อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

อัปเดตล่าสุด 11 มี.ค. 2567
  • Share :
  • 7,149 Reads   

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2566 ดัชนีผลผลิตลดลง 9.7% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยลดลงทั้งกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน เช่นเดียวกับการนำเข้าที่หดตัว 7.3% ในขณะที่การบริโภคเหล็กในประเทศขยายตัว 1.9%

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 ที่เผยแพร่โดย กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าลดลงเมื่อเทียบกับปี 2565 โดยลดลงทั้งกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่ลดลง เช่น เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน เหล็กลวด และลวดเหล็ก และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2566 อยู่ที่ 82.2 ลดลง ร้อยละ 9.7 (%YoY) ซึ่งลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน ดังนี้

  • ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่น เคลือบสังกะสี จากการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศ

  • ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่มีการผลิตลดลง ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กลวด และลวดเหล็ก สำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่ลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่น เคลือบสังกะสี จากการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 2566 ไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การบริโภคเหล็กในประเทศ

ในปี 2566 การบริโภคเหล็กในประเทศมีปริมาณ 16.7 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 1.9 (%YoY) จากปีที่ผ่านมา ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน

  • เหล็กทรงแบนมีการบริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่น เคลือบประเภทอื่น ๆ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง เป็นหลักเครื่องใช้ไฟฟ้า

  • เหล็กทรงยาวทุกประเภทมีการบริโภคเพิ่มขึ้น 

การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า

ใน 2566 การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้ามีมูลค่า 11.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.3 (%YoY) จากปีที่ผ่านมา โดยลดลงทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบน 

  • ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนที่มีมูลค่านำเข้าลดลง เช่น เหล็กแผ่นรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบทุกประเภทที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 

  • ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวที่มีมูลค่านำเข้าลดลง เช่น เหล็กเส้น เหล็กลวด และลวดเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 2566 ไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าปี 2567 

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในปี 2567 คาดการณ์ว่า การผลิตจะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจาก คาดว่าจะมีการนำเข้าเหล็กที่มีราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อปริมาณการผลิตเหล็กในประเทศ สำหรับการบริโภค เหล็กปี 2567 คาดว่ามีปริมาณ 16.8 ล้านตัน ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีปัจจัยจากการขยายตัวของการลงทุน ภาคเอกชน ทั้งนี้ มีประเด็นสำคัญที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์ เศรษฐกิจและการค้าโลก และการดำเนินนโยบายอุตสาหกรรม เหล็กของจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ส่งออกเหล็กรายใหญ่ของโลกเนื่องจากจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก ในประเทศ 

 

อ่านต่อ: 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH