สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 1/2566

อัปเดตล่าสุด 24 มิ.ย. 2566
  • Share :
  • 47,036 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 143,604.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 70,280.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 73,324.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดุลการค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ขาดดุล 3,044.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 หดตัวลง 2.47% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงยืดเยื้อ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี การเปิดประเทศของจีน การท่องเที่ยวที่ขยายตัวเนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัว ยังเป็นปัจจัยบวกให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัว

Advertisement

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 70,280.11 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหดตัวร้อยละ 4.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 5,891.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 0.23 (YOY) 
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 5,942.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 3.65 (YOY)
  • สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 55,911.14 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.82 (YOY)
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 2,534.69 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 1.68 (YOY)

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

 

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 ไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลัก รวม 5 ตลาด ร้อยละ 69.92 ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 70.60 และมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 29.40 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าหลักของไทยหดตัวลงทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็น ร้อยละ 24.40, 16.30, 11.00, 9.70 และ 9.20 ตามลําดับ
  • มูลค่าการส่งออกของไทย รวม 70,280.11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย จีน หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 7.38 ถัดมา คือ อาเซียน หดตัวร้อยละ 3.92 สหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 3.88 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 1.45 และ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 0.23

ตลาดส่งออกสินค้า

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2566 มีมูลค่า 73,324.34 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 14,299.83 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.47 (YOY)
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 16,661.18 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.82 (YOY)
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 28,732.16 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.31 (YOY)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 8,649.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.33 (YOY)
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,835.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.56 (YOY)
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 1,145.97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.96 (YOY) 

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

ตลาดนำเข้าสินค้า ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าหลัก รวม 5 ตลาด ได้แก่ จีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 65.90 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 34.10 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยตลาดนำเข้าหลักของไทยส่วนใหญ่ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และอาเซียน ยกเว้น จีน และญี่ปุ่น ที่หดตัวเล็กน้อย มีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 23.80, 18.40, 10.80, 6.50 และ 6.40 ตามลำดับ 
  • ไทยมีมูลค่าการนำเข้า รวม 73,324.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.48 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย ญี่ปุ่น หดตัวสูงสุด ร้อยละ 4.30 รองลงมา คือ จีน หดตัวร้อยละ 0.73 ขณะที่สหรัฐอเมริกา ขยายตัวสูงสุดร้อยละ 13.55 รองลงมา คือ สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 3.62 และอาเซียน ขยายตัวร้อยละ 2.86

ตลาดนำเข้าสินค้า

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2566

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH