Cobots เรื่องน่ารู้ หากคุณกำลังมองหา “หุ่นยนต์โรงงาน”
หากคุณกำลังมองหาหุ่นยนต์โรบอทมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม วันนี้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ทำให้มีตัวเลือกหลากหลาย ซึ่งเรากำลังจะพูดถึงคือ โคบอทส์ (Cobots) ที่ได้รับความสนใจจากหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก และถูกคาดการณ์ว่า มูลค่าคลาดโคบอทส์ในปี 2027 จะสูงถึง 9.3 พันล้านเหรียญ
Advertisement | |
โคบอทส์ (Cobots) ย่อมาจากคำว่า Collaborative Robot ซึ่งหมายถึง หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน หรือ หุ่นยนต์เพื่อนร่วมงาน ถูกออกแบบให้ทำหน้าที่ปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยโดยปราศจากเครื่องกั้น
จากข้อมูลในบทความเรื่อง “บทบาทของโคบอทส์ในอุตสาหกรรมการผลิต” เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2021 โดยสมาคมเทคโนโลยีการผลิตแห่งสหรัฐอเมริกา (The Association For Manufacturing Technology: AMT) ซึ่ง Stephen LaMarca นักวิเคราะห์เทคโนโลยีของสมาคม แสดงความเห็นไว้ ดังนี้
คำว่า Cobots ถูกเสนอขึ้นครั้งแรกในปี 1996 โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีการจำแนกประเภทอย่างชัดเจนในอีก 10 ปีต่อมา แต่หากอ้างอิงจากนิยามที่ว่า “ปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย” แล้ว ก็พูดได้ว่าโคบอทส์ได้ถูกใช้งานมาแล้วกว่า 2 ทศวรรษ
โดย Cobots มีแรงยกที่น้อยกว่าหุ่นยนต์ทั่วไป ทำงานได้ช้ากว่า หยิบจับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมากไม่ได้ และมีแรงจำกัดเพียง 15 นิวตัน แต่ทั้งหมดนี้เป็นการออกแบบขึ้นเพื่อความปลอดภัยทั้งสิ้น
ปัจจุบัน ความคืบหน้าของเทคโนโลยีเซนเซอร์, AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์, และ วิชันซิสเต็ม ทำให้โคบอทส์มีราคาถูกลงกว่าเมื่อหลายปีก่อน ใช้พื้นที่น้อยลง และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น จึงคาดการณ์ว่า ตลาดจะมีมูลค่าสูงขึ้นไปแตะ 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2027 ซึ่งเติบโตอย่างมากหากเทียบกับปี 2019 ที่มีมูลค่าตลาดเพียง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น
Advertisement | |
ปัจจัยหลักที่ทำให้โคบอทส์มีแนวโน้มการเติบโตสูงมาจากราคา ซึ่งถูกกว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะถูกลงไปอีก โคบอทจึงเหมาะกับการลงทุนของ SMEs
นอกจากนี้ โคบอทยังใช้งานง่าย จึงทำให้บริษัทที่ไม่มีวิศวกรเฉพาะด้านสามารถเริ่มต้นใช้งานหุ่นยนต์ในโรงงานได้ง่ายขึ้น ช่วยลดดาวน์ไทม์ในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตที่เทคโนโลยี Edge Computing จะคืบหน้า จะช่วยให้โคบอทส์ทำงานได้รวดเร็ว แม่นยำ และยืดหยุ่นกว่าที่ผ่านมา
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโคบอท
- โคบอทส์มีไว้ใช้ปฏิบัติงานร่วมกับมนุษย์ แต่ “ไม่จำเป็น” ต้องใช้คู่กับมนุษย์ สามารถนำมาใช้งานในฐานะหุ่นยนต์อุตสาหกรรมขนาดเล็กโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน สามารถทำงานโดยปราศจากรั้วกั้นได้
- โคบอทส์ไม่เหมาะสำหรับการหยิบจับชิ้นงานที่มีน้ำหนักมาก และไม่เหมาะสำหรับการทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษ อีกทั้งความแม่นยำไม่เทียบเท่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรม จึงไม่เหมาะกับงาน Precision และงาน high-volume mass production
- โคบอทส์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการประกอบ การขันสกรู การบรรจุหีบห่อ และการจัดเรียงพาเลท
- โคบอททั่วไปถูกออกแบบให้หยิบจับชิ้นงานน้ำหนักไม่เกิน 35 กิโลกรัม
#โคบอทส์ #โคบอท #Cobot #Cobots #Collaborative Robot #หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน #หุ่นยนต์เพื่อนร่วมงาน #หุ่นยนต์โรงงานอุตสาหกรรม #หุ่นยนต์อุตสาหกรรม #หุ่นยนต์โรอท #หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ #ระบบอัตโนมัติ #ตลาด โคบอทส์ #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #Mreport #M Report #mreportth
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH