ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีนาคม 2568 ร่วงเหลือ 56.7

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมีนาคม 2568 ร่วงต่อเนื่อง ผลกระทบนโยบาย Trump 2.0 กำลังซัดเศรษฐกิจไทย?

อัปเดตล่าสุด 10 เม.ย. 2568
  • Share :

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือนมีนาคม 2568 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยอยู่ที่ระดับ 56.7 จาก 57.8 ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนความกังวลของผู้บริโภคต่อสงครามการค้าภายใต้นโยบาย Trump 2.0 เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนมีนาคม 2568 ที่จัดทำโดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทย ได้ดำเนินการโดยออกแบบสอบถามตัวอย่างจากประชาชนทั่วประเทศเป็นจำนวน 2,242 คน แยกเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล  40.1% และต่างจังหวัด 59.9% โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย และเพศหญิง ประมาณ 49.8% และ 50.2% ตามลำดับ

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย

ปัจจัยด้านบวก

  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมากขึ้นหลังจาการเปิดประเทศตลอดจนยกเว้นการยื่นวีซ่านักท่องเที่ยว รวมการขยายระยะเวลาการพานักท่องเที่ยว ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากยิ่งขึ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่าง ๆ ปรับตัวดีขึ้น
  • การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2568 มีมูลค่า 26,707.13 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 14.04% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 24,718.88 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 3.96% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 1,988.25 ล้านดอลลาร์ทำให้ช่วง 2 เดือนแรกปี 2568 ส่งออกได้รวม 51,984.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 13.80% และมีการนำเข้ารวม 51,876.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.97% ส่งผลให้ขาดดุลการค้ารวม 108.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
  • ระดับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตวัลดลง โดยราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91(E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (E10) ปรับตัวลดลงประมาณ 1.20 และ 1.20 บาทต่อลิตร จากระดับ 34.98 และ 35.35 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ตามลำดับ มาอยู่ที่ระดับ 33.78 และ 34.15 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2568 ตามลาลำดับ ส่วนราคาน้ำมัน ดีเซลขายปลีกในประเทศ ยังคงทรงตัวจากเดือนที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ระดับ 32.94 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2568
  • ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวในระดับ ที่ดีเกือบทุกรายการสำคัญส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาข้าว อ้อย และมันสำปะหลังมีราคาไม่ค่อยดี

ปัจจัยด้านลบ

  • ความกังวลต่อแนวทางนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และการตอบโต้ของประเทศต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบของนโยบาย Trump 2.0
  • ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังฟื้นตัวช้า ตลอดจนปัญหาค่าครองชีพ รวมถึงผู้บริโภคยังรู้สึกว่ารายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น
  • ความกังวลต่อเหตุแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา ซึ่งก่อให้เกิดแรงสะเทือนถึง ประเทศไทยหลายพื้นที่และเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคเหนือ ท าให้พ้ืนที่ได้รับความเสียหายและสร้างความวิตกกังวลให้หลายๆ คน
  • SET Index ในเดือนมีนาคม 2568 ปรับตัวลดลง 45.63 จุด โดยปรับตัวลดลงจาก 1,203.72 จุด ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์2568 เป็น 1,158.09 จุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2568
  • ความกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่ยังคงยืดเยื้อ ทั้งสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับขบวนการฮามาส (Hamas) ตลอดจนสถานการณ์ความขัดแย่งในตะวันออกกลางที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาน้ำมันและพลังงานโลกยังทรงตัวสูงและกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกให้ช้าลงหรือชะลอตัวลงและอาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยในอนาคต
  • เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อย จากระดับ 33.779 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 เป็น 33.822 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2568 สะท้อนว่ามีการไหลออกสุทธิของเงินตราต่างประเทศ
  • ราคาข้าว อ้อย และมันสำปะหลังอยู่ในระดับต่ำกว่าปี ที่ผ่านมา อาจส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่มากนัก มีผลต่อกำลังซื้อในบางพื้นที่ต่างจังหวัดในระยะนี้
  • ความกังวลต่อสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑลและในบางจังหวัดของภาคกลาง และภาคเหนือ ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน
  • ความกังวลต่อสถานการณ์ภัยแล้ง ที่จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำ ท้ังภาคเกษตรภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ ตลอดจนภาคครัวเรือน

#ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค #เศรษฐกิจไทย #GDP Thailand #อุตสาหกรรมไทย #MReportTH 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH