ส่งออกไทย 2566 เดือน เม.ย. ติดลบ 7.6% หดตัวต่อเนื่องเดือนที่ 7
สถานการณ์ส่งออกในเดือนเมษายน 2566 ไทยทำตัวเลขส่งออกอยู่ที่ระดับ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 7.6% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7
วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (737,788 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 7.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 6.8 ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกกดดันอุปสงค์ด้านการส่งออก หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงเผชิญกับการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ว่าปัจจัยด้านเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ความเปราะบางของภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น
โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน ตรงข้ามกับสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี โดยการส่งออกผลไม้ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงข้าว ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายขยายตัวในระดับที่น่าพอใจโดยเฉพาะตลาดจีนที่เป็นตลาดส่งออกอันดับสองของไทยกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 23 ทั้งนี้ การส่งออกไทย 4 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 5.2 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.3
- ส่งออกไทย 2566 เดือน มี.ค. หดตัว 4.2% ลดต่อเนื่องเดือนที่ 6
- ภาพรวมส่งออกไทย 2 เดือนแรก ใช้สิทธิ FTA ทะลุ 1.1 หมื่นล้านเหรียญ
- ยอดส่งออกเครื่องปรับอากาศไทย 2 เดือนแรก มูลค่ากว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โต 11%
สรุปมูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนเมษายน 2566 การส่งออก มีมูลค่า21,723.2ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.6เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า23,195.0ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.3 ดุลการค้า ขาดดุล 1,471.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออก มีมูลค่า 92,003.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 96,519.3ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.2 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 4,516.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน มาจากการขยายตัวของสินค้าเกษตรเป็นสำคัญ ซึ่งขยายตัวถึงร้อยละ 23.8 ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร กลับมาหดตัวในรอบ 3 เดือน หดตัวร้อยละ 12.0 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 142.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้และไต้หวัน) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 3.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย เม็กซิโก และญี่ปุ่น) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 2.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และสหรัฐฯ) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 38.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 6.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และฟิลิปปินส์) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 24.2 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว และเวียดนาม)
สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 44.1 หดตัวในรอบ 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว เนเธอร์แลนด์ และแอฟริกาใต้) ยางพารา หดตัวร้อยละ 40.2 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย และตุรกี แต่ขยายตัวในตลาดจีน เยอรมนี และบัลแกเรีย) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 17.1 หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดา และแอฟริกาใต้ แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย ชิลี และกัมพูชา) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 34.3 หดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซียเมียนมา กัมพูชาและฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ เวียดนาม ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และออสเตรเลีย) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 33.6 หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวในตลาดลาว กัมพูชา เมียนมา แคนาดา และเบลเยียม) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 11.2 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน แม้ว่าการส่งออกภาพรวมของหมวดจะหดตัว แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 55.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เม็กซิโก แคนาดา และฝรั่งเศส) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 107.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 25.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น และอิตาลี) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 28.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 26 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง)
สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 23.5 หดตัวต่อเนื่อง 9 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และอินเดีย แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลาว ออสเตรเลีย ฮ่องกง และแอฟริกาใต้) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 19.0 หดตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ มาเลเซียเยอรมนี ออสเตรเลีย และอินเดีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.5 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย และอาร์เจนตินา) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 27.0 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อินเดีย และเบลเยียม แต่ขยายตัวในตลาดฮ่องกง ญี่ปุ่น ตุรกี เมียนมา และอิสราเอล) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์หดตัวร้อยละ 27.1 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย สิงคโปร์ และเมียนมา) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 7.1
ตลาดส่งออกสำคัญ
การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่กลับมาหดตัว ตามการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้า ท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณบวกที่สำคัญจากการส่งออกไปตลาดจีนกลับที่มาขยายตัวในรอบ 11 เดือน
ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 6.2 โดยหดตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 9.6 ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 17.7 CLMV ร้อยละ 17.0 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 8.2 อย่างไรก็ตามตลาดจีนกลับมาขยายตัว ร้อยละ 23.0 (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 14.9 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 25.9 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 16.7 แอฟริกา ร้อยละ 26.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 9.4 แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 4.4 ตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 155.4 และสหราชอาณาจักร ร้อยละ 49.0 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 72.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 77.9
แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป
สำหรับแนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ขณะที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ปัญหาวิกฤตการเงินของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ และยุโรป และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของตลาดจีนที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบวกต่อการส่งออกไทย ขณะที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปีนี
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH