การค้าต่างประเทศของไทยปี 2566

การค้าต่างประเทศของไทยปี 2566 หดตัว 3.68%

อัปเดตล่าสุด 11 มี.ค. 2567
  • Share :
  • 15,330 Reads   

การค้าต่างประเทศของไทยในปี 2566 (ม.ค.-ต.ค.) หดตัว 3.68% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่มีมูลค่าลดลง 2.72% และการนำเข้าที่มีมูลค่าลดลง 4.59% ส่งผลให้ไทยขาดดุล 6,665.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 ที่เผยแพร่โดย กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุว่า การค้าต่างประเทศของไทยปี 2566 (ม.ค.-ต.ค.) หดตัวลงร้อยละ 3.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ ผลกระทบจากการดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดของหลายประเทศ อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะยังขยายตัวได้จากแรงสนับสนุนของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว

การค้าระหว่างประเทศของไทยปี 2566 (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้น 479,961.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 236,648.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อย 2.72 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) และมูลค่าการนำเข้า 243,313.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) ดุลการค้าปี 2566 ขาดดุล 6,665.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกสินค้าของไทยปี 2566 มีมูลค่า 236,648.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อย 2.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY)  โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 22,769.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.22 (%YoY)
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มีมูลค่าการส่งออก 19,011.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.45 (%YoY) 
  • สินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่าการส่งออก 185,320.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.82 (%YoY)
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 7,821.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.69 (%YoY)

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

ตลาดส่งออกปี 2566 

ในปี 2566 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลักรวม 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็นร้อยละ 69.14 และสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 30.86 ของการส่งออกทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็นร้อยละ 23.50, 16.90, 12.23, 8.80 และ 7.71 ตามลำดับ
  • มูลค่าการส่งออกของไทย รวม 236,648.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (%YoY) โดย สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 18.45 รองลงมา คือ อาเซียน หดตัวร้อยละ 9.48 จีน หดตัวร้อยละ 0.69 และ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 0.08 ส่วนประเทศที่การส่งออกขยายตัว คือ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 0.15

ตลาดส่งออกสินค้า

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยปี 2566 สัดส่วนการส่งออก 

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในปี 2566 มีมูลค่า 243,313.20 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า  45,511.52  ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.50 (%YOY)
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 57,325.54 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.53 (%YOY)
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 95,984.43 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 10.90 (%YOY)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า  27,590.76 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.47 (%YOY)
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 13,386.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ  32.16 (%YOY)
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 3,513.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.33 (%YOY) 

 

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

ตลาดนำเข้าปี 2566

ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลักรวม 5 ตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 65.05 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 31.55 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยตลาดนำเข้าหลักของไทยส่วนใหญ่ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และอาเซียน ยกเว้น จีน และญี่ปุ่น ที่หดตัวเล็กน้อย มีรายละเอียดดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 24.12, 16.97, 10.34, 6.74 และ 6.89 ตามลำดับ 
  • ไทยมีมูลค่าการนำเข้า รวม 243,313.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย อาเซียน หดตัวสูงสุดร้อยละ 6.75 รองลงมา คือ จีน หดตัวร้อยละ 1.22 ส่วนประเทศที่การนำเข้าขยายตัวสูงสุด คือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 9.94 รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 9.69 และ ญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 0.76

ตลาดนำเข้าสินค้า

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

 

ทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH