‘พาณิชย์’ เผยยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่เดือน ก.ค. 5 พันกว่าราย

"ก่อสร้างอาคาร" ครองแชมป์ จดทะเบียนธุรกิจใหม่สูงสุดเดือน ก.ค. 63

อัปเดตล่าสุด 28 ส.ค. 2563
  • Share :
  • 407 Reads   

นางโสรดา เลิศอาภาจิตร์ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจประจำเดือนกรกฎาคม 2563 ดังนี้
 
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนกรกฎาคม 2563

จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนกรกฎาคม 2563 จำนวน 5,667 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 16,714 ล้านบาท

ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 576 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 246 ราย คิดเป็น 4% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 172 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ

ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 4,191 ราย คิดเป็น 73.96% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 1,402 ราย คิดเป็น 24.74% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 58 ราย คิดเป็น 1.02% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16 ราย คิดเป็น 0.28% ตามลำดับ

ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนกรกฎาคม 2563
 
จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนกรกฎาคม 2563 มีจำนวน 1,261 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 7,668 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 90 ราย คิดเป็น 7% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 78 ราย คิดเป็น 6% และธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 38 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
 
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 847 ราย คิดเป็น 67.17% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 340 ราย คิดเป็น 26.96% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 67 ราย คิดเป็น 5.31% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 7 ราย คิดเป็น 0.56% ตามลำดับ ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนกรกฎาคม 2563
 
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนกรกฎาคม 2563
 
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ก.ค. 63) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน768,874 ราย มูลค่าทุน 18.53 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 187,265 ราย คิดเป็น 24.35% บริษัทจำกัด จำนวน 580,332 ราย คิดเป็น 75.48% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,277 ราย คิดเป็น 0.17% ตามลำดับ
 
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 454,639 ราย คิดเป็น 59.13% รวมมูลค่าทุน 0.40 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.16% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 226,345 ราย คิดเป็น 29.44% รวมมูลค่าทุน 0.75 ล้านล้านบาท คิดเป็น 4.05% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า

การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว เดือนกรกฎาคม 2563
 
ในการประชุมของคณะกรรมการคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เมื่อวันพุธที่ 5 สิงหาคม 2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 24 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.ต่างด้าวฯ โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ซึ่งมีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจกว่า 871 ล้านบาท และส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 686 คน รวมถึงมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน
 
การอนุญาตให้ประกอบธุรกิจในครั้งนี้จะมีผลให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นวิทยาการซึ่งเป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในเรื่องก๊าซอุตสาหกรรม องค์ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบระบบเครื่องกลและไฟฟ้า และขบวนรถไฟ องค์ความรู้เกี่ยวกับการทดสอบเดินเครื่องเครื่องกำเนิดไอน้ำ องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตรวจสอบความผิดปกติของเหล็กแท่งและการสังเกต Defect เหล็กขณะรีด และองค์ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัยตามมาตรฐานสากล
 
สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่
 
1. ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับรัฐหรือเอกชน จำนวน 9 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศเกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส มีเงินลงทุนจำนวน 94 ล้านบาท อาทิ บริการทางวิศวกรรมในการเป็นที่ปรึกษาเพื่อควบคุมการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (EEC) , บริการออกแบบ ติดตั้ง วางระบบ ทดสอบ รวมทั้งให้คำแนะนำทางเทคนิค บำรุงรักษา และซ่อมแซมระบบแพร่ภาพและกระจายเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต , การค้าส่งและบริการทดสอบการใช้งานของเครื่องกำเนิดไอน้ำและอุปกรณ์ เป็นต้น
 
2. ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และสิงคโปร์ มีเงินลงทุนจำนวน 369 ล้านบาท อาทิ บริการวิจัยและพัฒนาสินค้าประเภทวาล์วและชิ้นส่วน, บริการสนับสนุนบุคลากรไปให้คำปรึกษาแนะนำในด้านการผลิตและการทำการตลาดเกี่ยวกับเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ , บริการทางบัญชี/กฎหมาย/ให้ใช้พื้นที่บนแอปพลิเคชันเพื่อการโฆษณา/บริการให้ใช้แอปพลิเคชัน/ให้คำปรึกษาแนะนำและบริหารจัดการด้านต่างๆ/บริการด้านการตลาดและส่งเสริมการขาย/บริการศูนย์ข้อมูลลูกค้า/บริการวิจัยและพัฒนา Application software เป็นต้น
 
3. ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 4 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น จีน นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ มีเงินลงทุนจำนวน 96 ล้านบาท อาทิ , นายหน้าประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ประเภทการจัดการให้มีการประกันภัยโดยตรง และบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบกิจการนายหน้าประกันวินาศภัย , การค้าปลีกเครื่องมือแพทย์ , การค้าส่งค้าส่งชุดครัวและเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
 
4. ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฮ่องกง นิวซีแลนด์ อังกฤษ และอินเดีย มีเงินลงทุนจำนวน 312 ล้านบาท อาทิ , บริการให้เช่า/ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซม และให้คำแนะนำการใช้งานถังบรรจุก๊าซสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม พร้อมท่อส่งก๊าซ , บริการให้ใช้ช่วงสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) , บริการให้คำปรึกษาแนะนำด้านการทดสอบและวิเคราะห์การออกฤทธิ์ของยาที่มีผลต่อมนุษย์ (วิจัยทางคลินิก) เป็นต้น
 
สำหรับเดือนกรกฎาคม 2563 ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตเป็นธุรกิจที่มีลักษณะเป็นคู่สัญญากับภาครัฐและเอกชน โดยเป็นบริการที่สนับสนุนธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ ดังตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น อนึ่งในเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2563 คนต่างด้าวได้รับใบอนุญาต จำนวน 158 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 6,228 ล้านบาท


อ่านต่อ: