อุตสาหกรรมไฟฟ้า 2564 ไตรมาส 4 ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าฟื้นตัว
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้า ปี 2564 ประจำไตรมาสที่ 4 และแนวโน้มปี 2565 ไตรมาสที่ 1 จากข้อมูลโดยกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
Advertisement | |
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมไฟฟ้าประจำไตรมาสที่ 4/2564 มีรายละเอียดดังนี้
การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า
ดัชนีผลผลิตอยู่ที่ 98.2 2 โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.5 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 4.0 เนื่องจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศมีคําสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และความต้องการจากตลาดหลักของโลก เช่น จีน อเมริกา และญี่ปุ่น
- โดยสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สายเคเบิ้ล มอเตอร์ไฟฟ้า คอมเพรสเซอร์ เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน คอนเดนซิ่งยูนิต พัดลมตามบ้าน เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน แฟนคอยล์ยูนิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.73, 26.63, 11.26, 11.08, 9.82 และ 4.2 ตามลําดับ
การจำหน่ายในประเทศ
- สินค้าหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7
การนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า
ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 5,354.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ร้อยละ 18.4 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 26.8
- สินค้าหลักที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ในขณะที่ เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ และตู้เย็นปรับตัวลดลงร้อยละ 18.5, 8.3 และ 1.6 ตามลําดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า
ในไตรมาส 4 ปี 2564 มีมูลค่าการส่งออก 7,237.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วร้อยละ 7.2 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 9.9
- โดยหม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.1 และ 23.7 ตามลําดับ
- เตารีดไฟฟ้า ตู้เย็น เตาอบไมโครเวฟ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.9, 16.6, 2.2 และ 1.75 ตามลําดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2565
อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า คาดว่าในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังคงมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 3.0 และ 5.0 ตามลําดับ เนื่องจากผู้บริโภคได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น สถานการณ์การแพร่ระบาดจึงคลี่คลายขึ้นตามลําดับจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายและการทยอยเปิดเมืองในหลายประเทศ ส่งผลบวกต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น การกลายพันธุ์ของโควิด-19
อ่านย้อนหลัง:
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า 2564 ไตรมาส 3 ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าหดตัว คาดฟื้นไตรมาสถัดไป
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า 2564 ไตรมาส 2 ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าโตต่อเนื่อง คาดไตรมาสถัดไปยังขยายตัว
- อุตสาหกรรมไฟฟ้า 2564 สถานการณ์-แนวโน้ม ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าไตรมาสแรกปรับตัวเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าไตรมาส 4 ปี 2563 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH