โลจิสติกส์ อีกอุตสาหกรรมที่ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จับตามอง

อัปเดตล่าสุด 18 เม.ย. 2562
  • Share :
  • 851 Reads   

พัฒนาการทางเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ กำลังกลายเป็นอีกอุตสาหกรรมที่ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า และผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จับตามองในขณะนี้ ด้วยการนำเทคโนโลยีสื่อสารพลังงานต่ำระยะไกลแบบไร้สาย LPWA, WI-FI, และอื่น ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ เพื่อควบคุมและบริหารจัดการสินค้าจากทางไกล ซึ่งเป็นสิ่งที่แท็ก RFID (Radio Frequency IDentification) ไม่รองรับการทำงาน และความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีอื่น ที่อาจถูกนำมาใช้มากขึ้นในอนาคต

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ผลิตหลายรายจึงตัดสินใจพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการจากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เช่น Alps Electric ซึ่งพัฒนา “Lykaner” อุปกรณ์ส่งสัญญาณแบบไร้สาย ซึ่งใช้เทคโนโลยี WI-FI และ Sigfox เครือข่าย IoT พลังงานต่ำ ได้เป็นอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่สามารถทำงานได้เป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องชาร์จไฟเพิ่ม พร้อมติดตั้งเซ็นเซอร์สำหรับวัดตำแหน่ง จับเวลา และอื่น ๆ ส่งผลให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น จับเวลาในการส่งสินค้าที่ละลายได้ หรือการตรวจสอบว่ามีสินค้าพลิกคว่ำหรือไม่

นอกจากอุปกรณ์ส่งสัญญาณแล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่จะมีความต้องการในด้านอื่นเพิ่มขึ้นด้วย เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งผ่านมา สินค้าที่ถูกจัดส่ง มักถูกจัดส่งโดยการบรรจุสินค้าไว้ในตู้คาร์โก หรือจัดเรียงไว้บนพาเลท อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบธุรกิจโลจิสติกส์ รวมถึงลูกค้าผู้ใช้บริการหลายราย แสดงความเห็นว่าการจัดส่งสินค้าในรูปแบบนี้มีต้นทุนสูงเกินไป และแสดงความต้องการรูปแบบการจัดส่งที่มีราคาถูกลง หรือกระทั่งรายที่เจาะจงว่าต้องการให้ราคาที่ใช้ในการจัดส่งเหลือเพียง 10% จากเดิม ทำให้คาดการณ์ได้ว่า สิ่งที่จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นในตลาดนี้ คือผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น ตู้สินค้าสำหรับอาหาร สารเคมี หรือของเหลว ซึ่งสามารถพับเก็บได้, พาเลทที่ถูกออกแบบขึ้นสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์ หรือ Precision Machine โดยเฉพาะ, และอื่น ๆ

ซึ่งแนวทางข้างต้นนี้ เป็นปัจจัยที่ทำให้ NEC ตัดสินใจเปิดบริการบริหารจัดการโลจิสติกส์ ด้วยการใช้เทคโนโลยี Sigfox ร่วมกับ GPS, WI-FI, และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ เพื่อมุ่งจับความต้องการของผู้ใช้ที่ต้องการตรวจสอบการจัดส่งของสินค้าตนอย่างละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการนำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอื่น เช่น การเช่า Machine Tools เพื่อให้เจ้าของเครื่องสามารถตรวจสอบสภาพเครื่องของตนได้อีกด้วย

ส่วนทางด้าน Kyocera เอง ได้แสดงความเห็นต่อกรณีเหล่านี้ไว้ว่า “เทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาแพงกว่าเทคโนโลยีที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปัจจุบันจริง แต่หากความต้องการเพิ่มมากขึ้นแล้ว ราคาก็จะถูกลงได้ในอนาคต” นอกจากนี้หากสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในด้านอื่น ๆ ให้กับการจัดส่งได้นอกเหนือจากการรู้ตำแหน่ง ก็จะทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้มีค่าต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์มากขึ้นในอนาคต