ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 3/2565
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 97.75 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 2.05 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 8.06
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.5 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 และปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 0.3
GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 6.3 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.5 และปรัยตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 1.4
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2565 อยู่ที่ระดับ 97.75 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (95.79) ร้อยละ 2.05 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (90.46) ร้อยละ 8.06
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจร
อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 99.79 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.79) ร้อยละ 2.04 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (92.26) ร้อยละ 8.16
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตอาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 139.35 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (134.29) ร้อยละ 3.77 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (142.47) ร้อยละ 2.19
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 อยู่ที่ระดับร้อยละ 62.55 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 61.10) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (ร้อยละ 58.51)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ปี 2565 มีค่าดัชนี 90.43 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (85.60) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (78.23) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 100.00 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (97.6)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2565 มาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายและภาครัฐยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) การเปิดประเทศและการยกเลิก Thailand Pass ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 และการเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 โดยยกเลิกการตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 อาทิ เอกสารรับรองการได้รับวัคซีน และผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทย ส่งผลทำให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ภาคการผลิตมีการขยายตัวจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ทั้งในกลุ่มสินค้ารถยนต์และสินค้าอุปโภคบริโภค จากตลาดในประเทศและต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา อาเซียน (9) สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และอินเดีย เป็นต้น
อ่านต่อ:
- ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 2/2565
- ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 1/2565
- ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 4/2564
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH