อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ยอดผลิต "เหล็กเส้นกลม" อ่วมสุด

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ยอดผลิต "เหล็กเส้นกลม" อ่วมสุด

อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 2567
  • Share :
  • 1,344 Reads   

ในปี 2567 ไตรมาสแรก อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้ามีค่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ 86.5 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.6 (%QoQ)

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 1 ปี 2567 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 จากการผลิตผลิตภัณฑ์เหล็ก เช่น เหล็กเส้นกลม และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี การบริโภคในประเทศ หดตัวจากการบริโภคเหล็ก เช่น เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างเหล็กแผ่นบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี

การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 86.5 หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 6.6 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การผลิตเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 2.8 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม หดตัวร้อยละ 17.8 รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน หดตัวร้อยละ 9.4 และ 5.9 ตามลำดับ การผลิตเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 3.9 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัว ได้แก่เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 15.4 และ 1.4 ตามลำดับ และการผลิตท่อเหล็กกล้า หดตัวร้อยละ 17.4

การบริโภคเหล็กในประเทศ

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มีการบริโภคเหล็กในประเทศ​ปริมาณ4.0 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 12.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.6 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การบริโภคหดตัวทั้งในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวและผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบน โดยการบริโภคเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 13.7 จากการบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง และเหล็กลวด การบริโภคเหล็กทรงแบนหดตัวร้อยละ 12.2 จากการบริโภคเหล็กแผ่นหนารีดร้อน เหล็กแผ่นบางรีดร้อน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ

​การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้า

ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 มี​การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าปริมาณ 2.7 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.8 (%YoY) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนร้อยละ 7.8 (%QoQ) โดยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 3.5 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภทAlloy Steel หดตัวร้อยละ 44.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ และเหล็กเส้น ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 17.5 และ 17.3 ตามลำดับ เหล็กทรงแบนหดตัวร้อยละ 12.9 ผลิตภัณฑ์ที่การนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก หดตัวร้อยละ 34.6 (ประเทศหลักที ่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และเกาหลีใต้) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Stainless Steelและเหล็กแผ่นรีดเย็น ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 33.3และ 20.5 ตามลำดับ

 

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ของปี2567

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2567 คาดการณ์การผลิตจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง ทำให้ผู้บริโภคชะลอการสั ่งซื้อเพื ่อดูทิศทางราคา และ
อาจส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็ก อย่างไรก็ตาม การเร่งดำเนินโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ของภาครัฐที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินการได้ตามการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ คาดว่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศ

อ่านต่อ: 

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH