สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 2/2564

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 2/2564

อัปเดตล่าสุด 30 ส.ค. 2564
  • Share :
  • 2,847 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 134,449.74 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 68,186.62 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 66,263.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.95 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 2 ปี 2564 เกินดุล 1,923.5 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยมูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง เป็นอานิสงส์ให้บรรยากาศการค้าในประเทศคู่ค้าหลักของไทยปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในแต่ละประเทศและความคืบหน้าในการเร่งกระจายวัคซนีโควิด-19 ให้เข้าถึงประชาชนทุกภาคส่วน เป็นปัจจัยหนุนให้การค้าระหว่างประเทศของไทยขยายตัวดีขึ้นตามลําดับ

Advertisement

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 มีมูลค่า 68,186.62 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.84 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 7,302.94 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.77
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 4,904.73 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.74
  • สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 53,514.95 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 33.76
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 2,463.95 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 82.04

สินคัาที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่ 

  • รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 6,928.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 120.41
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 5,483.91 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.79
  • ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าการส่งออก 3,671.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 48.57
  • เม็ดพลาสติก มูลค่าการส่งออก 2,801.18 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 49.86 
  • เคมีภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 2,515.03 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 66.11

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 2 ปี 2564 การส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลักของไทย มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ทั้งสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทั้ง 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) รวมคิดเป็นร้อยละ 70.8 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.2 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเชียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็นร้อยละ 23.9, 15.0, 15.1, 9.0 และ 7.8 ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ร้อยละ 49.85 ถัดมา คือ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 33.44, 30.41, 29.22 และ 19.97 ตามลําดับ 

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ 

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 มีมูลค่า 66,263.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 47.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 9,830.89 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 92.89
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,931.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 27.31
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 29,180.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 53.12
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 7,460.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.31
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,709.89 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 61.51
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 149.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 51.08

ตลาดนำเข้าสินค้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ตลาดนําเข้าสําคัญของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการส่งออก อาทิ ตลาดอาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น จีนสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา ทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนําเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 68.3 และการนําเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 31.7 ของการนําเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป  (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 25.2, 17.7, 13.1, 7.0 และ 5.4 ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในตลาดหลัก โดยเฉพาะตลาดอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 52.06 รองลงมา คือ ญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 45.76, 34.03, 31.79 และ 5.75 ตามลําดับ

ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH