ดัชนีราคาผู้ผลิตไทย 2567 เดือน พ.ค. สูงขึ้น 3.9%
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสรุปรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทย เดือนพฤษภาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 113.6 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 สูงขึ้นร้อยละ 3.9 (YoY) ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.3 โดยมีกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องจักรและเครื่องมือ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง
ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA : Classification of Products by Activity) เดือนพฤษภาคม 2567 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 113.6 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 สูงขึ้นร้อยละ 3.9 (YoY) ประกอบด้วย หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.3 โดยมีกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องจักรและเครื่องมือ และกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และหมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 9.5 เป็นผลจากสินค้าสำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว อ้อย ยางพารา พืชผัก ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน ขณะที่หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 16.6 จากราคาสินค้าก๊าซธรรมชาติ และเกลือสมุทร
ขณะที่ ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing) ประกอบด้วยดัชนีราคาหมวดสินค้าสำเร็จรูป และหมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) สูงขึ้นร้อยละ 4.1 และ 5.8 ตามลำดับ ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบ ลดลงร้อยละ 1.0 จากกลุ่มสินค้าวัตถุดิบที่ไม่ใช่อาหาร ลดลงร้อยละ 3.8 สำหรับกลุ่มสินค้าวัตถุดิบสำหรับอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 1.2 ทั้งนี้ ในห่วงโซ่อุปทานมีสินค้าสำเร็จรูปที่ราคาเคลื่อนไหวในทิศทางสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต้นน้ำ/กลางน้ำ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า → ข้าวสารเจ้า/ข้าวนึ่ง/ปลายข้าว ข้าวเปลือกเหนียว → ข้าวสารเหนียว ยางแผ่นดิบ/น้ำยางสด/เศษยาง → ยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง/น้ำยางข้น และ อ้อย → น้ำตาลทราย
- ดัชนีราคาผู้ผลิตไทย 2567 เดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 3.4%
- ส่งเสริมลงทุนปี 2566 พุ่งทะลุ 8 แสนล้าน บีโอไอเปิด 5 แผนรุกดึงลงทุนปี 2567
- จังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุด 2567 เดือนเมษายน 'สมุทรปราการ' ครองแชมป์
ดัชนีราคาผู้ผลิต 2567 เดือนพฤษภาคม เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 3.9 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
-
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 4.3 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 น้ำมันเตา น้ำมันแก๊สโซฮอล์95 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันก๊าด และกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แก่ ทองคำ เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน น้ำยางข้น ถุงพลาสติก ประตูพีวีซี และถุงยางอนามัย เนื่องจากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวนึ่ง น้ำสับปะรด สับปะรดกระป๋อง น้ำตาลทรายดิบข้าวสารเหนียว นมพร้อมดื่ม และปลายข้าว เนื่องจากความต้องการของตลาดมีอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศและส่งออก ประกอบกับราคาวัตถุดิบสินค้าเกษตรปรับสูงขึ้น กลุ่มเครื่องจักรและเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ และคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบและค่าจ้างแรงงานปรับเพิ่มขึ้น กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถบรรทุก และรถยนต์นั่งต่ำกว่า 1,800 ซีซี เนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นจากการปรับเปลี่ยนบางชิ้นส่วนอุปกรณ์ (Minor Change)
-
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 9.5 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และอ้อย เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ประเทศผู้ค้าข้าวและอ้อยรายสำคัญในตลาดโลกมีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวและน้ำตาล ยางพารา เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการใช้และเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น พืชผัก เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ผลผลิตเสียหาย ปริมาณผลผลิตมีน้อย ทุเรียน และสับปะรดโรงงาน เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย และผลผลิตบางส่วนเสียหายจากสภาพอากาศที่ร้อน ขณะที่ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับสินค้าที่ราคาปรับลดลง ประกอบด้วย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคปศุสัตว์ลดลงกว่าปีก่อน หัวมันสำปะหลังสด ปาล์มน้ำมัน เนื่องจากคุณภาพผลผลิตในปีนี้ลดลงจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด มะนาว จากฐานของปีก่อนที่สูงจากภาวะแล้ง กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกรมีชีวิต โคมีชีวิต และไก่มีชีวิต เนื่องจากปริมาณผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งจากการนำเข้าและการผลิตของเกษตรกรในประเทศ ขณะที่ความต้องการบริโภคยังไม่ฟื้นตัวดี ส่งผลให้ราคาหน้าฟาร์มลดลง
-
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 16.6 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ จากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางของราคาตลาดโลก และเกลือสมุทร เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ทำให้มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ดัชนีราคาผู้ผลิต 2567 เดือนพฤษภาคม เทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) ลดลงร้อยละ 0.2 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้
-
หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.4 จากการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 น้ำมันก๊าด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และน้ำมันเตา กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น
เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กรูปตัวซี เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก ประกอบกับราคาวัตถุดิบปรับลดลง กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ ผ้าใยสังเคราะห์ และผ้าดิบ เนื่องจากสินค้าบางชนิด เป็นสินค้าส่งออก ราคาจึงปรับลดลงตามค่าเงินบาทที่แข็งค่า กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ยางพารา เนื่องจากเกษตรกรตัดไม้ยางขายเป็นจำนวนมากในช่วงฤดูแล้ง ทำให้ปริมาณสินค้าในสต็อกเพิ่มขึ้น ขณะที่ประเทศจีนชะลอการสั่งซื้อ ราคาจึงปรับลดลง -
หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 1.6 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย พืชผัก (ต้นหอม ผักชีถั่วฝักยาว พริกสด กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักกวางตุ้ง) ทุเรียน จากภาวะแล้งทำให้ปริมาณผลผลิตเสียหายและลดลงมาก สุกรมีชีวิต จากการที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรปรับขึ้นราคาขายหน้าฟาร์ม ประกอบกับการตัดวงจรสุกร เพื่อลดปริมาณผลผลิตลง ไข่ไก่ จากสภาพอากาศที่ร้อนทำให้ผลผลิตมีปริมาณลดลง ประกอบกับเครือข่ายสหกรณ์ไข่ไก่ปรับราคาไข่ไก่สดขึ้นหลายครั้ง สำหรับสินค้าส าคัญที่ราคาปรับลดลง ประกอบด้วย กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ยางพารา เป็นการปรับตัวลดลงจากราคาที่สูงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับผู้ประกอบการบางส่วนได้เก็บสินค้าคงคลังไว้ล่วงหน้า ปาล์มน้ำมัน และหัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้คุณภาพของผลผลิตลดลง ประกอบกับผลผลิตของประเทศผู้ผลิตรายสำคัญในภูมิภาคออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาในตลาดโลกลดลง
-
หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 1.4 จากการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว (คอนเดนเสท) และสินแร่ (สังกะสี ดีบุก) เนื่องจากราคาเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับตลาดโลกในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งอ้างอิงตามประกาศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมิถุนายน 2567
ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนมิถุนายน 2567 มีแนวโน้มสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมาตรการอุดหนุนด้านพลังงานของภาครัฐที่ลดลง ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องในหมวดอุตสาหกรรม รวมไปถึงต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ส่งผลกระทบตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น เมื่อรวมกับต้นทุนที่สูงขึ้นจากภาคการเลี้ยงปศุสัตว์ อาจส่งผลให้สินค้าในหมวดเกษตรกรรมปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งฐานราคาปี 2566 อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยที่ต่ำ จะทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตมีแนวโน้มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ราคาพลังงานในตลาดโลกที่ยังมีความผันผวนจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าระลอกใหม่ที่เริ่มต้นขึ้น รวมไปถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่ทยอยดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทย ตามลำดับ ทั้งนี้ จะต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
#ดัชนีราคาผู้ผลิต 2567 #ดัชนีราคาผู้ผลิต ppi #ดัชนีราคาผู้ผลิต (ppi) #ดัชนีราคาผู้ผลิต (ppi) คือ #ดัชนีราคาผู้ผลิต คือ #ดัชนีราคาผู้ผลิต ย้อนหลัง #แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต #ดัชนีราคา #ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม #กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า #สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า #กระทรวงพาณิชย์
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2566
- คาร์บอนเครดิต คือ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
- Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
- การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
- ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
- solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH