ส่งออกไทย 2564 เดือนสิงหาคม

ส่งออกไทย 2564 เดือน ส.ค. ขยายตัวเกือบ 9% จากเดือนเดียวกันปีก่อน

อัปเดตล่าสุด 24 ก.ย. 2564
  • Share :
  • 1,128 Reads   

สถานการณ์ส่งออกในเดือนสิงหาคม 2564 ไทยสามารถรักษาตัวเลขส่งออกเหนือระดับ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ขยายตัว 8.93% จากเดือนเดียวกันปีก่อน

วันที่ 23 กันยายน 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคม 2564 พบว่า มีมูลค่า 21,976.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 715,416.40 ล้านบาท ขยายตัว 8.93% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยหากไม่นับรวมสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ตัวเลขส่งออกไทยเดือนนี้ขยายตัว ขยายตัว 19.43% เป็นผลจากการผลักดัน และแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งออกอย่าง ต่อเนื่องของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก โดย UNCTAD คาดว่าเศรษฐกิจ โลกในปีนี้จะเติบโตรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 5 ทศวรรษ โดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และ สหภาพยุโรป สอดคล้องกับภาคการผลิตทั่วโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่องเช่นกัน

ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการ ผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ซึ่งเป็นการเติบโตต่อเนื่อง ทั้งการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าเพื่อการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าช่วยเพิ่ม ความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทย ทั้งนี้ การส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.25 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 21.22 สะท้อนภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) ที่เติบโตอย่างชัดเจน

สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่

1) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะ ยางพารา ผักและผลไม้ฯ น้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าว อาหารสัตว์เลี้ยง และน้ำตาลทราย 

2) สินค้าที่ เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และอุปกรณ์ เตาอบไมโครเวฟ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์และส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ

3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์เภสัช ภัณฑ์และถุงมือยาง

4) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของภาคการผลิต เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์เม็ด พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยางแผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ

และ 5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือย ที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ยังขยายตัวได้ดี สะท้อนถึงการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศคู่ค้า

ด้านตลาดส่งออก ขยายตัวในหลายตลาด อาทิสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดในอาเซียนยังเติบโตได้ดี ยกเว้นสิงคโปร์ เวียดนาม และเมียนมา อย่างไรก็ดี ตลาดตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา แอฟริกา และรัสเซียและ CIS ล้วนมีอัตราการขยายตัวในระดับสูง

สรุปมูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนสิงหาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 21,976.23 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.93 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,191.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 47.92 ดุลการค้าขาดดุล 1,215.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 176,961.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.25การนำเข้า มีมูลค่า 175,554.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.97 ดุลการค้า 8 เดือนแรก เกินดุล1,406.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 23.6 (YoY) ขยายตัว 9 เดือน ต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดีได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 98.8 ขยายตัว 11 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฝรั่งเศส ฯลฯ) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 84.8 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย ฯลฯ) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 51.0 ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ อินเดีย มาเลเซีย เมียนมา จีน และกัมพูชา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 48.4 ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ สหรัฐฯ ฯลฯ) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 25.4 กลับมาขยายตัวอีกครั้ง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน เบนิน เซเนกัล อังโกลา และฮ่องกง) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 17.3 ขยายตัว 24 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ ฯลฯ) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 5.5 กลับมาขยายตัวอีกครั้ง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ อินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ สุกรสด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 73.1 หดตัว 7 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดฮ่องกง กัมพูชา และลาว แต่ขยายตัวดีในเมียนมา) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป หดตัวร้อยละ 31.9 กลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวแทบทุกตลาด เช่น ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์)อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋อง และแปรรูป หดตัวร้อยละ 10.4 หดตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวดีในตลาด ญี่ปุ่น จีน แคนาดา เกาหลีใต้ และอียิปต์) เครื่องดื่ม หดตัวที่ร้อยละ 13.6 กลับมาหดตัวในรอบ 5 เดือน (หดตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา จีน สิงคโปร์และลาว แต่ขยายตัวดีในตลาดเวียดนาม กานา อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.7

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.3 (YoY) ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง สินค้า ที่ขยายตัวดีได้แก่สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 68.3 ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน กัมพูชา ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 17.8 ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก) รถจักรยานยนต์และ ส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.3 ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราช อาณาจักร เบลเยียม ฯลฯ) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.5 ขยายตัว 9 เดือน ต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ขยายตัว ร้อยละ 60.3 ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวแทบทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 35.7 ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ อินเดีย สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์จีน) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและ ส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 15.5กลับมาหดตัวในรอบ 14 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย เปรู และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ชิลี และเม็กซิโก) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน หดตัวร้อยละ 7.6 กลับมาหดตัวในรอบ 14 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อินเดีย และอาร์เจนตินา) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัวร้อยละ 5.6 หดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวหลายตลาด อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดจีน) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป หดตัวร้อยละ 85.8 หดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาด สปป.ลาว เกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น และไต้หวัน) 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.4

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอลงบางส่วนจากผลกระทบของ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ

 

ภาพรวมการส่งออกไปกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 18.2 โดยขยายตัว ในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 16.2 จีน ร้อยละ 32.3 ญี่ปุ่น ร้อยละ 10.0 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 16.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 26.9 ขณะที่ CLMV หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.03 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 18.4 ขยายตัวเกือบ ทุกกลุ่มตลาด ได้แก่ เอเชียใต้ร้อยละ 54.5ตะวันออกกลาง ร้อยละ 31.9 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 27.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 50.8และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 44.8ขณะที่ทวีปออสเตรเลียหดตัวร้อยละ 15.9 และ 3) ตลาด อื่นๆ หดตัวร้อยละ 90.1

  • ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 16.2 (ขยายตัว 15 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่อัญมณี และเครื่องประดับ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯอุปกรณ์กึ่งตัวนำฯ รถยนต์และส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 20.6 
  • ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 32.3 (ขยายตัว 9 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็ง และแห้ง ยางพารา ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เม็ดพลาสติก และเหล็กและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของ ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 27.9
  • ตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 10.0 (ขยายตัว 10 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยางพารา ทองแดง และเหล็กและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัว ร้อยละ 13.5
  • ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 26.9 (ขยายตัว 4 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมัน สำเร็จรูป อากาศยานและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 10.8
  • ตลาด CLMV หดตัวร้อยละ 0.03 (กลับมาหดตัวในรอบ 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และ ส่วนประกอบ สินค้าปศุสัตว์อื่นๆ และเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณี และเครื่องประดับ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.7
  • ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 16.1 (ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 24.6
  • ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 54.5 (ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำมัน สำเร็จรูป เม็ดพลาสติก รถยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และไขมันและน้ำมัน เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของ ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 54.2
  • ตลาดอินเดีย ขยายตัวร้อยละ 44.2 (ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ไขมันและน้ำมัน และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี2564 ขยายตัวร้อยละ 55.6
  • ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) หดตัวร้อยละ 15.9 (หดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่อัญมณี และเครื่องประดับ (ทองคำ) เครื่องปรับอากาศ และตู้เย็นและส่วนประกอบ ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เหล็กและ ผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก และผลิตภัณฑ์พลาสติก ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 16.7
  • ตลาดตะวันออกกลาง (15) ขยายตัวร้อยละ 31.9 (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้โทรศัพท์และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 17.6
  • ตลาดทวีปแอฟริกา (57) ขยายตัวร้อยละ 27.5 (ขยายตัว 8 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ข้าว เม็ดพลาสติก เครื่องจักรกลฯ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของ ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 23.3
  • ตลาดลาตินอเมริกา (47) ขยายตัวร้อยละ 50.8 (ขยายตัว 7 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปฯ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลฯ และยางพารา เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือน แรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 47.0
  • ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS  ขยายตัวร้อยละ 44.8 (ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น ขณะที่ 8 เดือนแรกของ ปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 22.5

แนวโน้มและแผนส่งเสริมการส่งออกปี 2564

การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี สะท้อนจาก (1) สินค้าอุตสาหกรรมหลาย รายการยังเติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นสัญญาณบวกต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของไทย (2) ราคา น้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ (3) มาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ในสหรัฐฯจีน และสหภาพยุโรป และการเร่งฉีด วัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า (4) ค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อสินค้าส่งออก ของไทยที่เน้นการแข่งขันด้านราคา

สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์)ยังคงมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” และ แผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะมีกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อน การส่งออกกว่า 130 กิจกรรม สำหรับกิจกรรมในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมนี้ เช่น งานยี่ปั๊วออนไลน์ ครั้งที่ 2 (20-24 ก.ย. 64) กิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching: OBM) กลุ่มสินค้าสุขภาพและ ความงาม (22-24 ก.ย. 64) และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย (29-30 ก.ย. 64) งานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทย ในรูปแบบเสมือนจริง THAIFEX (29 ก.ย. - 3 ต.ค. 64) โครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SME ส่งออก เฟส 2 (ก.ย. - พ.ย. 64) เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงปลายปียังจะมีกิจกรรมสำคัญในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตเตรียมงานด้วยตนเอง เพื่อเตรียม เปิดงานแสดงสินค้านานาชาติอัญมณีและเครื่องประดับ “Phuket Gems Fest” รวมถึงการเดินหน้าผลักดัน กิจกรรมภายใต้ “มินิเอฟทีเอ ไทย-ไห่หนาน” ที่ได้ลงนามไปแล้วเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีแผนที่จะจัด กิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ไทย-ไห่หนาน และการจัดงานแสดงสินค้ารูปแบบ Mirror & Mirror นำร่องธุรกิจ บริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งไทยมีโอกาสผลักดันทั้งสินค้าและบริการเชิงสุขภาพเข้าไปให้บริการในไห่หนาน เช่น นวดแผนไทย สปา ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย และการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH