บริษัท IT มุ่งสู่เทคโนโลยี Container-based Virtualization
บริษัท IT รายใหญ่ หันตามกระแสความนิยมของ “Docker” แอพพลิเคชั่นเทคโนโลยี Virtualization ที่มีขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพในการติดตั้งและย้ายการใช้งานสูง โดย IBM สาขาญี่ปุ่นได้ยกเลิกการบันทึกข้อมูลด้วยคลาวด์ และนำเสนอบริการจำลองสภาพแวดล้อมในรูปแบบ container “IBM Cloud private” ซึ่งสามารถใช้งานแบบ On-premise (แบบบริหารจัดการด้วยตนเอง) ในขณะที่ NEC วางแผนให้บริการโฆษณาด้วย AI โดยการใช้ Docker จะเห็นว่ากระแสของเทคโนโลยี Container-based Virtualization มีความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจนในประเทศญี่ปุ่น
Docker คือ เทคโนโลยีที่มีคุณสมบัติในการนำแอพลิเคชั่นและโปรแกรมสนับสนุน (Middleware) มาผ่านกระบวนการจัดเรียงข้อมูลที่เรียกว่า Abstraction แล้วบีบอัดข้อมูลไว้ในรูปแบบของ container ซึ่งมีขนาดเล็ก ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาระบบขนาดใหญ่ และสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่คลาวด์หรือ On-premise ได้จากทุกสถานที่
ปัจจุบัน เทคโนโลยีที่ว่านี้ถูกปิดให้ใช้ในรูปแบบโอเพ่นซอร์สจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่ทำให้ Docker กลายเป็นที่นิยมนั้นมาจากการที่ Amazon Web Services (AWS) และ Microsoft (MS) ได้นำไปใช้งานกับบริการคลาวด์ ทำให้แพร่หลายขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบัน IBM สาขาญี่ปุ่น และ NEC อยู่ระหว่างการวางแผนเปิดบริการใหม่ซึ่งใช้ Docker เป็นพื้นฐานในการพัฒนา อีกทั้ง IBM สาขาญี่ปุ่นยังได้เลือกระบบ container “Cloud Foundry” มาใช้ในพัฒนาแอพลิเคชั่นเพื่อคลาวด์ แต่ก็ได้แสดงท่าทีตอบรับ Docker เช่นเดียวกัน
เนื่องในโอกาสนี้ IBM จึงมีแผนขยายตลาดการพัฒนาแอพลิเคชั่น และสภาพแวดล้อมจำลอง ซึ่งเป็นเหมือน “แนวหน้า” ของบริการคลาวด์ ให้ครอบคลุมไปยังการทำงานแบบ On-premise และยังเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ที่ไม่ต้องการนำข้อมูลของตนออกจากบริษัท รวมถึงพัฒนา middleware เดิมของบริษัท เช่น “WebSphere” ให้รองรับกับเทคโนโลยี Docker เพื่อโต้ตอบ AWS และ MS อีกด้วย
ส่วนบริการแพล็ตฟอร์ม AI ที่ NEC เสนอนั้น นอกจากจะใช้เทคโนโลยี “การเรียนรู้แบบผสมผสาน” ที่ทางบริษัทพัฒนาแล้ว ยังนำคุณสมบัติจากโอเพ่นซอร์สซึ่งถูกใช้เป็นมาตรฐานมาติดตั้งเสริม เพื่อสร้างรูปแบบของบริการที่เหมาะสมด้วยการวิเคราะห์อันหลากหลาย และด้วยการมาของ Docker ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานสภาพแวดล้อมจำลองร่วมกันได้ ทำให้ NEC เป็นบริษัทแรกที่มีบริการให้ใช้ Docker และซอฟต์แวร์วิเคราะห์ร่วมกัน
นอกจากนี้ ยังมี Hewlett Packard สาขาญี่ปุ่น และ Pivotal-Japan (แขวงมินะโตะ จังหวัดโตเกียว) ซึ่งหันมาเตรียมพร้อมทางด้าน Docker โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติ ซึ่งหาก Docker แพร่หลายมากขึ้นแล้ว ผู้ใช้ก็จะสามารถสร้างแอพลิเคชั่นออกจำหน่ายได้อย่างประหยัดเวลา และย้ายการทำงานได้โดยง่ายบนอุปกรณ์ในทุกโครงสร้าง