เปิดผลสำรวจ SME ญี่ปุ่น ลงทุนหุ่นยนต์เพราะอะไร?
รายงานผลสำรวจ SME ญี่ปุ่น เผยปัจจัยที่ตัดสินใจลงทุนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม กระบวนการที่นำหุ่นยนต์มาใช้งาน ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อ และเพราะเหตุใดบางบริษัทไม่มีแผนลงทุนหุ่นยนต์
Advertisement | |
การระบาดของโควิด สังคมผู้สูงอายุ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงาน กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนหุ่นยนต์เป็นอย่างมาก ทางสำนักข่าว Nikkan Kogyo Shimbun จึงจัดทำแบบสำรวจ “การใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมของ SMEs ในญี่ปุ่น ประจำปี 2022” โดยผลสำรวจมีดังนี้
SME ญี่ปุ่น ตัดสินใจลงทุนหุ่นยนต์จากปัจจัยดังนี้ (ตอบได้สูงสุด 3 ข้อ)
- แก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน 51%
- เพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจ 49%
- ลดต้นทุน 32%
- เพิ่มกำลังการผลิต 29%
- รักษาคุณภาพสินค้าให้คงที่ 28%
กระบวนการที่นำหุ่นยนต์มาใช้เป็นอันดับ 1 คือ
- ขึ้นรูปและแปรรูป 26%
- ขนถ่าย (Transfer) 25%
- เชื่อม 23%
- จัดการเคลื่อนย้าย (Handling) 22%
อย่างไรก็ตาม จากผลสำรวจนี้ทำให้พบว่า หุ่นยนต์ยังไม่อาจแทนที่กระบวนการผลิตได้ทุกกระบวนการ โดยกระบวนการที่น่าสนใจ คือ การขัดผิวชิ้นงาน ซึ่งมีการนำหุ่นยนต์มาใช้เพียง 3% เท่านั้น
อีกแนวโน้มที่พบ คือ การนำหุ่นยนต์มาใช้ในงานตรวจสอบคุณภาพมีถึง 14% ซึ่งแม้จะมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับการนำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าก็ตาม
ที่แล้วมา อุตสาหกรรมการผลิตญี่ปุ่นยังมีปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเด็ดขาด คือ การฉ้อโกง เช่น การปลอมแปลงสเปกเพื่อให้ขายสินค้าได้ SME หลายรายจึงนำหุ่นยนต์มาใช้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือของสินค้าให้มากขึ้น
อีกเทคโนโลยีหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากกลุ่ม SME ญี่ปุ่น คือ โคบอท หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้โดยไม่ต้องใช้รั้วกั้น
ปัจจุบันมี Cobot ออกมาหลายแบรนด์มากขึ้น ทำให้ผู้ที่สนใจลงทุนหุ่นยนต์มีตัวเลือกในการทดลองหาโคบอทมาใช้ในสายการผลิต เพื่อที่จะได้รู้ว่าหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนคนได้มากแค่ไหน และจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้จริงหรือไม่
สำหรับข้อพิจารณาในการเลือกซื้อหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาจากปัจจัยดังนี้ (ตอบได้สูงสุด 3 ข้อ)
- คุณภาพ 58%
- ราคา 23%
- บริการหลังการขาย 15%
- แบรนด์หุ่นยนต์ 8%
สำหรับผู้ที่ไม่มีแผนลงทุนหุ่นยนต์ มาจากสาเหตุดังต่อไปนี้ (ตอบได้สูงสุด 3 ข้อ)
- คิดว่าเป็นการลงทุนที่ผลลัพธ์ไม่คุ้มค่า 38%
- มีองค์ความรู้ไม่เพียงพอ 35%
- ไม่มีกระบวนการที่จำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์ 35%
- ราคาสูงเกินไป 26%
- ใช้คนทำงานแทนหุ่นยนต์ได้ 24%
- หุ่นยนต์เป็นเครื่องมือที่ใช้งานยาก 12%
- ขั้นตอนการขอเงินสนับสนุนมีความซับซ้อน 3%
หุ่นยนต์ “Vambo” ที่ Kawasaki Heavy Industries ออกแบบขึ้นเพื่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์
บทสรุป
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าในช่วงหลายปีมานี้สถานการณ์โลกมีความผันผวนเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอุปสรรคในอุตสาหกรรมการผลิตในปัจจุบัน คือ การขาดแคลนชิ้นส่วนและวิกฤตชิปขาดตลาด
เนื่องจากทั้งสองปัจจัยนี้ทำให้ผู้ผลิตก็ไม่อาจผลิตหุ่นยนต์ได้เพียงพอต่อความต้องการ หรือแม้จะสามารถจัดหาหุ่นยนต์ได้ ทาง System Integrator (SI) หรือที่ในญี่ปุ่นเรียกว่า SIer ก็มีปัญหาอื่นอีก เช่น ไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์บางชนิดได้
ดังนั้น ปี 2022 จึงเป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมการผลิตยังไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มกำลัง ธุรกิจหลายรายอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนอย่างกะทันหัน ส่วนผู้ผลิตหุ่นยนต์ต้องเร่งหาชิ้นส่วนเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำให้การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตหุ่นยนต์รุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน
#SME #ลงทุนหุ่นยนต์ #หุ่นยนต์อุตสาหกรรม #ธุรกิจญี่ปุ่น #บริษัทญี่ปุ่น #อุตสาหกรรมการผลิต #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH