แนวโน้มโลจิสติกส์ 2023 และอนาคต
สถานการณ์การเมืองโลกในช่วงปีที่ผ่านมา ได้ตอกย้ำถึงความแข็งแกร่งของซัพพลายเชนโลจิสติกส์มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและประชากร สิ่งนี้ยังสะท้อนให้เห็นแนวโน้มและความท้าทายด้านโลจิสติกส์ในอนาคตอีกด้วย
DHL หนึ่งในบริษัทโลจิสติกส์รายใหญ่ของโลก ได้เอ่ยอ้างบริบทนี้ผ่านบทความในหัวข้อ “แนวโน้มโลจิสติกส์ 2023: การรักษาความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนแบบดิจิทัลและยั่งยืน” ซึ่งมุ่งเน้นในแง่มุมของการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล ที่ทำให้ซัพพลายเชนมีความยืดหยุ่นมากขึ้นผ่านความโปร่งใส เครือข่าย และระบบอัตโนมัติ โดยไม่สูญเสียความยั่งยืน โดยนำเสนอพัฒนการที่สำคัญสำหรับปี 2023 นี้
แนวโน้มระหว่างประเทศด้านโลจิสติกส์ 2023: ดิจิทัลในกรอบการทำงานใหม่
จากเทรนด์โลจิสติกส์ในปีที่ผ่านมาซึ่งกรอบการทำงานใหม่บนดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย, วิทยาการหุ่นยนต์, Big Data, AI, หรือ Blockchain เหล่านี้จะยังเป็นเทรนด์ที่ดำเนินต่อไปในปี 2023
สถานการณ์ระหว่างประเทศหลายกรณีสร้างผลกระทบไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นโรงงานหลายแห่งของผู้ผลิตจีนในฐานะผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรมจำต้องถอนตัวจากการค้าโลก ทำให้ห่วงโซ่อุปทานจะหยุดชะงัก หรือโรงงานผลิตหลายแห่งในจีนต้องล็อกดาวน์จากโควิด
อีกบทเรียนที่ยั่งยืนสำหรับการขนส่งแห่งอนาคตได้มาจากการโจมตีของรัสเซียในยูเครน หากรูปแบบการขนส่งรูปแบบหนึ่งล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ในกรณีนี้คือเส้นทางเดินเรือข้ามทะเลดำไปจนถึงข้อตกลงการส่งออกธัญพืชระหว่างรัสเซียและยูเครน สิ่งนี้อาจนำไปสู่ความอดอยากในทวีปอื่นได้ แน่นอนว่าการขนส่งทางทะเลไม่สามารถทดแทนได้เนื่องจากความสามารถในการบรรทุกสินค้า แต่เครือข่ายรถไฟที่ดีกว่าระหว่างยูเครนกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลบอลติก หรือท่าเรือทะเลเหนือ อาจช่วยลดปัญหาการขาดแคลนได้
Advertisement | |
โลจิสติกส์หลายช่องทางจะสำคัญยิ่งขึ้นในปี 2023
ในปี 2022 แสดงให้เห็นว่า ซัพพลายเชนอาจหยุดชะงักได้หากมีเส้นทางการจัดส่งสินค้าเพียงช่องทางเดียว ทำให้โลจิสติกส์แบบหลายช่องทาง (Multichannel Logistics) เช่น การใช้รถไฟแทนเรือสำหรับการขนส่งในทวีป หรือการขนส่งทางถนนแทนรถไฟ จะช่วยให้ซัพพลายเชนมีความมั่นคง สามารถชดเชยการบรรทุกสินค้าเกินพิกัด และหลีกเลี่ยงความแออัดในการขนส่งได้
การรับมือผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก
ในปี 2022 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงประสิทธิภาพของซัพพลายเชนเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นของซัพพลายเชน อีกทั้งการปรับตัวตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศก็ยังคงป็นเรื่องเร่งด่วน
สิ่งนี้ผนวกกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทั้งภาวะเงินเฟ้อทั่วโลกและการคุกคามจากเศรษฐกิจถดถอย ทำให้เป็นไปได้ว่า หากเศรษฐกิจหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย ผู้บริโภคก็จะมีความต้องการสินค้าลดลงในปีนี้ ด้วยความต้องการที่ลดลงอาจสวนทางกันกับความต้องการขายสินค้า ซึ่งจะนำไปสู่สภาวะ Oversupply ที่ต้องรับมือปัญหานี้อย่างรอบคอบ
การใช้ซัพพลายเชนดิจิทัลอย่างชาญฉลาด
คาดการณ์ว่า ในปี 2023 ภาคการขนส่งจะยังคงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ทำให้การตอบสนองความต้องการของลูกค้าทำได้ยากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ให้บริการโลจิสติกส์ควรวางแผนการขนส่งด้วยการมองการณ์ไกล ใช้ความสามารถในการขนส่งสินค้าที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ และขจัดความไร้ประสิทธิภาพซึ่งสิ่งที่จะเข้ามาช่วยในส่วนนี้ได้ คือการเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัลอย่างครอบคลุม ซึ่งซัพพลายเชนแบบดิจิทัลต้องอาศัยเสาหลัก 3 ประการ ดังนี้
1. เครือข่ายผู้เข้าร่วมกระบวนการผ่านแอปพลิเคชันคลาวด์หรือเทคโนโลยีบล็อกเชน
2. เครือข่ายยานพาหนะ การจัดส่ง และคลังสินค้า โดยใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์และโซลูชัน IoT
3. ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อทำความเข้าใจข้อผิดพลาด และเรียนรู้วิธีหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในอนาคต
ซัพพลายเชนดิจิทัลที่ทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการประเมินผลแบบเรียลไทม์จะช่วยสร้างความโปร่งใส ทำให้ควบคุมและตรวจสอบการเชื่อมโยงแต่ละรายการได้ นำไปสู่การขนส่งและการวางแผนเพื่อตอบรับความต้องการในอนาคตที่ดียิ่งขึ้น เมื่อบริษัทโลจิสติกส์มีข้อมูลการจัดส่งแบบเรียลไทม์ก็จะช่วยให้สามารถจับคู่ความต้องการกับทรัพยากรบุคคลหรือขีดความสามารถในการขนส่งที่มีอยู่ได้ดีขึ้น นำไปสู่ซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากขึ้นอีกด้วย
ความสำคัญของความโปร่งใส
ระบบคลาวด์ บล็อกเชน และ AI เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ช่วยให้ซัพพลายเชนโปร่งใสได้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหลายคนยังลังเลที่จะใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปในปี 2023 จากความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก ความขัดแย้งต่าง ๆ ความเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ และอื่น ๆ ทำให้การบริหารจัดการความเสี่ยงในซัพพลายเชนอย่างโปร่งใสสำคัญกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากการตัดสินใจแก้ปัญหาในซัพพลายเชนที่เหมาะสมอย่างทันท่วงทีต้องอาศัยการประเมินข้อมูลที่ครอบคลุมจากซัพพลายเชนที่โปร่งใสนั่นเอง
ออโตเมชันในภาคโลจิสติกส์
ออโตเมชันเป็นส่วนหนึ่งของจุดขนถ่ายสินค้าและศูนย์โลจิสติกส์มานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในฐานะหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ หุ่นยนต์ชั้นวางสินค้า หรือโดรนอัตโนมัติสำหรับจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนทำงานได้ดีในคลังสินค้า แต่การขนส่งอัตโนมัติบนท้องถนนยังไม่เป็นที่แพร่หลายและยังต้องอาศัยเวลา
อย่างไรก็ตาม หนึ่งเทรนด์ในปี 2023 คือ การใช้หุ่นยนต์จัดการคลังสินค้า ไปจนถึงการดูแลลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น Software bots ซึ่งสามารถตอบคำถามของลูกค้าเกี่ยวกับสถานะการจัดส่งหรือจัดการการส่งคืนผลิตภัณฑ์ได้
โลจิสติกส์สีเขียว
โลจิสติกส์เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในโลก และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 20%
ด้วยเหตุนี้ โลจิสติกส์สีเขียว (Green Logistics) จึงยังคงเป็นเมกะเทรนด์ด้านโลจิสติกส์ ซึ่งไม่เพียงแต่การรักษาสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่โลจิสติกส์ที่ยั่งยืนกำลังกลายเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จทางเศรษฐกิจมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันลูกค้าและคู่ค้าทางธุรกิจหลายรายตัดสินใจทางธุรกิจโดยขึ้นอยู่กับความยั่งยืนของคู่ค้า
แนวโน้มโลจิสติกส์ 2030
สำหรับการคาดการณ์ในระยะยาว DHL ได้คาดการณ์แนวโน้มโลจิสติกส์ในี 2030 ไว้ 3 ข้อ ดังนี้
1. ระบบเครือข่ายจะพัฒนาเป็น “Super grid” รวมเครือข่ายซัพพลายเชนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ทั่วโลก และเพิ่มความโปร่งใสยิ่งขึ้น
2. เทคโนโลยี 3D Printing แม้จะยังห่างไกล แต่อาจกลายเป็นเป็นวิธีการผลิตในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า และจะได้รับการยอมรับในอุตสาหกรรมยานยนต์ การแพทย์ และการบินและอวกาศ ซึ่งสามารถผลิตได้มากขึ้น และใช้วัสดุที่หลากหลายยิ่งขึ้น
3. ยานพาหนะขนส่งอัตโนมัติจะไม่ถูกใช้เฉพาะในศูนย์โลจิสติกส์ แต่จะถูกใช้งานบนท้องถนน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นเร็วที่สุดในทศวรรษหน้า หรือเกิดขึ้นแน่นอนสักวันในอนาคต
#โลจิสติกส์ #logistics #supplychain #trend2023 #Mreport #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH