สมาคมอุตฯ เยอรมันเผย ทางรอดเครื่องเลเซอร์ หลังตลาดหดตัวรุนแรงต่อเนื่อง

สมาคมอุตฯ เยอรมันเผย ทางรอดเครื่องเลเซอร์ หลังตลาดหดตัวรุนแรงต่อเนื่อง

อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 2563
  • Share :
  • 457 Reads   

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมยานยนต์ ความขัดแย้งทางการเมือง สงครามการค้าจีน-สหรัฐ และความไม่แน่นอนที่เกิดจาก Brexit จนมาถึงการระบาดของโรคโควิด ได้สะท้อนผ่านตัวเลขการผลิตเครื่องเลเซอร์ที่ตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง

สมาคมอุตสาหกรรมวิศวกรรมเครื่องกลแห่งเยอรมัน (VDMA) ได้รายงานมูลค่าการผลิตเครื่องเลเซอร์ ครอบคลุมทั้ง CO2, Solid-state, และ Diode Laser Systems ในปี 2019 ที่ผ่านมา มีการหดตัวถึง 18% จากมูลค่า 1.06 พันล้านยูโรในปีก่อนหน้า ลดเหลือ 8.7 ร้อยล้านยูโร โดยมียอดสั่งซื้อภายในประเทศลดลงราว 30% และยอดส่งออกลดลง 16% อยู่ที่มูลค่า 782 ล้านยูโร โดยมียุโรปเป็นตลาดใหญ่ที่สุดด้วยสัดส่วน 61% ตามด้วยจีน 14% ส่วนที่เหลือคือญี่ปุ่น สหรัฐฯ และอื่น ๆ รวม 15%

จากภาพรวมที่เกิดขึ้นแสดงแนวโน้มชะลอตัวของอุตสาหกรรมเลเซอร์ ซึ่งคณะกรรมการเลเซอร์และระบบเลเซอร์สำหรับกระบวนการแปรรูปวัสดุภายใต้ VDMA โดย Dr. Christian Schmitz ประธานคณะกรรมการ และยังเป็น CEO แผนกเทคโนโลยีเลเซอร์ บริษัท TRUMPF ได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้ไว้เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2020 ที่ผ่านมาถึงการชะลอตัวของอุตสาหกรรมเลเซอร์ตั้งแต่ปี 2019 จะเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงศักยภาพของ Industry 4.0 สามารถช่วยการผลิตได้ และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด มาตรการล็อกดาวน์ทำให้การเดินทางถูกจำกัด โซลูชันด้านดิจิทัลจะสำคัญยิ่งขึ้น ซึ่งทางรอดของเครื่องเลเซอร์ ก็คือ อินเตอร์เฟสมาตรฐานสากลอย่าง OPC-UA

ด้วยเหตุนี้เอง VDMA จึงตั้งใจพัฒนาอุตสาหกรรมเลเซอร์ตามอย่างความสำเร็จของอุตสาหกรรม 4.0 และมุ่งเน้นไปที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลการผลิตระหว่างเครื่องจักรผ่านอินเตอร์เฟสมาตรฐาน ซึ่งอินเตอร์เฟสที่รองรับเครื่องจักรที่หลากหลายให้ทำงานร่วมกันได้ จะเป็นตัวช่วยกระตุ้นความสำเร็จของเครื่องเลเซอร์ในอนาคต และอาศัยจุดยืนในฐานะสมาคมที่มีสมาชิกกว่า 3,300 บริษัทในการเริ่มพัฒนาอินเตอร์เฟสที่ยืนพื้นฐาน OPC UA ในช่วงท้ายปี 2019 ร่วมกับ University of Stuttgart

Dr. Alexander Arndt ผู้จัดการฝ่ายการออกแบบกระบวนการ และ Digitalization จากบริษัท Laserline GmbH หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการการพัฒนาระบบอินเตอร์เฟสพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมเลเซอร์ แสดงความเห็นว่า มาตรฐานของ OPC UA Foundation ซึ่งเป็นอินเตอร์เฟสมาตรฐานสากล ช่วยให้เครื่องจักรกลต่างรุ่น ต่างระบบ หรือกระทั่งต่างแบรนด์สามารถเชื่อมต่อ และสื่อสารกันได้มีแต่จะสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งในอุตสาหกรรมเลเซอร์เองก็เช่นเดียวกันที่จำเป็นต้องพัฒนาเครื่องเลเซอร์ให้รองรับ Industry 4.0 สามารถผนวกเครื่องเลเซอร์เป็นส่วนหนึ่งของสายการผลิตได้ง่าย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยอินเตอร์เฟสมาตรฐานสากลนี้เองที่จะเป็นสิ่งที่ต้องการในกลุ่มลูกค้า เนื่องจากคุณสมบัติด้านการเชื่อมต่อเหล่านี้เองที่ช่วยให้การ