนกันเพื่อขยายบริการ
2) ต้นทุนการประกอบการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ และวิกฤติสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ อาทิ ราคาพลังงาน ค่าน้ำมัน ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
ธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องซักผ้า อาหาร อื่นๆ
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) พฤติกรรมของคนในปัจจุบัน (ไลฟ์สไตล์) เปลี่ยนแปลงไป ไม่นิยมอยู่บ้านต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก รวดเร็ว สะอาดและประหยัดเวลา ทำให้ตอบโจทย์ในเรื่องของระยะเวลาของคนเมือง 2) การลดการสัมผัส จากเชื่อไวรัสโควิด ทำให้เครื่องอัตโนมัติต่างๆ มีมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค 3) ความสะดวก ประหยัดเวลา ที่สอดคล้องกับไลฟสไตล์คนในปัจจุบัน 4) ไม่จำเป็นต้องจ้างแรงงานเป็นจำนวนมากในการดำเนินธุรกิจ 5) ระบบเทคโนโลยีที่สามารถอำนวยความสะดวก และสามารถตอบสนองความต้องการของคนได้ทุกที่ 6) ลดต้นทุนแรงงานลง โดยการใช้เทคโนโลยี
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ภาวะการแข่งขันในธุรกิจที่รุนแรง การเข้ามาแข่งขันของแบรนด์ขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางมีความเสี่ยงในการแข่งขันสูง 2) มาตรฐานและการรับรองความสะอาดของธุรกิจ 3) การเลือกทำเลที่ตั้งของธุรกิจมีผลต่อความสำเร็จในธุรกิจ 4) การลงทุนค่อนข้างสูง ขึ้นอยู่กับรูปแบบที่จะดำเนินการเปิดธุรกิจมีทั้งขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดใหญ่
ธุรกิจ E-Sports
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ตลาดเกมมิ่งและอีสปอร์ต เติบโตต่อเนื่อง ในกลุ่ม GEN Z และวัยทำงาน และเป็นเครื่องมือทางการตลาดจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างน่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง 2) เกมในไทยมีแนวโน้มเติบโตถึง 18.7 ล้านคน และมีผู้ชม E-sports ในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 10.7 ล้านคนในปี 2570 3) แรงงานเฉพาะด้านของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากมหาวิทยาลัยในไทยเพิ่มหลักสูตรเกี่ยวกับเกมส์มากขึ้น 4) ภาครัฐมีนโยบายสนับสนุนตลาด E-sports สนับสนุนเงินทุน และสิทธิประโยชน์ในการลงทุน และมองว่า E-sports จะเป็น 1 ใน New S-Curve 5) การพัฒนาเกมส์และการเข้าถึงเกมส์ต่างๆ มีมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ปัญหาการพนันที่เกิดขึ้น จากเกมส์ต่างๆ ที่มีการแข่งมากขึ้น 2) ความไม่เข้าใจของพ่อแม่ผู้ปกครองเกี่ยวกับธุรกิจ E-Sports 3) การแข่งขันการพัฒนาเกมส์ต่างๆ ที่มีมากขึ้น 4) โครงสร้างพื้นฐานในการรองรับธุรกิจ e-sports ที่ยังไม่ครอบคลุม
ธุรกิจอาหารเสริม
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ผู้บริโภคใส่ใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่ม Gen Y ที่มีกำลังซื้อสูงและการก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงวัย 2) การดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 3) ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับภาพลักษณ์ และรูปร่างหน้าตามากขึ้นจึงหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 4) ประชาชนนิยมอาหารที่ทำมาจากพืช ผัก ผลไม้ (Plant based) มากขึ้น ส่งผลให้อาหารเสริมเป็นตัวเลือกที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี 5) ช่องทางการจำหน่ายสินค้าออนไลน์/ทีวีช้อปปิง และแพลตฟอร์มขายของออนไลน์ อื่นๆ เช่น Lazada, Shopee และ Facebook 6) นวัตกรรมในการผลิตอาหารเสริมต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น และมีความหลากหลาย
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ธุรกิจมีจำนวนมาก และมีการเข้ามาแข็งขันอย่างต่อเนื่อง (Over Supply) ต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่สูง 2) การแข่งขันด้านโปรโมชั่นที่เข้มข้น ตัดราคากันเอง ใช้เครื่องมือการตลาดคล้ายๆกัน ขาดจุดเด่นที่ชัดเจน 3) วงจรธุรกิจสั้นเพียง 1-2 ปี แล้วต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 4) การปลอมแปลง ลอกเลียน และสินค้าคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน 5) ความน่าเชื่อถือของตราสินค้าและคุณภาพ
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (ที่ไม่มีแอลกอฮอลล์)
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) กระแสการใส่ใจสุขภาพมากขึ้นของผู้คน โดยเฉพาะน้ำดื่มผสมวิตามินและเครื่องดื่มสูตรหวานน้อย/สารทดแทนความหวาน 2) กิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัว ร้านอาหารและสถานบันเทิงกลับมาเปิดให้บริการได้อย่างเต็มที่ 3) พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาเลือกซื้ออาหารแช่แข็ง (frozen food) และอาหารพร้อมรับประทาน (ready to eat) มากขึ้นจากระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมา และการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ที่มีสาขาจำนวนมาก และมี
การเพิ่มโปรดักต์ที่หลากหลายมากขึ้น 4) จำนวนนักท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปี 65 5) งานเทศกาลต่างๆ สามารถจัดกิจกรรมได้ตามปกติ
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่ม 2) ผู้ผลิตยังมีความเสี่ยงจากต้นทุนการผลิตที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูง และ นโยบายภาครัฐที่อาจจัดเก็บภาษีตามปริมาณโซเดียมเป็นการเพิ่มภาระต้นทุน 3) ค่าครองชีพที่สูงขึ้นผู้บริโภคอาจลดการบริโภคหรือระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น เช่น เครื่องดื่มต่างๆ เป็นต้น 4) จำนวนคู่แข่งที่มีมาก
ธุรกิจยานยนต์
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฟื้นตัวได้ดีจะเป็นกลุ่มรถบรรทุกและกลุ่มรถจักรยานยนต์ ขณะที่กลุ่มรถยนต์นั่งและรถโดยสารฟื้นตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาคการท่องเที่ยว 2) มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ระบบประหยัดพลังงาน ระบบการขับขี่ด้วยความปลอดภัย ระบบการถอยจอดอัตโนมัติ เป็นต้น จูงใจความต้องการซื้อของผู้บริโภค 3) ยอดขายรถยนต์ในประเทศมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ทยอย
ฟื้นตัว 4) รัฐบาลผลักดันอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่การเป็นฐานการผลิตและการลงทุนยานยนต์ที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก มีแนวโน้มยาวนานกว่าที่คาด ซึ่งจะกระทบมายังอุตสาหกรรมปลายน้ำอย่างรถยนต์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในการผลิต 2) ต้นทุนในการผลิตปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาเหล็ก ส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรขั้นต้น 3) แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ EVs ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Supply chain อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยในระยะยาว โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเครื่องยนต์และระบบส่งกำลังของยานยนต์สันดาปภายใน 4) ค่าครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังการซื้อของประชาชนที่ลดลง
ธุรกิจความเชื่อความศรัทธา (สายมูเตลู, หมอดู, ฮวงจุ้ย)
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ความไม่มั่นคงของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทำให้ประชาชนเกิดความกลัวจากความไม่แน่นอนในชีวิต ความเชื่อความศรัทธาจึงเข้ามามีบทบาทและอิทธิพลในการเป็นที่พึ่งให้กับชีวิต 2) ธุรกิจการให้บริการบนความเชื่อได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ซินแส, หมอดู, Influencer ที่มีคอนเทนต์เกี่ยวกับสายมูเตลูโดยเฉพาะ หรือผู้แทนจำหน่ายหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3) เป็นที่นิยมจากชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น เสริมบารมีด้วยการสักยันต์ 4) กลุ่มลูกค้าคือกลุ่มที่ยินดีจะจ่ายในทุกราคาเพื่อสิ่งที่ตนเองเชื่อ 5) เครื่องลางของขลัง หรือสิ่งแทนความเชื่อความศรัทธาถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยและเข้าถึงได้ง่าย เช่น เครื่องประดับและอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ (จี้ สร้อยข้อมือ แหวนฯลฯ) ตุ๊กตาลูกเทพ เป็นต้น 6) ช่องทางในการเข้าถึงหลากหลายขึ้นโดยเฉพาะ Social Media รวมไปถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ เช่น การแก้บนออนไลน์, การดูดวง เป็นต้น
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) บุคคลแอบอ้างหรือมิจฉาชีพที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ 2) ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ 3) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 4) การหลอกลวง และอาชญากรรมที่เกิดขึ้น 5) กระแสมาเร็วไปเร็ว
ธุรกิจบันเทิง เช่น ละคร หนัง ซีรีย์ Y และธุรกิจเกี่ยวเนื่อง
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) หน่วยภาครัฐผลักดันเป็น Soft Power ตามแนวนโยบายของรัฐบาล 2) สามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ และเป็นที่ชื่นชอบโดยเฉพาะตลาดจีน 3) ปัจจุบันไทยเปิดกว้างเรื่องของเพศสภาพมากขึ้น และกระแสการขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศ ทำให้เป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น 4) การผลิตงานซีรี่ย์ Y มีมากขึ้น และรองรับผู้ชมที่มีความหลากหลาย โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเพศหญิงและเพศทางเลือก 5) การเติบโตของเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มออนไลน์ ทำให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงเอนเตอร์เทนเม้นท์ได้ง่ายขึ้น 6) การเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มจากเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว อาทิ การตามรอยซีรีย์และรายการบันเทิง (Reality Show) ฯลฯ
7) มีแพลตฟอร์มดูหนัง ซีรีส์ อย่าง WeTV และ Viu ที่ช่วยทำให้ซีรีส์ไทยเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) การแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง คู่แข่งมีจำนวนมาก รวมถึงยังส่งผลกระทบต่อนักแสดงหน้าใหม่ที่จะแจ้งเกิดได้ยากขึ้นตามไปด้วยเช่นเดียวกัน 2) การยอมรับของละคร หนัง ซีรีย์ Y ที่ยังไม่เป็นที่ถูกต้องตามวัฒนธรรมหรือ
กฎหมายกฎระเบียบของบางประเทศ
ธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา ใบกระท่อม
ปัจจัยสนับสนุนจาก 1) ประเทศไทยเปิดเสรีกัญชา และใบกระท่อม โดยไม่ถือเป็นสารเสพติด 2) ประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบสมุนไพรคุณภาพชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน 3) กระแสความต้องการสมุนไพรไทยในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกลุ่มกัญชง กัญชา กระท่อม และฟ้าทะลายโจร 4) มูลค่าวัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 5) รัฐบาลปลดล็อก กัญชง กัญชา พ้นจากสถานะเป็นยาเสพติด (กรณีผลผลิตมีค่า
THC ไม่เกิน 0.2%) 6) การเข้าถึงกัญชา ใบกระท่อม ที่ง่าย และพบเห็นได้ทั้ง ออนไลน์ และออฟไลน์ทุกช่วงวัยได้มากขึ้น 7) การพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพ
ปัจจัยเสี่ยงจาก 1) มีการปลอมแปลง หลอกลวง และอวดอ้างสรรพคุณเกินความเป็นจริง จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค 2) ประชนชนยังมีความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการใช้น้อย โดยเฉพาะสมุนไพรที่เพิ่งได้รับการปลดล็อก อาทิเช่น กันชง กัญชา และกระท่อม 3) ปริมาณวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมีเพียงพอใกล้เคียงต่อความต้องการใช้ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม 4) ภาครัฐไม่สามารถควบคุมการใช้สมุนไพรบางชนิด (กัญชา) ได้อย่างจริงจังและทั่วถึง 5) เสี่ยงต่อพฤติกรรมลอกเลียนแบบ โดยเฉพาะการใช้กัญชาในการเสพของเยาวชน 6) กฎหมายที่รองรับการปลดล็อก กันชง กัญชา และกระท่อมที่ยังไม่ชัดเจน
อ่านต่อ:
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH