ยอดขายรถยนต์ 2564 ประจำเดือนเมษายน (Thailand Automotive Sales in April 2021)

ยอดขายรถยนต์ 2564 เม.ย. ทำยอดได้เพียง 5.8 หมื่นคัน ผู้ซื้อหวั่นใจรายได้อนาคต - สินเชื่ออนุมัติเข้ม

อัปเดตล่าสุด 20 พ.ค. 2564
  • Share :

ในเดือนเมษายน 2564 ยอดขายรถยนต์ในประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 58,132 คัน ลดลง 21.76% จากเดือนก่อนหน้า แต่เป็นตัวเลขเพิ่มขึ้นหากเทียบจากปีก่อน

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยรายละเอียดของยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ ดังต่อไปนี้

ยอดขายรถยนต์ 2564 เดือนเมษายน มีจำนวนทั้งสิ้น 58,132 คัน เพิ่มขึ้น 93.1% (YoY) เพิ่ม​ขึ้น​จาก​ฐาน​ต่ำ​ปี​ที่แล้ว​ที่​มี​การ​ล็อก​ดาว​น์และ​ขอ​ให้​ประชาชน​อยู่​บ้าน​ หยุด​เชื้อ​ เพื่อ​ชาติ​ แต่​ยอดขาย​ยัง​ต่ำกว่า​เดือน​เมษายน​ 2562 โดยลดลง 23.45% และลดลง 21.76% จากเดือนก่อนหน้า ลูกค้า​ที่​จอง​ขอเลื่อน​การ​รับ​รถ​ยนต์​ไป​ก่อน​เพราะ​ไม่​มั่นใจ​ใน​เรื่อง​รายได้​ใน​อนาคต​จาก​การ​ระบาด​ของ​โค​วิด​ 19​ รวมทั้ง​บริษัท​ปล่อย​สินเชื่อ​ก็​เข้ม​งวด​ในการ​อนุมัติ​สินเชื่อ​ด้วย

  • ภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2564 รถยนต์มียอดขาย 252,269 คัน เพิ่มขึ้น 9.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563

ยอดขายรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2564 มียอดขาย 133,850 คัน เพิ่มขึ้น 69.70% (YoY) แต่ลดลง 21.11% (MoM) 

  • ภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2564 รถจักรยานยนต์มียอดขาย 569,293 คัน เพิ่มขึ้น 11.71% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563

 

นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์และส่วนแบ่งตลาดในเดือนเมษายน 2564 ดังนี้

ตลาดรถยนต์เดือนเมษายน 2564 เติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มีปริมาณการขาย 58,132 คัน เพิ่มขึ้น 93.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น  92.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 93.1% โดยได้รับปัจจัยบวกจากข้อเสนอพิเศษ และกิจกรรมส่งเสริมการขายที่มีการแข่งขันกันกันอย่างรุนแรงในช่วงงาน บางกอกอินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อลูกค้าในการตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์รุ่นที่อยู่ในความสนใจ และมีความต้องการในการใช้งาน โดยยอดจองในงานดังกล่าว รวมทั้งที่โชว์รูมผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ทั่วประเทศกำลังทยอยส่งมอบถึงมือลูกค้า
 
ตลาดรถยนต์ในเดือนพฤษภาคมมีแนวโน้มชะลอตัว สืบเนื่องจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID 19 ในรอบที่ 3 มีความรุนแรงกว่าที่คาดการไว้ ส่งผลด้านลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีจากความพยายามของภาครัฐ โดยกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้การสนับสนุนเป็นอย่างดีจากองค์กรเอกชนทุกภาคส่วน ผนึกกำลังในการร่วมคลี่คลายสถานการณ์ ทำให้ยังพอมองเห็นทางออกในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ รวมทั้งกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีโอกาสกลับมาได้ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ หลังจากการดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนได้รับการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2564

 
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 58,132 คัน เพิ่มขึ้น 93.1%
 
อันดับที่ 1 โตโยต้า 19,150 คัน เพิ่มขึ้น 72.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,953 คัน เพิ่มขึ้น 117.8% ส่วนแบ่งตลาด 25.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 5,419 คัน เพิ่มขึ้น 104.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%
 
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,988 คัน เพิ่มขึ้น 92.4%
 
อันดับที่ 1 โตโยต้า 4,956 คัน เพิ่มขึ้น 70.5% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,437 คัน เพิ่มขึ้น 99.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,296 คัน เพิ่มขึ้น 114.2% ส่วนแบ่งตลาด 13.5%
 
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 41,144 คัน เพิ่มขึ้น 93.1%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 14,953 คัน เพิ่มขึ้น 117.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,194 คัน เพิ่มขึ้น 73.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,777 คัน เพิ่มขึ้น 130.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.7%
 
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 32,605 คัน เพิ่มขึ้น 94.9%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 13,655 คัน เพิ่มขึ้น 117.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 12,432 คัน เพิ่มขึ้น 77.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,777 คัน เพิ่มขึ้น 130.5% ส่วนแบ่งตลาด  8.5%
 
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,147 คัน
โตโยต้า 2,015 คัน - อีซูซุ 1,930 คัน – มิตซูบิชิ 661 คัน – ฟอร์ด 506  คัน – นิสสัน 35 คัน
 
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,458 คัน เพิ่มขึ้น 81.1%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,725 คัน เพิ่มขึ้น 97.2% ส่วนแบ่งตลาด 42.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,417 คัน เพิ่มขึ้น 66.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,271 คัน เพิ่มขึ้น 128.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%
 
 

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – เมษายน 2564

 
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 252,269 คัน เพิ่มขึ้น 9.6%
 
อันดับที่ 1 โตโยต้า 75,081 คัน เพิ่มขึ้น 11.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 64,201 คัน เพิ่มขึ้น 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 30,378 คัน ลดลง 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
 
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 82,244 คัน ลดลง 5.7%
 
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 25,784 คัน ลดลง 1.5% ส่วนแบ่งตลาด 31.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 19,465 คัน ลดลง 9.7% ส่วนแบ่งตลาด 23.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 8,292 คัน ลดลง 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
 
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 170,025 คัน เพิ่มขึ้น 18.6%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 64,201 คัน เพิ่มขึ้น 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 37.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 55,616 คัน เพิ่มขึ้น 21.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,873 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
 
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 131,987 คัน เพิ่มขึ้น 16.1%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 59,054 คัน เพิ่มขึ้น 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 47,150 คัน เพิ่มขึ้น 18.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 10,873 คัน เพิ่มขึ้น 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%
 
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 20,091 คัน 
โตโยต้า 8,517 คัน - อีซูซุ 7,107 คัน - มิตซูบิชิ 2,628 คัน – ฟอร์ด 1,755 คัน – นิสสัน 84 คัน
 
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 111,896 คัน เพิ่มขึ้น 9.4%
 
อันดับที่ 1 อีซูซุ 51,947 คัน เพิ่มขึ้น 18.6% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 38,633 คัน เพิ่มขึ้น 8.3% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 9,118 คัน เพิ่มขึ้น 32.2% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%

 

อ่านต่อ: 

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่

Website : www.mreport.co.th

Line@ / Facebook / Twitter : MreportTH

Youtube official : MReport