ส่งออกไทย 2567 เดือนมิถุนายน หดตัว 0.3% กลับมาหดตัวเล็กน้อย

ส่งออกไทย 2567 เดือนมิถุนายน หดตัว 0.3% กลับมาหดตัวเล็กน้อย

อัปเดตล่าสุด 9 ส.ค. 2567
  • Share :
  • 493 Reads   

สถานการณ์ส่งออกในเดือนมิถุนายน 2567 ไทยทำตัวเลขส่งออกมูลค่า 24,796.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (892,766 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 0.3 กลับมาหดตัวเล็กน้อยสาเหตุหลักจากสินค้าผลไม้เข้าสู่ช่วงท้ายของฤดูกาล จึงมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ดุลการค้าไทยเกินดุลต่อเนื่อง 2 เดือน

26 กรกฎาคม 2567 สำนักนโยบบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขการส่งออกเดือนมิถุนายน 2567  การส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2567 มีมูลค่า 24,796.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (892,766 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 0.3 กลับมาหดตัวเล็กน้อยสาเหตุหลักจากสินค้าผลไม้เข้าสู่ช่วงท้ายของฤดูกาล จึงมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงดุลการค้าไทยเกินดุลต่อเนื่อง 2 เดือน ขณะที่บรรยากาศการค้าโลกเริ่มมีความวิตกกังวลต่อแนวโน้มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า ทั้งยังมีความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งในหลายประเทศ นอกจากนี้ ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอาทิ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ยังส่งผลให้ความต้องการของเครื่องยนต์สันดาปฯ หดตัวลงอย่างชัดเจน 

ทั้งนี้ การส่งออกไทยครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.0 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 3.1 

สรุปมูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมิถุนายน 2567

  • การส่งออก มีมูลค่า 24,796.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • การนำเข้า มีมูลค่า 24,578.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ  0.3 
  • ดุลการค้า เกินดุล 218.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ภาพรวมครึ่งปีแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 145,290.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 150,532.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 3.0 ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2567 ขาดดุล 5,242.7 ล้านเหรียญสหรัฐ

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2567

  • การส่งออก มีมูลค่า 892,766 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • การนำเข้า มีมูลค่า 895,256 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.6 
  • ดุลการค้า เกินดุล 13,214 ล้านบาท
  • ภาพรวมครึ่งปีแรก 2567 การส่งออก มีมูลค่า 5,191,014 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 5,437,480 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2567 ขาดดุล 246,466 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 3.3 (YoY) กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน โดยสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 2.2 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 4.8 กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แด้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 96.6 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย สหรัฐฯ และโกตติวัวร์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 28.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวโมตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย) ไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 4.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย มาเลเซีย อิตาลี และฟิลิปปินส์) ผลไม้กระป้องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 6.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (ขยายตัวโนตลาดจีน ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแคนาดา) และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 147.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา อิตาลี และเวียดนามาม)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 37.8 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดจีน ฮ่องกง สหรัฐฯ เวียดนาม และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีได้ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และสหราชอาณาจักร) น้ำตาลพราย หดตัวร้อยละ 51.9.9 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน ลาว และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดกัมพูชา แทนชาเนีย เวียดนาม เคนยา และจีน) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 9.5 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา เมียนมา จีน และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดลาว มาเลเชีย สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดีย) และไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 13:4 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย เกาหลีได้ ฮ่องกง และสหราชอาณาจักร แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาชิโดเนีย และคูเวต) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัว ร้อยละ 3.3

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 0.3 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 13.5 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวเดือนก่อนหน้า(ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เม็กซิโก และชาอุดีอาระเบีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.0 ขยายตัวต่อเมือง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสาธารณรัฐเช็ก) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 7.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวไมตลาดจีน อินเดีย สิงคโปร์ เวียดนาม และเมียนมา) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 20.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 13 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และเมียนมา)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 7.9 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย และบราชิล) เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 6.3 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวไมตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ออสเตรเลีย และมาเลเซีย แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย อินโดนีเซีย สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน) เคมีภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 5.5 หดตัวต่อเนื่อง 26 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย กัมพูชา ออสเตรเลีย และแอฟริกาได้)
แผงวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 21.4 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ได้หวัน และจีน แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย อินเดีย บราซิล อินโดนีเซีย และลาว) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 24.2 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เมียนมา และลาว แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย ออสเตรเลีย และเวียดนาม) เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 54.2 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดแอฟริกาใต้ อาร์เจนตินา อินเดีย ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บราชิล กัมพูชา และสหราชอาณาจักร) ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัว ร้อยละ 2.0

ตลาดส่งออกที่สำคัญ 

ภาพรวมการส่งออกไทยหดตัวเล็กน้อยตามความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจประเทศค้า แต่การส่งออกไปหลายตลาด สำคัญยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อาทิ สหรัฐฯ CLUMV ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 1.3 ตามการหดตัวของการส่งออกไปตลาดจีน ร้อยละ 123 ญี่ปุ่น ร้อยละ 123 และอาเซียน (5) ร้อยละ 20 แต่ขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ และ C MV ร้อยละ 5.4 และร้อยละ 76 ตามลำดับและกลับมาขยายตัวในตลาดสหภาพยโรป (27) ร้อยละ 79 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยขยายตัวในตลาดเชียใต้ ร้อยละ 9:3 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 16.1 แอพริกา ร้อยละ 25.1 ลาตินอมมริกา ร้อยละ 30.5 ขณะที่หตัวในตลาดทวีปออยเตรเลีย ร้อยละ 4.5 รัสเซียและกลุ่ม (15 ร้อยละ 20.7 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 200 (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 15.0

ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอุปกรณ์กึ่งตังตัวน้ำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอดเป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 11.2

ตลาดจีน กลับมาหดตัวตัวร้อยละ 12.3 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบและยางพารา เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 12

ตลาดญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 12.3 (หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและ ส่วนประกอบอื่น ๆ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบทองแดงและของทำด้วยทองแดง และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ทดตัวร้อยละ 7.5

ตลาดสหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวร้อยละ 7.9 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และแผงงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.4

ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 2.0 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่นรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเม็ดพลาสติก ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 27

ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 7.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเครื่องดื่ม เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 7.0

ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 9.3 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัถมณีและ
ส่วนประกอบ และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 55

ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 4.5 (หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่กที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และอาหารทะเลกระป้องและแปรรูป เป็นต้นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 11.9

ตลาดตะวันออกกลาง กลับมาขยายตัวร้อยละ 16.1 สินค้าสำคัญเที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และไม้และผลิตภัตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 0.04

ตลาดแอฟริกา กลับมาขยายตัวร้อยละ 25.1 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง และอะอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 4.7

ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 30.5 (ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันตาปภายใน และเครื่องรับวิทย โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 11.3

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 20.7 (กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หัดตัว เช่น อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำลัญสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ณฑ์ยาง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 9.5

ตลาดสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 20.0 (หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถจักจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ทั้งนี้ ครึ่งแรกของปี 2567 ทดตัวร้อยละ 15.3

การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป

การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนมิถุนายน อาทิ (1) การหารือเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเพื่อขยายโอกาสทางการค้า โดยกระทรวงพาณิชย์ของไทยขอให้ญี่ปุ่นเพิ่มรายการนำเข้าสินค้ากล้วยหอมทอง และลดภาษีน้ำตาลทราย พร้อมกันนี้ยังได้ชักชวนนักลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องมือแพทย์ หุ่นยนต์และพลังงานสะอาด มาลงทุนในไทยและในพื้นที่ EEC (2) การนำผู้ประกอบการข้าวไทยเดินทางเยือนจีนเพื่อสร้างความเชื่อมั่น โดยกรมการค้าต่างประเทศนำสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยเดินทางเยือนเมืองกวางโจวเพื่อพบปะผู้นำเข้า และผู้ประกอบการค้าข้าวในจีน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการค้าข้าว พร้อมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ข้าวไทย แสดงศักยภาพ ในฐานะผู้ส่งออกข้าวที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับโลก และมีแผนที่จะใช้อินฟลูเอนเซอร์ และบล็อกเกอร์ มาช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางยอดนิยมของกลุ่มคนวัยรุ่นจีนอย่าง TIkTok หรือ WeChat Channel.

แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดยมีปัจจัยบวกจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สนับสนความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้อง ขณะที่มีปัจจัยเสียงจากสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ส่งผลให้ผลผลผลิตทางการมตรออกสู่ตลาดลดลง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่ สงครามกลางเมืองในหลายประเทศ ปัญหาค่าระวางเรือที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจของคู่ค้าบางประเทศพื้นตัวได้ค่อนข้างล่าช้า รวมถึงการเลือกตั้งในหลายประเทศสร้างความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนซะลอการลงทุนเพื่อรอท่าทีนโยบายของรัฐบาลใหม่

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH