สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2564
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 142,339.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 71,317.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.1 และมูลค่าการนําเข้า 71,022.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เกินดุล 294.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยมูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยหนุนของเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง อีกทั้งอานิสงส์จากเทศกาลหยุดยาวช่วงปลายปี เป็นปัจจัยให้การส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านการนําเข้ายังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งการนําเข้าสินค้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสําเร็จรูป เพื่อรองรับการผลิตป้อนตลาดส่งออกที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะถัดไป
Advertisement | |
โครงสร้างการส่งออกสินค้า
การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 71,317.0 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 6,298.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19.2
- สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 5,156.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 19.4
- สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 56,878.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.3
- สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 2,982.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 93.8
สินคัาที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่
- รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 7,687.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.8
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 5,868.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.9
- เม็ดพลาสติก มูลค่าการส่งออก 2,905.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 33.0
- เคมีภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 2,676.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 50.8
- แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่าการส่งออก 2,318.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 18.7
ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 การส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลักของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกตลาด โดยอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวมากที่สุด รองลงมา คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน มีเพียงญี่ปุ่น ที่หดตัวลงเล็กน้อย ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทั้ง 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) รวมคิดเป็นร้อยละ 69.8 และการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 30.2 ของการส่งออกทั้งหมด
มีรายละเอียด ดังนี้
- สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเชียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็น ร้อยละ 24.9, 15.7, 12.5, 8.8 และ 7.9 ตามลําดับ
- อัตราการขยายตัวของการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ประเทศคู่ค้าหลักของไทยขยายตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวมากที่สุดร้อยละ 29.3 ถัดมา สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 24.3 สหภาพยุโรป ขยายตัวร้อยละ 20.8 และจีนขยายตัวร้อยละ 17.9 ลําดับถัดมา มีเพียงญี่ปุ่น ที่หดตัวลงเล็กน้อยร้อยละ 0.4
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
โครงสร้างการนำเข้าสินค้า
การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีมูลค่า 71,022.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
- สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 12,543.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 100.0
- สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 17,163.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.3
- สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 29,233.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 27.8
- สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 8,583.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.8
- ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,460.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.6
- สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 39.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 69.6
ตลาดนำเข้าสินค้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ตลาดนําเข้าสําคัญของไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกตลาด โดยจีนขยายตัวมากที่สุด ลําดับถัดมา คือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และอาเซียน (9 ประเทศ) ทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนําเข้ารวมคิดเป็นร้อยละ 66.4 และการนําเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 33.4 ของการนําเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 25.2, 16.9, 12.5, 6.6 และ 5.4 ตามลําดับ
- อัตราการขยายตัวของการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดหลักขยายตัวทุกตลาด โดยจีนขยายตัวมากที่สุดร้อยละ 47.7 ญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 34.2 สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 29.1 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 21.1 และอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 20.7
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์
อ่านต่อ:
- สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 3/2564
- สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 2/2564
- สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 1/2564
- สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2563
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH