สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2565

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 3/2565

อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2565
  • Share :

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 153,091.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 72,181.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 80,910.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดุลการค้าไตรมาสที่ 3 ปี2565 ขาดดุล 8,729.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลงต่อเนื่อง ส่งผลให้อุปสงค์ภายในแต่ละประเทศฟื้นตัว โดยเติบโตตามภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้าในภาพรวมขยายตัวเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สะท้อนได้ว่าภาคการผลิตไทยยังคงมีความต้องการปัจจัยการผลิต เพื่อรองรับกระบวนการผลิตที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

Advertisement

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีมูลค่า 72,181.3 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 6,460.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.0 (YOY) 
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 5,750.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.2 (YOY)
  • สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 56,888.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.2 (YOY)
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 3,081.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.3 (YOY)

สินคัาที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่ 

  • รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 7,075.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.8 (YOY)
  • แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าการส่งออก 2,337.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ  11.4 (YOY)
  • เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล มูลค่าการส่งออก 2,232.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ  4.5  (YOY)
  • เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 1,698.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 34.3 (YOY)
  • สินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ มูลค่าการส่งออก 1,598.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 14.9 (YOY)

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2565

 

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ไทยมีการส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลัก รวมมีสัดส่วน 5 ตลาด ร้อยละ 71.3  ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ  28.7 ของการส่งออกทั้งหมด โดยส่วนใหญ่ตลาดหลักมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น มีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเชียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็น ร้อยละ 25.9, 17.2, 11.3, 8.5 และ 8.2 ตามลําดับ
  • อัตราการขยายตัวของการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า  อาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงที่สุด ร้อยละ 19.2 รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 15.9 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 15.0 ขณะที่จีน และญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 18.1 และ 0.2 ตามลำดับ

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีมูลค่า 80,910.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 17,745.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 78.8 (YOY)
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 16,584.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.5 (YOY)
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 34,380.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.6 (YOY)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า  8,061.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.5 (YOY)
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,171.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.5 (YOY)
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 966.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 881.3 (YOY) ซึ่งสินค้าหมวดอาวุธฯ การนำเข้าหดตัวในกลุ่มอาวุธ กระสุน วัตถุระเบิดและส่วนประกอบ โดยขยายตัวเฉพาะกลุ่มสินค้าอื่น ๆ 

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2565

ตลาดนำเข้าสินค้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ตลาดนําเข้าสําคัญของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด ทั้งจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา รวม 5 ตลาดมีสัดส่วนการนำเข้ารวมร้อยละ 61.4 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 38.6 ของการนําเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 22.6, 16.6, 10.7, 6.0 และ 5.6 ตามลำดับ 
  • อัตราการขยายตัวของการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า สหรัฐอเมริกา ขยายตัวสูงสุด ร้อยละ 39.5 รองลงมา คือ อาเซียน ขยายตัวร้อยละ 22.1 จีน ขยายตัวร้อยละ 6.5 ขณะที่ญี่ปุ่นหดตัว
    ร้อยละ 5.7 และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 4.8

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2565

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH