อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2566 ไตรมาส 1 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ปี 2566 ประจำไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2 จากข้อมูลโดยกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
สถานการณ์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2566
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 อยู่ที่ 83.0 โดยลดลงร้อยละ 6.5 จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 17.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ Printer, แผงวงจร (PWB), HDD, Semiconductor devices transistor, วงจรรวม (IC) และ วงจรพิมพ์ (PCBA) โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 31.5, 30.1, 27.6, 15.8, 7.6 และ 2.4 ตามลำดับ โดยสาเหตุที่มีการปรับตัวลดลง เนื่องจากความต้องการสินค้าในประเทศและคำสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง จากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเข้าสู่ภาวะถดถอย
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่าการนำเข้า 11,347.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่ลดลงร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์, ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนํา และเครื่องพิมพ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 22.3, 1.5 และ 0.9 ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 4/2565
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 3/2565
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 2/2565
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 1/2565
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวมมูลค่า 10,776.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.1 จากไตรมาสก่อนหน้า และลดลงร้อยละ 2.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกลดลงในตลาดนตลาดจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 70.8, 54.6, 50.2, 49.4 และ 49.1 ตามลำดับ
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนํา และส่วนประกอบ, วงจรพิมพ์ (PCBA) และเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนา และส่วนประกอบ และวงจรรวม ลดลงร้อยละ 65.6, 59.5, 56.9, 56.5 และ 49.8 ตามลำดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 2 ปี 2566
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 5.0 เนื่องจากราคาพลังงานที่ยังคงผันผวน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สำหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทำให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวันที่อาจส่งผลต่อ Supply Chain การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่น มาตรการควบคุมการส่งออกเทคโนโลยีชิปของสหรัฐฯ ยังคงมีประเด็นที่ต้องจับตาซึ่งอาจส่งผลลบต่อการผลิตและส่งออกได้ เช่น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และปรับสัดส่วนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศจีน
อ่านบทความ:
- กฎหมายสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐอเมริกา CHIPS for America Act
- ส่องแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของไทย (ระยะที่ 1 : พ.ศ. 2566-2570)
- Carbon Tax & Carbon War ผู้ประกอบการไทยเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรแล้วบ้าง
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม ปี 2021-2025 กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ในไทย ปี 2565
- ครม. อนุมัติงบอุดหนุนรถ BEV 18,000 - 150,000 บาท/คัน
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- 17 อุตสาหกรรมแนวโน้มเติบโตในปี 2566
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH