เทรนด์ ‘หุ่นยนต์เคลื่อนที่’ ในงานโลจิสติกส์
หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Robots) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมากในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ คลังสินค้า และขนส่งเดลิเวอรี่ ด้วยความก้าวหน้าในวิทยาการหุ่นยนต์จะทำให้มีการใช้งานหุ่นยนต์บางชนิดเพิ่มขึ้น ในขณะที่หุ่นยนต์บางชนิดใกล้ถึงจุดอิ่มตัวในไม่ช้า
Mobile Robot คือ หุ่นยนต์ชนิดเคลื่อนที่ได้ ถูกใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และคลังสินค้าเป็นหลัก ซึ่งครอบคลุมเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ หรือ รถ AGV (Automated Guided Vehicle), หุ่นยนต์หยิบจับสินค้าแบบเคลื่อนที่ได้ (Mobile Picking Robot), หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ (Delivery Robot), ไปจนถึงรถขนส่งสินค้าอัตโนมัติ และโดรนขนส่งสินค้า
จากความนิยมใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ชนิดต่าง ๆ งานโลจิสติกส์ คลังสินค้า และขนส่งเดลิเวอรี่ ทางสำนักวิเคราะห์ตลาด IDTechEx จึงรวบรวมข้อมูลนำมาคาดการณ์มูลค่าตลาด ซึ่งพบว่า ในปี 2032 หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (รวมรถบรรทุกอัตโนมัติและโดรน) สำหรับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะมีมูลค่า 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และในอีก 10 ปีข้างหน้า ตลาดจะมีมูลค่า 3.34 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
Advertisement | |
หุ่นยนต์เคลื่อนที่สำหรับงานโลจิสติกส์ภายในองค์กร (Intralogistics Mobile Robots)
หลายปีมานี้ ระบบโลจิสติกส์ภายในองค์กร (Intralogistic) มักใช้รถ AGV (Automated Guided Vehicle) หรือ AGC (Automated Guided Cart) ซึ่งก็คือหุ่นยนต์หรือรถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติในโรงงานนั่นเอง โดยรถนี้จะเคลื่อนที่ตามทางบนแถบแม่เหล็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบกริด
อย่างไรก็ตาม การติดตั้งหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติที่ต้องอาศัยการนำทางด้วยแถบแม่เหล็กนั้นเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลา และการปรับเปลี่ยนเส้นทางทำได้ยาก เมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นจึงมีการพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอิสระ สามารถบรรทุกน้ำหนักได้มาก และเคลื่อนที่ในระยะทางไกลได้ ทำให้แนวโน้มเอนเอียงไปทางหุ่นยนต์เคลื่อนที่อิสระมากกว่า จึงเป็นที่คาดการณ์ว่า รถ AGV จะเติบโตไปอีกระยะหนึ่งเท่านั้นก่อนชะลอตัวช่วงปี 2032 - 2037 และหลังจากนั้นตลาดจะอยู่ในภาวะถดถอย
อย่างไรก็ตาม การใช้ grid-based AGCs และ AGVs จะยังคงพบได้มากในศูนย์กระจายสินค้าและคลังสินค้าขนาดใหญ่ เนื่องจากสถานที่เหล่านี้มีพื้นที่มาก สามารถจัดแบ่งพื้นที่ได้ง่าย ทำให้การลำเลียงสินค้าจากชั้นวางไปยังพนักงานทำได้สะดวก โดยคาดว่าจะมีการเติบโตอย่างมากในปี 2030
อีกเทคโนโลยีที่จะมีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบนำทาง ซึ่งอัลกอริทึม SLAM (Simultaneous localization and mapping) จะช่วยให้หุ่นยนต์สามารถจัดทำแผนที่และนำทางตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำทางจากภายนอก การใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่ได้แบบอัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robots: AMRs) มีค่าใช้จ่ายลดลง ประหยัดเวลาได้มากขึ้น มีความยืดหยุ่น และติดตั้งได้ง่ายกว่าที่ผ่านมา จึงคาดการณ์ว่า ตลาด AMRs จะเริ่มเติบโตอย่างต่อเนื่องนับจากปี 2042 เป็นต้นไป ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้เริ่มมีการลงทุนเข้าซื้อกิจการของบริษัทที่มีเทคโนโลยีนี้
หุ่นยนต์หยิบจับสินค้าเคลื่อนที่ได้ (Mobile Picking Robot)
หุ่นยนต์หยิบจับสินค้าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ซึ่งในปัจจุบัน หลายบริษัทใช้หุ่นยนต์หยิบสินค้าบนชั้นวาง (Shelf Picking Robot) ไปจนถึงการใช้โรบอทหยิบสินค้าทั้งกล่อง (Case Picking Robot) ซึ่งโดยทั่วไปสามารถหยิบจับกล่องได้หลายขนาดด้วยงายกของแบบ Telescopic และกริปเปอร์สูญญากาศ (Vacuum Gripper)
เทคโนโลยีมือหุ่นยนต์กำลังอยู่ในการพัฒนาเพื่อให้สามารถหยิบจับสิ่งของที่มีรูปทรงซับซ้อนได้มากขึ้น ซึ่งมือหุ่นยนต์จะนำไปติดตั้งกับหุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile Manipulator) แม้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีนี้ยังไม่ดีนักและมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ Picking Robot จะยังคงครองส่วนแบ่งหลักในตลาด ในขณะที่ Mobile Manipulator จะเริ่มเติบโตหลังปี 2035
รถบรรทุกอัตโนมัติระดับ 4 (Heavy Duty Level 4 Trucking)
การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกถูกใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์มานาน อย่างไรก็ตาม การขนส่งด้วยวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง และต้องบริหารจัดการพนักงานขับรถซึ่งเป็นกระบวนการที่ยุ่งยาก ในอนาคตที่เทคโนโลยีด้านการขับขี่อัตโนมัติและการจัดขบวนรถขนส่งสินค้าอัตโนมัติจะเข้ามาแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ เป็นที่คาดการณ์ว่ารถบรรทุกอัตโนมัติระดับ 4 จะเริ่มมีการเติบโตตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป
หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จัดส่งสินค้า (Delivery Robot)
การจัดส่งสินค้าในช่วงสุดท้าย (Last mile delivery) ที่ลำเลียงสินค้าลงจากรถแล้วจัดส่งไปถึงหน้าประตูบ้านผู้รับเป็นขั้นตอนที่มีค่าใช้จ่ายสูงที่สุดในกระบวนการโลจิสติกส์ ทำให้เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จัดส่งสินค้า (Delivery Robot) มาทดแทนวิธีการเดิม จากการคำนวณพบว่า การใช้ Delivery Robot จัดส่งสินค้าในช่วงสุดท้าย สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ราว 55% ในเส้นทางระยะสั้น และมีโอกาสที่จะลดลงได้มากถึง 80% เลยทีเดียว
แม้หุ่นยนต์เดลิเวอรี่จะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็มีการใช้หุ่นยนต์ถึง 3 ประเภทด้วยกัน คือ รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ (Autonomous Delivery Vans), Sidewalk Robots หุ่นยนต์ส่งของที่วิ่งบนทางเท้า, และโดรนขนส่งสินค้า
รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ และ Sidewalk Robots เป็นโซลูชันการขนส่งทางบก ซึ่งคาดการณ์ว่าทั้งสองชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก และวิ่งด้วยความเร็วต่ำในพื้นที่จำกัด ทำให้การพัฒนาเทคโนโลนีชนิดนี้ไม่ซับซ้อนมากหากเทียบกับยานยนต์อัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลพร้อมแผนที่แบบเรียลไทม์
สำหรับรถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติจะมีพื้นที่เก็บของมากกว่า และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานกว่า Sidewalk Robots ทำให้เหมาะสำหรับการลำเลียงสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไปยังเป้าหมายหลายแห่งในการขนส่งเที่ยวเดียว ในทางกลับกัน Sidewalk Robots ที่มีขนาดเล็กและมีราคาต่ำกว่า สามารถใช้งานได้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าได้พร้อมกันหลายแห่ง
ส่วนโดรนขนส่งสินค้านั้น แม้จะมีราคาสูง มีข้อกำจัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายรองรับ แต่ก็มีความเร็วในการขนส่งสินค้าสูงกว่า
รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ และ Sidewalk Robots เป็นโซลูชันการขนส่งทางบก ซึ่งคาดการณ์ว่าทั้งสองชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก และวิ่งด้วยความเร็วต่ำในพื้นที่จำกัด ทำให้การพัฒนาเทคโนโลนีชนิดนี้ไม่ซับซ้อนมากหากเทียบกับยานยนต์อัตโนมัติและหุ่นยนต์ที่ต้องวิ่งเป็นระยะทางไกลพร้อมแผนที่แบบเรียลไทม์
รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติ มีพื้นที่เก็บของมากกว่า และมีแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานกว่า Sidewalk Robots ทำให้เหมาะสำหรับการลำเลียงสินค้าขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไปยังเป้าหมายหลายแห่งในการเดินทางเที่ยวเดียว ในทางกลับกัน Sidewalk Robots ที่มีขนาดเล็กและมีราคาต่ำกว่า สามารถใช้งานได้พร้อมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถจัดส่งสินค้าได้พร้อมกันหลายแห่ง
ส่วนโดรนขนส่งสินค้านั้น แม้จะมีราคาสูง มีข้อกำจัดด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎหมายรองรับ แต่ก็มีความเร็วในการขนส่งสินค้าสูงกว่า
เป็นที่คาดการณ์ว่า รถตู้ขนส่งสินค้าอัตโนมัติจะเป็นตัวเลือกหลักสำหรับ Last mile delivery และมีสัดส่วนมากถึง 75% ของการขนส่งสินค้าทางบกในปี 2042 ในขณะที่โดรนขนส่งสินค้าจะยังต้องอาศัยเวลาอีกมากกว่าตลาดจะเริ่มเติบโต
#Delivery Robot #หุ่นยนต์เดลิเวอรี่ #หุ่นยนต์ขนส่งสินค้า #หุ่นยนต์ส่งของอัตโนมัติ #โลจิสติกส์ #Logistics #Robot #Logistics #โดรนขนส่งสินค้า #Drone #AGV #รถขนถ่ายสินค้าอัตโนมัติ #โซลูชัน โลจิสติกส์ #Robot #เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH