งานแบบไหนที่วันนี้ต้องหันมาผลิตด้วย 3D Printer
การนำ 3D Printer มาใช้เป็นเครื่องจักรผลิตชิ้นงานในระดับอุตสาหกรรม สำหรับผลิตงานที่ต้องการความรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ Minimum order ต่ำ และ การเปลี่ยนรูปแบบของสินค้าทำได้รวดเร็ว อาทิเช่น
- งานสร้างต้นแบบ (Prototype) โดยปกติแล้วการสร้างต้นแบบจะเป็นการสร้างงานแบบชิ้นเดียวเพื่อใช้ทดสอบก่อนผลิตจริง หากใช้วิธีเดียวกับการผลิตจะทำให้ต้นทุนสูงมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องแม่พิมพ์หรือ setup cost ต่างๆ
- ผลิตภัณฑ์สำหรับ Niche Market ซึ่งมี Volume ในการขายไม่มากนักทำให้ไม่คุ้มค่าที่จะเปิดสายการผลิต
- งานสร้างแบบหล่อ Pattern เพื่อใช้ในงานหล่อโลหะ และ งานสร้างแม่พิมพ์สำหรับหล่อไฟเบอร์กลาส แต่เดิมทำด้วยไม้หรืออลูมิเนียมซึ่งมีราคาสูงและใช้เวลาทำนาน
- งานสร้างแบบหล่อเพื่อทดแทนการหล่อแบบ Lost Wax ทำให้มีต้นทุนที่ถูกลงเป็นอย่างมาก
- งานสร้างชิ้นส่วนทดแทนชิ้นส่วนที่แตกหักเสียหายสำหรับเครื่องจักรที่หาอะไหล่ยาก หรือเครื่องจักรที่หยุดสายการผลิตไปแล้ว
- งานออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งต้องการต้นแบบที่จับต้องได้จริงเพื่อใช้ในการสำรวจตลาด
- งานต้นแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีรูปทรงแบบ Free Form
ขอขอบคุณข้อมูลที่แบ่งปันโดย คุณโดม นุชอนงค์ ผู้สร้างเครื่อง DOME 3D Printer เกรดอุตสาหกรรม ส่งออกญี่ปุ่น, เยอรมัน และอีกหลายประเทศทั่วโลกกว่า 50 เครื่องในช่วงขวบปีที่ผ่านมา ซึ่งเติบโตไปพร้อมกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีนี้ที่สามารถใช้วัสดุได้หลากหลาย ทั้งพลาสติก โลหะ คอนกรีต หรือแม้แต่เซลล์เนื้อเยื่อมนุษย์
อ่านต่อ: DOME KARAKOCH2 3D printer สำหรับชิ้นงานขนาดใหญ่ เกรดอุตสาหกรรม