6G มาแล้ว เร็วขึ้น 50 เท่า Samsung ล้ำ เปิดตัวต้นแบบอุปกรณ์ 6G Terahertz
♦ 6G Terahertz สามารถรับส่งข้อมูลขนาด Terabits ได้ในหลักวินาที และมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 5G ถึง 50 เท่า และลดความหน่วง (Latency) ให้เหลือเพียง 10% ของ 5G
♦ Samsung ร่วม California University Santa Barbara เผยต้นแบบอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 6G Terahertz แบบไร้สาย
Advertisement | |
เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) ร่วมกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา (UCSB) เปิดเผยต้นแบบอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 6G Terahertz (THz) แบบไร้สาย เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยี Terahertz (เทระเฮิรตซ์) มาใช้ในการรับส่งข้อมูล
โดยอุปกรณ์ต้นแบบนี้ ถูกเปิดตัวในเวิร์คช็อปเทคโนโลยี Terahertz ภายในงานประชุมนานาชาติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรืองาน ICC 2021 ซึ่งได้สาธิตถึงการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ย่านความถี่ 140GHz แบบ end-to-end ด้วยโซลูชัน Digital Beamforming
Sunghyun Choi รองประธานอาวุโสบริษัทซัมซุง และหัวหน้าศูนย์วิจัยเทคโนโลยีการสื่อสารจาก Samsung Research แสดงความเชื่อมั่นว่า เทคโนโลยี Terahertz จะกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญของเทคโนโลยี 6G ซึ่งการสาธิตการทำงานของอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ 6G Terahertz แบบไร้สายในครั้งนี้ จัดเป็นหมุดหมายสำคัญของการสื่อสารไร้สายแบบ 6G เลยทีเดียว
ซัมซุงรายงานว่า ย่านความถี่ Terahertz มีสเปกตรัมมาก รองรับช่องสัญญาณ Gigahertz ได้ถึง 10 แถบความถี่ (Bandwidth) ซึ่งหมายความว่าสามารถรับส่งข้อมูลขนาด Terabits ได้ในหลักวินาที และมีความเร็วสูงสุดมากกว่า 5G ถึง 50 เท่า และลดความหน่วง (Latency) ให้เหลือเพียง 10% ของ 5G ซึ่งจะช่วยให้ 6G รองรับบริการต่าง ๆ ได้มากขึ้น เช่น บริการการเชื่อมต่อความเร็วสูง, eXtended Reality (XR), และโฮโลแกรมมือถือความแม่นยำสูง
รับส่งข้อมูลขนาดเทระเฮิรตซ์ได้ในหลักวินาที
ความเร็วสูงสุดมากกว่า 5G ถึง 50 เท่า
ลดความหน่วง (Latency) ให้เหลือเพียง 10% ของ 5G
16-channel 140GHz phased-array module (กลาง), dual-channel 140GHz RFICs (ซ้าย), 128-element antenna array (ขวา) (Photo: Samsung Electronics)
โดยระบบต้นแบบของซัมซุง ประกอบด้วยโมดูลรับส่งสัญญาณแบบ 16-channel 140GHz phased-array ที่ใช้ CMOS (Complementary metal-oxide-semiconductor), ชิป RFICs (Radio Frequency Integrated Circuits), และ Base Band Unit ในการประมวลสัญญาณที่ย่านความถี่ 2GHz ซึ่งจากการทดสอบได้ประสบความสำเร็จในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 6.2 Gbps ในระยะ 15 เมตร
คณะนักวิจัยจากซัมซุง และมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา ได้ร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์รับส่งสัญญาณรุ่นต้นแบบนี้ด้วยกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งกุญแจสู่ความสำเร็จในครั้งนี้คือโมดูลที่ใช้เทคโนโลยี Semiconductor Packaging หรือเทคโนโลยีการบรรจุสารกึ่งตัวนำระดับสูง ช่วยให้สามารถทดสอบการใช้งานโมดูลอาเรย์ (Array) ขนาดใหญ่ ร่วมกับอัลกอริธึม Digital Beamforming ที่พัฒนาขึ้นโดยซัมซุงได้สำเร็จ
Semiconductor Packaging หรือ เทคโนโลยีการบรรจุสารกึ่งตัวนำระดับสูง
ช่วยให้สามารถทดสอบการใช้งานโมดูลอาเรย์ (Array) ขนาดใหญ่ ร่วมกับอัลกอริธึม Digital Beamforming ที่พัฒนาขึ้นโดยซัมซุงได้สำเร็จ
Charlie Zhang รองประธานอาวุโสบริษัทซัมซุง และหัวหน้าศูนย์วิจัยมาตรฐานและนวัตกรรมซัมซุง สหรัฐฯ แสดงความเห็นว่า การร่วมงานกับมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา ช่วยให้ซัมซุงก้าวข้ามข้อจำกัดทางเทคโนโลยีในการผลิตอุปกรณ์รุ่นต้นแบบได้สำเร็จ และทั่งสองฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาอุปกรณ์ 6G ให้เข้าใกล้ความจริงยิ่งขึ้นหลังจากนี้ไป
ศาสตราจารย์ Mark Rodwell มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา (Photo: Samsung Electronics)
ศาสตราจารย์ Mark Rodwell จากคณะวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ หัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาร์บารา เริ่มต้นพัฒนาชิป RFIC (Radio-Frequency Integrated Circuit) สำหรับรับส่งสัญญาณย่านความถี่ 140GHz ตั้งแต่ปี 2017 ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา แสดงความเห็นว่า ทีมวิจัยได้ใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีคลื่นมิลลิเมตร (mmWave) โดยเฉพาะในส่วนของคลื่นความถี่สูงกว่า 100GHz มาใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์รับส่งข้อมูล และแผงวงจรในครั้งนี้
เทคโนโลยี 5G
- ประวัติความเป็นมา เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายตั้งแต่ยุคแรกถึง 5G
- 5G การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ตั้งแต่ไลฟ์สไตล์ จนถึงอุตสาหกรรมการผลิต คุณพร้อมหรือยัง?
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH