Metamobility ผสาน Metaverse สู่การเดินทาง การใช้ชีวิต และการใช้ในภาคอุตสาหกรรม
ฮุนได มอเตอร์ เผยแนวคิด Metamobility ที่ผสาน Metaverse สู่การเดินทาง การใช้ชีวิต ไปจนถึงการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม ผ่าน Smart Devices ในงาน CES 2022
Advertisement | |
ฮุนได มอเตอร์ (Hyundai Motor Company) ได้เผยวิสัยทัศน์ภายใต้หัวข้อ “Expanding Human Reach” ภายในงาน CES 2022 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 5 - 7 มกราคม 2022 โดยได้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดการนำองค์ความรู้จากธุรกิจหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในการพัฒนาการเดินทางแห่งอนาคต
การเชื่อมต่อโลก และ Metaverse เข้าด้วยกัน ผ่านหุ่นยนต์ และ Metamobility
Chang Song หัวหน้าแผนก Transportation-as-a-Service (TaaS) จากฮุนได, Ulrich Homann รองประธานบริษัทไมโครซอฟต์, และ Marc Raibert ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท Boston Dynamics ได้ร่วมเสวนาถึงความเป็นไปได้ของ Metaverse และ Metamobility โดยฮุนไดเชื่อว่าในอนาคต Metaverse จะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และคาดว่าจะทำให้เกิดความต้องการแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่ก้าวหน้ากว่า Virtual Reality (VR)
ด้วยเหตุนี้เอง ฮุนไดจึงได้คิดค้นคอนเซ็ปต์ Metamobility ขึ้นมา ซึ่งหมายถึงการเชื่อมต่อของ Smart Devices เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสัมผัสประสบการณ์แบบ VR ได้ในโลกของความเป็นจริง
ฮุนไดคาดการณ์ว่า ยานยนต์อัตโนมัติและรถยนต์ไร้คนขับจะเป็นหนึ่งใน Smart Devices ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับ Virtual Space โดยมีหุ่นยนต์เป็นสื่อกลาง เช่น ผู้โดยสารของรถยนต์อัตโนมัติสามารถใช้งาน VR ภายในยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของสื่อบันเทิง ห้องประชุม ไปจนถึงแพลตฟอร์มเกม 3 มิติ
สิ่งที่ทำให้ Metamobility ต่างจาก VR ในปัจจุบัน คือ ข้อจำกัดทางเทคโนโลยี เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันทำให้ VR ไม่ต่างจากการมองภาพ แต่ไม่อาจสัมผัสได้จริง ซึ่งสิ่งที่จะเข้ามาเสริมในจุดนี้ คือ การนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ และ Digital Twin มาใช้งานร่วมกับเซนเซอร์นานาชนิด ช่วยให้ประสบการณ์ใน Metaverse เหมือนจริงยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การนำเทคโนโลยี Digital Twin มาใช้จำลองบ้านของผู้ใช้เข้าไปใน Metaverse ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านแม้จะเดินทางไกล หรือใช้ Avatar Robot เพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้สามารถให้อาหารสัตว์เลี้ยงที่บ้าน ไปจนถึงกอดสัตว์เลี้ยงได้เหมือนตัวเองอยู่บ้านจริง ๆ อีกด้วย
โดยหลักการทำงานคือ ผู้ใช้จะควบคุมหุ่นยนต์ผ่าน Metaverse ซึ่งไม่จำกัดแต่เพียงการใช้งานทั่วไป แต่ยังครอบคลุมถึงการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม เช่น การควบคุมหุ่นยนต์ใน Smart Factory ซึ่งหากแนวคิดนี้เกิดขึ้นจริง จะสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของโรงงานในอนาคต ที่การควบคุมหุ่นยนต์ในโรงงานสามารถทำได้โดยง่ายจากทางไกลผ่านหุ่นยนต์และ VR
Chang Song หัวหน้าแผนก Transportation-as-a-Service (TaaS) จากฮุนได แสดงความเห็นว่า แนวคิด Metamobility จะทำให้ระยะทางไม่ใช่เรื่องสำคัญอีกต่อไป
#Metamobility #Metaverse #Hyundai #Smart Factory #เทคโนโลยี #M Report #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH