สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2563 ดังต่อไปนี้
ยอดขายรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% (YoY) และเพิ่มขึ้น 6.83% (MoM) เป็นเดือนแรกที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID 19 โดยรถกระบะเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่สามติดต่อกันแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟื้นจากการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID 19 จากรัฐบาลรวมถึงการประกันรายได้เกษตรกร การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และการออกรถยนต์รุ่นใหม่รวมทั้งการลดแลกแจกแถมของผู้จำหน่ายรถยนต์
สำหรับภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2563 รถยนต์มียอดขาย 688,057 คัน ลดลง 24.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
ยอดขายรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 120,062 คัน ลดลง 11.4% (YoY) และลดลง 4.96% (MoM)
สำหรับภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2563 รถจักรยานยนต์มียอดขาย 1,392,252 คัน ลดลง 13.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562
นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์และส่วนแบ่งตลาดในเดือนพฤศจิกายน 2563 จากตัวเลขยอดขายรวม 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 7.2% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าภาพรวมของตลาดในเดือนนี้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์ต่างๆในประเทศกำลังไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ โครงการ “คนละครึ่ง” และราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ กำลังซื้อของผู้บริโภคในหลายจังหวัดปรับตัวดีขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์
ในส่วนตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือน มีปริมาณการขาย 688,057 คัน ลดลง 24.7% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 34.5% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 18.3% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นยังส่งผลไปทั่วโลก แต่อย่างไรก็ตามภาครัฐฯ ยังคงออกมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคประชาชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนรวมถึงเศรษฐกิจไทยให้สามารถผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปได้ นอกจากนี้ในด้านของตลาดรถยนต์ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆยังคงมอบข้อเสนอพิเศษ รวมถึงนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ และปรับปรุงใหม่ในงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 37 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในเดือนธันวาคมมีทิศทางที่ดีขึ้น
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 79,177 คัน เพิ่มขึ้น 2.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 28,279 คัน เพิ่มขึ้น 4.0% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,577 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 8,908 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,437 คัน ลดลง 7.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,420 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 7,376 คัน เพิ่มขึ้น 9.3% ส่วนแบ่งตลาด 29.0%
อันดับที่ 3 มาสด้า 2,746 คัน ลดลง 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.8%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 53,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,859 คัน เพิ่มขึ้น 19.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 17,577 คัน เพิ่มขึ้น 20.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,727 คัน พิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 6.9%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 42,763 คัน เพิ่มขึ้น 6.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,305 คัน เพิ่มขึ้น 10.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,578 คัน เพิ่มขึ้น 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,727 คัน เพิ่มขึ้น 5.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,318 คัน
โตโยต้า 2,766 คัน - อีซูซุ 1,108 คัน - มิตซูบิชิ 838 คัน - ฟอร์ด 465 คัน – นิสสัน 141 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 37,445 คัน เพิ่มขึ้น 3.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 15,470 คัน เพิ่มขึ้น 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 14,539 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 2,889 คัน เพิ่มขึ้น 6.7% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 688,057 คัน ลดลง 24.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 211,119 คัน ลดลง 30.3% ส่วนแบ่งตลาด 30.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 158,277 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 23.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 82,966 คัน ลดลง 28.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 236,659 คัน ลดลง 34.5%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 69,041 คัน ลดลง 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 59,341 คัน ลดลง 44.9% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 นิสสัน 24,666 คัน ลดลง 25.7% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 451,398 คัน ลดลง 18.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 158,277 คัน เพิ่มขึ้น 3.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 151,778 คัน ลดลง 22.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 31,541 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 357,947 คัน ลดลง 19.9%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 146,901 คัน เพิ่มขึ้น 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.0%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 129,512 คัน ลดลง 25.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 31,541 คัน ลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด8.8%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 37,064 คัน
โตโยต้า 17,033 คัน – มิตซูบิชิ 8,224 คัน – อีซูซุ 5,333 คัน – ฟอร์ด 4,487 คัน – นิสสัน 1,315 คัน –เชฟโรเลต 672 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 320,883 คัน ลดลง 18.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 141,568 คัน เพิ่มขึ้น 9.1% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 112,479 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 23,317 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
อ่านต่อ: ยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เดือน ต.ค. 2563