ส่งออกไทย 2567 เดือนพฤษภาคม ขยายตัว 7.2% ดุลการค้ากลับมาเกินดุลในรอบ 5 เดือน
สถานการณ์ส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2567 ไทยทำตัวเลขส่งออกมูลค่า 26,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (960,220 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 7.2 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 6.5
21 มิถุนายน 2567 สำนักนโยบบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2567 การส่งออกไทยทำมูลค่าสูงสุดในรอบ 14 เดือน ทำให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลในรอบ 5 เดือน โดยได้รับแรงหนุนสำคัญจากการส่งออกสินค้าเกษตร เนื่องจากเป็นเดือนที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก ขณะเดียวกันภาคการผลิตของโลกฟื้นตัวได้ดีสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลก (Global PMI) ที่มีทิศทางขยายตัวเร่งขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ การส่งออกไทย 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 2.6 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 4.3
สรุปมูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤษภาคม 2567
- การส่งออก มีมูลค่า 26,219.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- การนำเข้า มีมูลค่า 25,563.3ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.7
- ดุลการค้า เกินดุล 656.1ล้านเหรียญสหรัฐ
- ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 120,493.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 125,954.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว ร้อยละ 3.5 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 5,460.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤษภาคม 2567
- การส่งออก มีมูลค่า 960,220 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- การนำเข้า มีมูลค่า 947,007 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 5.5
- ดุลการค้า เกินดุล 13,214 ล้านบาท
- ภาพรวม 5 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 4,298,248 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.1 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 4,542,224 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.8 ดุลการค้า 5 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 243,976 ล้านบาท
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 19.4 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าสินค้าเกษตร กลับมาขยายตัวถึงร้อยละ 36.5 และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัว ร้อยละ 0.8 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 128.0 กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง เวียดนาม และญี่ปุ่น) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 46.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และเกาหลีใต้) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 39.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอิตาลี) ไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 10.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 3เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ไอร์แลนด์ และแคนาดา) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 95.7 กลับมาขยายตัวในรอบ 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา เกาหลีใต้ และเวียดนาม) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 8.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ลาว และออสเตรเลีย) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 6.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) และนมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 16.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์เมียนมา ฮ่องกง ญี่ปุ่น และเวียดนาม)
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 4.5 กลับมาหดตัวในรอบ 11 เดือน (หดตัวในตลาดอิรัก จีน แอฟริกาใต้ แคเมอรูน และเนเธอร์แลนด์แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ญี่ปุ่น และฮ่องกง) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 0.6 กลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ชิลี และแอฟริกาใต้ แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา ซาอุดีอาระเบีย และอิสราเอล) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 46.1 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และไต้หวันแต่ขยายตัวในตลาดลาว เวียดนาม ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และจีน) และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 16.2 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้เวียดนาม และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ไต้หวัน สหรัฐฯ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.7
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.6 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน โดยมีสินค้าสำคัญ ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 110.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 12.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน อินเดีย เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย) ทองแดงและของทำด้วยทองแดง ขยายตัวร้อยละ 33.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย และสหรัฐฯ) ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ขยายตัวร้อยละ 16.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 14 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และญี่ปุ่น)
ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 8.8 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย อินเดีย เวียดนาม บราซิล และเนเธอร์แลนด์) แผงวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 11.9 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลีใต้ เม็กซิโก และเวียดนาม) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 14.1 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 27.6 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เวียดนาม อินเดียและไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และเปอร์โตริโก) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 23.6 หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (หดตัวในตลาดเบลเยียม ญี่ปุ่น บราซิล ออสเตรเลีย และจีน แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร กัมพูชา มาเลเซีย และเมียนมา) ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 2.4
ตลาดส่งออกที่สำคัญ
ตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว สอดคล้องกับเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่มีทิศทางดีขึ น และแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการผลิตโลก โดยเฉพาะการส่งออกไปตลาดจีนที่กลับมาขยายตัวในรอบ 4 เดือน และตลาดสหรัฐฯและกลุ่มประเทศ CLMV ที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 8.0 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 9.1 และ CLMV ร้อยละ 9.6 และกลับมาขยายตัวในตลาดจีน ร้อยละ31.2 ขณะที่กลับมาหดตัวในตลาดอาเซียน (5) ร้อยละ 0.6 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 5.4 แต่หดตัวต่อเนื่องในญี่ปุ่น ร้อยละ 1.0 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 5.1 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 22.4 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 14.8 รัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 2.7 ขณะที่หดตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 1.4ตะวันออกกลาง ร้อยละ 8.1และแอฟริกา ร้อยละ 19.0สหราชอาณาจักร ร้อยละ 1.5(3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 11.5 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ขยายตัวร้อยละ 28.1
ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ยางยานพาหนะ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัว ร้อยละ 12.5
ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 31.2 (กลับมาขยายตัวในรอบ 4เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้งยางพาราและไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัวเช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติกและแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5
ตลาดญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 1.0 (หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัวเช่น แผงวงจรไฟฟ้า รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 6.5
ตลาดสหภาพยุโรป (27) กลับมาหดตัวร้อยละ 5.4 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 3.8
ตลาดอาเซียน (5) กลับมาหดตัวร้อยละ 0.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และข้าว เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 2.7
ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 9.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติกเป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันสำเร็จรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบและเครื่องดื่ม เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 6.9
ตลาดเอเชียใต้ขยายตัวร้อยละ 22.4 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัวเช่น ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เคมีภัณฑ์เม็ดพลาสติก เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบและเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 4.7
ตลาดทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 1.4 (กลับมาหดตัวในรอบ 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 16.1
ตลาดตะวันออกกลาง กลับมาหดตัวร้อยละ 8.1 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอัญมณีและเครื่องประดับ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 2.2
ตลาดแอฟริกา กลับมาหดตัวร้อยละ 19.0 สินค้าสำคัญที่หดตัว รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ข้าว และเครื่องยนต์สันดาปภายใน เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 10.6
ตลาดลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 14.8 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 8.0
ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 2.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และเครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 16.0
ตลาดสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 1.5 (หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถปิคอัพ รถบัสและรถบรรทุก ผลิตภัณฑ์ยาง และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่แปรรูป รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และอาหารสัตว์เลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2567 หดตัวร้อยละ 14.4
การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์
การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนพฤษภาคม อาทิ (1) การส่งเสริมการส่งออกซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในด้านภาพยนตร์และอาหาร เข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์ระดับโลก Cannes Film Festival 2024 ที่เมืองคานส์ เพื่อเปิดตลาดภาพยนตร์ แอนิเมชัน ซีรีส์วายของไทยไปสู่ระดับโลก ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในฝรั่งเศสเพื่อโปรโมตอาหารไทยและร้านอาหารไทย และเชิญผู้ประกอบการท้องถิ่นของฝรั่งเศสเยือนงานแสดงสินค้านานาชาติในไทย เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าระหว่างกัน และสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของผู้ประกอบการไทย (2) การเสริมสร้างความมั่นใจในการเป็นครัวมาตรฐานโลกของไทย หารือกับเอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย แสดงความพร้อมในการเป็นแหล่งส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพปลอดภัยไร้สารตกค้าง และมีระบบตรวจสอบย้อนกลับที่น่าเชื่อถือ ซึ่งจะสามารถสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารให้แก่สิงคโปร์และได้ผลักดันให้สิงคโปร์เร่งรัดขึ้นทะเบียนฟาร์มไข่ไก่ออร์แกนิกของไทย เพื่อให้กับผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกได้เพิ่มเติมจากปัจจุบัน (3) การเพิ่มช่องทางการส่งออกสินค้าผลไม้โดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ โดยพาณิชย์จังหวัดจันทบุรีร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าต่างประเทศ ณ นครกวางโจว จัดกิจกรรมร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์จากจีนในการ Live สด ขายทุเรียนจากจังหวัดจันทบุรี ตามนโยบายเพิ่มช่องทางการตลาดแบบใหม่โดยใช้อินฟลูเอนเซอร์ของกระทรวงพาณิชย์
แนวโน้มการส่งออกในปี 2567
แนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังเติบโตได้ดีโดยได้รับปัจจัยหนุนจากการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ช้าแต่มั่นคง โดยการประเมินขององค์การการค้าโลก (WTO) ระบุว่าปริมาณการค้าโลกจะขยายตัวร้อยละ 2.6 จากปีก่อนหน้า จากปัญหาเงินเฟ้อที่บรรเทาเบาบางลง และท่าทีของธนาคารกลางแต่ละประเทศที่มีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนและการผลิตโลกให้ฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ยังมีความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รวมทั้งปัญหาค่าระวางเรือที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในบางเส้นทางอาจเป็นปัจจัยลบต่อการส่งออกไทยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งของแต่ละประเทศยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อนโยบายการค้าที่มีต่อการค้าระหว่างประเทศของไทยด้วย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2566
- คาร์บอนเครดิต คือ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
- Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
- การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
- ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
- solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH