VR และ AR ยกระดับ IT Support

อัปเดตล่าสุด 12 ก.ย. 2561
  • Share :
  • 1,053 Reads   

Fujitsu Fsas เสนอไอเดียปฏิวัติวงการ IT Support ในญี่ปุ่น ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) และเทคโนโลยีความเป็นจริงแต่งเติม (Augmented Reality: AR) ซึ่งไอเดียแรกคือ การใช้เทคโนโลยี VR จัดทำ “ห้องเรียน” สำหรับสอนดูแลรักษาอุปกรณ์ IT เพื่อใช้ในการอบรมวิศวกรบริการด้านเทคนิค ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี AR และจอแสดงผลแบบสวมศีรษะ (Head-Mounted Display: HMD) เพื่อประสานงานกับวิศวกร เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนอยู่ในสถานที่จริง  

เดิมที โปรแกรมอมรบด้วย VR นั้น Fujitsu เป็นผู้ออกแบบเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นเหมือน “ห้องเรียนจำลองขนาดใหญ่” เพื่อสอนการทำงานกับ UNIX Server และ Mainframe ของ Fujitsu และ Fujitsu Fsas ได้รับผิดชอบในด้านบำรุงรักษา ซึ่ง Fujitsu Fsas ได้อาศัยองค์ความรู้จากการดูแลรักษาห้องเรียนจำลองนี้ มาใช้ร่วมกับ ข้อมูลแบบจำลอง 3 มิติ มาพัฒนาเป็นห้องเรียนอบรบสำหรับวิศวกรบริการด้านเทคนิคขึ้นมา 

Fujitsu Fsas ชี้แจ้งว่า “โดยทั่วไปแล้ว อุปกรณ์ IT ที่เกี่ยวข้องกับระบบหลักมักจะไม่มีความขัดข้องมากนัก ส่งผลให้วิศวกรระบบไม่มีโอกาสได้ทำงานซ่อมบำรุง” ซึ่งเทคโนโลยี VR จะเข้ามาช่วยในจุดนี้ ด้วยการจำลองปัญหารูปแบบต่าง ๆ ออกมาให้ทดลองทำงาน โดยที่ไม่มีผลกระทบต่ออุปกรณ์จริง ซึ่งจะช่วยฝึกฝนวิศวกรให้มีทักษะในการแก้ปัญหาจริง นอกจากนี้ ยังประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการเรียนรู้กับอุปกรณ์จริงอีกด้วย

โดยห้องเรียน VR จะทำการสาธิตที่โตเกียว และมีกำหนดเปิดให้ใช้งานทั่วประเทศญี่ปุ่นในปีงบประมาณ 2018 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมมากกว่า 400 คน

ส่วนเทคโนโลยี AR นั้น เบื้องต้นวิศวกรบริการจะใช้ในการช่วยตรวจสอบสภาพและแนะนำวิธีซ่อมเครื่องปริ้นเตอร์ โดยใช้คู่กับ HMD ที่ Fujitsu พัฒนาขึ้น ซึ่งระบบนี้วิศวกรบริการสามารถระบุตำแหน่งให้ช่างทำงานตามได้โดยง่าย ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องข้อจำกัดในการประสานงานผ่านโทรศัพท์ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเครื่องปริ้นเตอร์ในกรณีที่การพิมพ์มีตำหนิ 

ขณะนี้ Fujitsu มีศูนย์ซ่อมบำรุงทั่วประเทศญี่ปุ่นประมาณ 850 แห่ง ซึ่งจะเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีนี้ตามลำดับ คาดการณ์ว่าจะต้องใช้ HMD กว่า 1,000 เครื่อง และหากการใช้งานให้ผลลัพธ์ที่ดีแล้ว จึงจะพิจารณาขยายขอบเขตการใช้งานต่อไป

อ่านต่อเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี AR และ VR ไปใช้