งานวิจัยสารเคลือบผิวโลหะ

เปิดงานวิจัย “วัสดุเคลือบเงาที่ซ่อมแซมตัวเองแบบใหม่”

อัปเดตล่าสุด 19 ส.ค. 2565
  • Share :
  • 2,725 Reads   

รอยขีดข่วนบนพื้นผิวรถสามารถหายไป เมื่อโดนแสงแดดได้หรือไม่? ผลงานวิจัยจากเกาหลีเปิดความเป็นไปได้ของ “วัสดุเคลือบเงา” ที่ซ่อมแซมตัวเองแบบใหม่

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2022 เว็บไซต์ EurekAlert เผยแพร่งานวิจัยวัสดุเคลือบเงาที่ซ่อมแซมตัวเองแบบใหม่ของสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมีแห่งเกาหลี โดยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้วัสดุพอลิเมอร์เชิงพาณิชย์ราคาไม่แพงและสีย้อมด้วยแสงที่มีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีอินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น จึงคาดว่าจะใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งการเคลือบสีรถยนต์ และต่อยอดสู่การใช้งานที่หลากหลายอย่างสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และวัสดุก่อสร้าง 

Advertisement

วัสดุเคลือบเงาบนพื้นผิวของยานยนต์ที่ดีต้องมีความคงทนสูง ปกป้องพื้นผิวได้ดี และต้องใสไม่มีสี เพื่อได้สีรถที่ถูกต้อง คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้การพัฒนาวัสดุเคลือบเงาที่ซ่อมแซมตัวเองได้เป็นเรื่องยาก เนื่องจากวัสดุที่มีโมเลกุลสามารถเคลื่อนที่เพื่อซ่อมแซมตัวเองมีความคงทนต่ำ

Dr. Jin Chul Kim, Dr. Young il Park, และ Dr. Ji-Eun Jeong จากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเคมีแห่งเกาหลี (KRICT) จึงทำการพัฒนาวัสดุเคลือบเงายานยนต์ที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้และมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับวัสดุเคลือบเงาตามท้องตลาดในปัจจุบัน โดยสารเคลือบชนิดใหม่นี้สามารถซ่อมแซมตัวเองได้หลังโดนแดด หรือ ใกล้โดนรังสีอินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น (Near infrared: NIR) ในแสงแดดที่ช่วงความยาวคลื่น 1,000 ถึง 1,100 นาโนเมตรเป็นระยะเวลา 30 นาที 

งานวิจัยสารเคลือบผิวโลหะ

วัสดุเคลือบเงาชนิดใหม่นี้เกิดจากการเพิ่ม Hindered urea bond (HUB) ซึ่งมีพันธะเคมีแบบไดนามิค (dynamic chemical bond) ลงในสารเคลือบเงาทั่วไป โดยแนวคิดนี้ถูกศึกษาในวงการวิทยาศาสตร์มาเป็นเวลาหลายปีเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามพัฒนาพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กได้ และเลือกใช้วัสดุเคลือบเงาที่มีคุณสมบัติในการดูดซับรังสีอินฟราเรดช่วงคลื่นสั้น เนื่องจากเป็นรังสีที่มีสัดส่วนราว 10% ของแสงแดด ทำให้อุณหภูมิของยานยนต์ไม่พุ่งสูงจนเกินไป

งานวิจัยสารเคลือบผิวโลหะ

หลักการทำงานของสารเคลือบชนิดนี้ คือ  เมื่อแสงแดดถูกดูดซับโดยวัสดุเคลือบเงา อุณหภูมิพื้นผิวจะเพิ่มขึ้นจนทำให้พันธะเคมีของพอลิเมอร์ (Polymer) เกิดการแยกตัวและรวมตัวซ้ำกันไปมาจนกระทั่งวัสดุเคลือบเงากลายเป็นเนื้อเดียวกัน

คณะวิจัยคาดการณ์ว่า วัสดุเคลือบเงาชนิดนี้สามารถนำไปใช้กับยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงวัสดุก่อสร้างในอนาคต และคาดว่าจะมีส่วนในการรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการทาสีรถใหม่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้สารพิษปริมาณมาก

 

 

#coatingmaterial #วัสดุเคลือบเงา #งานวิจัย #นวัตกรรม #เทคโนโลยี #Mreport #onlinecontent #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH