ยอดขายรถยนต์ 2564 รวมทั้งปี 7.59 แสนคัน ลดลง 4.2%
ยอดขายรถยนต์ 2564 รวมทั้งปี 7.59 แสนคัน ลดลง 4.2% จากปีก่อนหน้า โดยในเดือนธันวาคมทำสถิติยอดขายรายเดือนสูงสุดของปีนี้อยู่ที่ 86,145 คัน เพิ่มขึ้นถึง 20.12% จากเดือนก่อนหน้า
Advertisement | |
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยรายละเอียดของยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ ดังต่อไปนี้
- ยอดขายรถยนต์ 2564 เดือน พ.ย. 71,716 คัน สูงสุดรอบ 8 เดือน
- ยอดขายรถยนต์ 2564 เดือน ต.ค. บวก 13% ภาพรวม 10 เดือนยังขายได้เกือบ 6 แสนคัน
- ยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก หดเหลือ 3.7 แสนคัน เดือน มิ.ย. ตลาดยังไม่ฟื้น โดนโควิดเล่นงานยาว
ยอดขายรถยนต์ 2564
- เดือนธันวาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 86,145 คัน ลดลง 17.2% (YoY) แต่เพิ่มขึ้น 20.12% (MoM) สูงสุดในรอบ 12 เดือน โดยในปี 2564 มีปัจจัยลบสองอย่างคือการระบาดของโควิด 19 หลายระลอก ทำให้รัฐบาลล็อกดาวน์เมื่อกลางเดือนกรกฏาคม ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 ซึ่งทำให้ลูกค้าถอนมัดจำและชะลอการรับรถในช่วงนั้น และการขาดแคลนเซมิคอนดั๊กเตอร์ทำให้ต้องชะลอการผลิตรถยนต์บางรุ่นเป็นระยะ ๆ แต่ยังสูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 750,000 คัน จากการคลายล็อกดาวน์ของรัฐบาลมากขึ้นและการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเช่นโครงการคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ยิ่งใช้ยิ่งได้ และการประกันรายได้เกษตรกร เป็นต้น รวมถึงการอนุญาตให้จัดงานมหกรรมยานยนต์ที่มียอดจอง 31,583 คันมากกว่าเป้าที่ตั้งไว้
- ภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม -ธันวาคม 2564 รถยนต์มียอดขาย 759,119 คัน ลดลง 4.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563
ยอดขายรถจักรยานยนต์ 2564
- เดือนธันวาคม มีจำนวนทั้งสิ้น 145,343 คัน เพิ่มขึ้น 17.40% (YoY) และเพิ่มขึ้น 0.48% (MoM)
- ภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2564 รถจักรยานยนต์มียอดขาย 1,606,481 คัน เพิ่มขึ้น 6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563
นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์และส่วนแบ่งตลาดในเดือนธันวาคม และตลอดทั้งปี 2564 ดังนี้
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนธันวาคม 2564
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 91,010 คัน ลดลง 12.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 27,150 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,801 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 20.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 11,556 คัน เพิ่มขึ้น 14.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 31,917 คัน ลดลง 16.3%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 8,763 คัน เพิ่มขึ้น 4.6% ส่วนแบ่งตลาด 27.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,347 คัน ลดลง 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ซูซูกิ 2,776 คัน ลดลง 14.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 59,093 คัน ลดลง 10.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,803 คัน ลดลง 18.8% ส่วนแบ่งตลาด 33.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 18,801 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.8%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,117 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 42,785 คัน ลดลง 16.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 16,908 คัน ลดลง 21.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 16,733 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,117 คัน ลดลง 10.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.6%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 6,280 คัน
โตโยต้า 2,459 คัน – อีซูซุ 1,990 คัน – มิตซูบิชิ 872 คัน – ฟอร์ด 707 คัน – นิสสัน 252 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 36,505 คัน ลดลง 17%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,918 คัน ลดลง 20.5% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,274 คัน ลดลง 18.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 3,410 คัน ลดลง 8.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – ธันวาคม 2564
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 759,119 คัน ลดลง 4.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 239,723 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 184,160 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 88,692 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 251,800 คัน ลดลง 8.4%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 76,886 คัน ลดลง 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 30.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 62,403 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 24.8%
อันดับที่ 3 มาสด้า 19,800 คัน ลดลง 20.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.9%
3.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 507,319 คัน ลดลง 1.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 184,160 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 177,320 คัน เพิ่มขึ้น 0.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 32,329 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
4.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 393,476 คัน ลดลง 3.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 167,180 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 42.5%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 151,501 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 32,329 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน : 52,024 คัน
โตโยต้า 22,862 คัน – อีซูซุ 16,439 คัน – มิตซูบิชิ 6,619 คัน – ฟอร์ด 5,025 คัน – นิสสัน 1,079 คัน
5.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 341,452 คัน ลดลง 6.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 150,741 คัน ลดลง 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 128,639 คัน ลดลง 1.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 27,304 คัน เพิ่มขึ้น 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%
#ยอดขายรถยนต์ 2564 #ยอดขายรถจักรยานยนต์ 2564 #ยอดขายรถมอเตอร์ไซค์ 2564 #ยอดขายรถยนต์ในประเทศ #ยอดขายรถจักรยานยนต์ในประเทศ #ยอดขายรถมอเตอร์ไซค์ #กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ #สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย #ส.อ.ท. #FTI
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH