ส่งออกไทย ต.ค. 63 ฟื้นตัวต่อเนื่อง หลายตลาดกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายเดือน

ส่งออกไทย ต.ค. 63 ฟื้นตัวต่อเนื่อง หลายตลาดกลับมาเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายเดือน

อัปเดตล่าสุด 24 พ.ย. 2563
  • Share :
  • 645 Reads   

พาณิชย์ เผย ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนตุลาคม 2563 การส่งออกหดตัว 6.71% ขณะที่การนำเข้าหดตัว 14.61% ภาพรวม10 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 22,670.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยการส่งออกของไทยเดือนตุลาคม 2563 มีมูลค่า 19,376.68 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.71 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 17,330.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 14.32 การค้าเกินดุล 2,046.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวม 10 เดือนแรกของปี 2563 การส่งออก มีมูลค่า  192,372.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.26 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 169,702.56  ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ 14.61 ส่งผลให้ 10 เดือนแรกของปี 2563 การค้าเกินดุล 22,670.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การค้าระหว่างประเทศของไทยอยู่ในภาวะฟื้นตัว ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น หลังจากประเทศต่าง ๆ ทยอยผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางและการขนส่ง ส่งผลให้ภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติสะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโลก (Global Manufacturing PMI) ที่ปรับตัวดีขึ้นเหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 นอกจากนี้การดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและการคลังในหลายประเทศ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ต่อสินค้ากระเตื้องขึ้น สินค้าส่งออกของไทยหลายรายการขยายตัวได้ดี สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ขณะเดียวกันหลายตลาดกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบหลายเดือน

สินค้าที่ขยายตัวได้ดีแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. สินค้าอาหาร เช่น น้ำมันปาล์ม อาหารสัตว์เลี้ยง สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง สิ่งปรุงรสอาหาร

  2. สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน  เตาอบไมโครเวฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และโซลาร์เซลล์

  3. สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น ถุงมือยาง ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่มีการแพร่ระบาด  ทำให้ความต้องการยางพาราในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อราคายางพาราของไทยในช่วงนี ้

ด้านตลาดส่งออก ตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่หลายตลาดกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยเฉพาะอินเดีย เนเธอร์แลนด์ และเม็กซิโก รวมทั้งตลาดอื่น ๆ ที่มีสัดส่วนสำคัญกับการส่งออกไทย ล้วนมีอัตราการหดตัวที่ลดลงมากในเดือนนี้ เช่น ฮ่องกง เยอรมนี และสหราชอาณาจักร ในขณะที่การค้าชายแดนของไทยโดยเฉพาะประเทศใน CLMV ยังคงได้รับผลกระทบจากการกลับมาแพร่ระบาดของไวรัส

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 4.7 (YoY) หดตัวต่อเนื่อง 6 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 25.7 ขยายตัว 17 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม ฮ่องกง จีน เม็กซิโก ไต้หวัน สิงคโปร์ บราซิล และเกาหลีใต้) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 19.5 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย เกาหลีใต้ อินเดีย และอาร์เจนตินา) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 17.6 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหราชอาณาจักร เยอรมนี ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเนเธอร์แลนด์) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.2 ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี เม็กซิโก และเกาหลีใต้) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.8 หลังจากหดตัว 6 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย สหรัฐฯ ไต้หวัน ฝรั่งเศส สิงคโปร์ เยอรมนี และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ทองคำ หดตัวร้อยละ 27.1 หดตัว 2 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดสวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี แต่ขยายตัวดีในสิงคโปร์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และไต้หวัน) สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 19.8 หดตัว 22 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวแทบทุกตลาด อาทิ จีน เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และลาว แต่ขยายตัวดีในญี่ปุ่น อินเดีย และสหรัฐฯ) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัวร้อยละ 13.2 หดตัว 9 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม จีน มาเลเซีย กัมพูชา และเมียนมา แต่ขยายตัวดีในออสเตรเลีย ลาว และฮ่องกง) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 12.6 หดตัว 13 เดือนต่อเนื่อง (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย จีน ซาอุดีอาระเบีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวดีในญี่ปุ่นเวียดนาม สหรัฐฯ และเม็กซิโก) ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 สินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 7.0

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดสำคัญอยู่ยังในทิศทางฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป มูลค่าการส่งออกในหลายตลาดปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน และหลายตลาดกลับมาขยายตัวในระดับสูง ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 4.8 ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวดีต่อเนื่องร้อยละ 17.0 สหภาพยุโรป (15) ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนมาก โดยหดตัวร้อยละ 0.4 ขณะที่ญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 5.3 2) ตลาดศักยภาพสูง หดตัวร้อยละ 13.5 โดยการส่งออกไปตลาดจีน อาเซียน (5) และ CLMV หดตัวร้อยละ 6.1 ร้อยละ 27.2 และร้อยละ 17.0 ตามล าดับ ขณะที่เอเชียใต้กลับมาขยายตัวร้อยละ 15.6 และ 3) ตลาดศักยภาพระดับรอง หดตัวร้อยละ 2.8 โดยตลาดตะวันออกกลาง (15) ทวีปแอฟริกา และรัสเซีย และกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 18.1 ร้อยละ 16.7 และร้อยละ 2.0 ขณะที่การส่งออกไปทวีปออสเตรเลีย (25) ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 4.2 และลาตินอเมริกากลับมาขยายตัวร้อยละ 12.9

  • ตลาดสหรัฐอเมริกา ขยายตัวสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 17.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าฯ หม้อแปลงไฟฟ้าฯ และเครื่องคอมพิวเตอร์ฯ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 8.3
  • ตลาดจีน หดตัวร้อยละ 6.1 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ผลไม้สด แช่แข็งและแห้งฯ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และยางพารา เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 2.7
  • ตลาดญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 5.3 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ เม็ดพลาสติก และเหล็กและผลิตภัณฑ์เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 9.7
  • ตลาดสหภาพยุโรป (15) หดตัวร้อยละ 0.4 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลฯ และเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ และหม้อแปลงไฟฟ้าฯ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 14.3
  • ตลาดอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 27.2 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ น้ำมันสำเร็จรูป และเครื่องยนต์สันดาปฯ เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ อัญมณีและเครื่องประดับ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 12.9
  • ตลาด CLMV หดตัวร้อยละ 17.0 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม และเคมีภัณฑ์เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ เครื่องยนต์สันดาปฯ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เป็นต้น ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 11.5
  • ตลาดเอเชียใต้กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนที่ร้อยละ 15.6 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องยนต์สันดาปฯ และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 28.4
  • ตลาดอินเดีย กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือนที่ร้อยละ 13.7 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ไขมันและน้ำมันฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ เครื่องยนต์สันดาปฯ รถยนต์และส่วนประกอบ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 30.5
  • ตลาดลาตินอเมริกา กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือนที่ร้อยละ 12.9 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ ผลิตภัณฑ์ยาง อุปกรณ์กึ่งตัวน าฯ โทรทัศน์และส่วนประกอบ และอาหารทะเลแปรรูปฯ เป็นต้น ขณะที่10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 22.3
  • ตลาดทวีปออสเตรเลีย (25) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 4.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องปรับอากาศฯ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องจักรกลฯ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และปูนซิเมนต์ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 11.9
  • ตลาดตะวันออกกลาง (15) หดตัวร้อยละ 18.1 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และข้าว เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ โทรศัพท์และอุปกรณ์ฯ ผลิตภัณฑ์ยางและเครื่องจักรกลฯ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 15.0
  • ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 2.0 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลแปรรูปฯ และเม็ดพลาสติก เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่รถยนต์และส่วนประกอบ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า และน้ ามันส าเร็จรูป เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 26.1
  • ตลาดทวีปแอฟริกา หดตัวร้อยละ 16.7 สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ข้าว อาหารทะเลแปรรูปฯ รถยนต์และส่วนประกอบ และเครื่องยนต์สันดาปฯ เป็นต้น ด้านสินค้าที่ขยายตัวสูง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ และเคหะสิ่งทอ เป็นต้น ขณะที่ 10 เดือนแรกของปี 2563 หดตัวร้อยละ 23.6

 

แนวโน้มและมาตรการส่งเสริมการส่งออกปี 2563

นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวต่อว่า การส่งออกของไทยส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี หลายสินค้ามีศักยภาพในการขยายตัวแม้เผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในหลายประเทศ นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งในสหรัฐฯ อย่างไม่เป็นทางการ ทำให้ทราบถึงแนวโน้มการดำเนินนโยบายของว่าที่ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้สถานการณ์การค้าโลกมีความผันผวนน้อยลง อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ขยายตัวในขณะนี้เป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่ขยายตัวดีอยู่แล้ว อีกทั้งเป็นสินค้าศักยภาพท่ามกลางโควิด-19 อาทิ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาด หรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการท างานที่บ้าน (Work from Home) ซึ่งจะสามารถขยายตัวต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง แต่เมื่อโลกสามารถผลิตวัคซีนต้านโควิด-19 ได้สำเร็จ ความต้องการสินค้าเหล่านี้อาจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น การเพิ่มมูลค่าการส่งออกของไทยในระยะถัดไป จำเป็นต้องขยายตลาดในสินค้ากลุ่มใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูง

สำหรับการส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี 2563 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ได้มีมติร่วมกับคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.พาณิชย์) แบ่งเป็น 3 หมวด คือ การเร่งรัดการส่งออก การค้าชายแดน และยุทธศาสตร์การเจรจาข้อตกลงทางการค้าภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงประเด็นย่อย อาทิ การเร่งรัดการส่งออกข้าวที่เหลืออีก 3 แสนตันตาม MOU ที่ทำกับจีน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า การแก้ไขปัญหาต้นทุนค่าขนส่ง โดยเฉพาะค่าระวางเรือที่มีอัตราสูง รวมถึงการประชาสัมพันธ์สร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้าอาหารของไทยว่าปลอดจากเชื้อไวรัสโควิด -19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การส่งออกของไทยปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ


อ่านเพิ่มเติม: